ความเป็นมาของโครงการฯ
จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับและแก้ไขปัญหาในการผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพและความปลอดภัยอาหารอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprise, SMEs) ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตอาหารหรือผู้ประกอบการระดับ SMEs ยังไม่เพียงพอที่จะพัฒนาตนเองให้สามารถเข้าสู่กรอบการประกันความปลอดภัยอาหารภายใต้ระบบ Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP) ซึ่งเป็นระบบที่ยอมรับในระดับสากลว่าสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SMEs เตรียมเข้าสู่ระบบ HACCP ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร และได้การสนับสนุนทุนจากสถาบันอาหาร โครงการดังกล่าวจะช่วยยกระดับการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพและความปลอดภัย
วัตถุประสงค์
- พัฒนาหลักสูตรการจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับโรงงานอาหารระดับ SMEs โดยระบบ Pre-HACCP เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
- พัฒนาศักยภาพของโรงงานอาหารระดับ SMEs ให้สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณภาพ จำนวน 600 โรงงาน ด้วยระบบ Pre-HACCP
- ระเมินศักยภาพของโรงงานที่พร้อมจะพัฒนาสู่ระบบ HACCP โดยเครื่องหมาย Pre-HACCP
|
|
การดำเนินงาน
1. พัฒนาหลักสูตร “การจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับ SMEs โดยระบบ Pre-HACCP” ประกอบด้วย
หลักสูตรกลาง
- หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร
- มาตรฐานการจัดการสุขาภิบาลอาหาร
- ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
แนวทางการผลิตอาหารให้ปลอดภัยสำหรับ SMEs ของอาหาร 6 กลุ่ม
- กรรมวิธีผลิตอาหาร 6 กลุ่มที่ถูกต้องและปลอดภัย
- ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของอาหาร 6 กลุ่มประกอบด้วย อาหารหมักดอง อาหารแช่เย็นและอาหารแช่เยือกแข็ง เครื่องเทศและเครื่องปรุง อาหารบรรจุในภาชนะปิดสนิท เครื่องดื่ม และอาหารแห้งและอาหารกึ่งแห้ง
2. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ(workshop)บุคลากรของโรงงานSMEs
3. สร้างเครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยที่มีการฝึกสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร ทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบ HACCP
4. ดำเนินการให้คำปรึกษา ณ โรงงานอาหารโดยที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบ Pre-HACCP
5. ประเมินโรงงานตามเกณฑ์ Pre-HACCP และรับรองผลโดยคณะผู้ทวนสอบ ซึ่งเป็นทีมผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น และสนับสนุนโดยทีมนักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมประมง กรมปศุสัตว์
6. มอบเครื่องหมาย Pre-HACCP |
|
|
|
ผลสัมฤทธิ์ของโรงงาน
- โรงงานได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย
- บุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม มีความสามารถและมีศักยภาพที่จะพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเข้าสู่ระบบ HACCP
- ได้รับเครื่องหมาย “ Pre-HACCP” ซึ่งยืนยันว่าโรงงานสามารถพัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP
- โรงงานมีโอกาสได้รับการสนันสนุน การพัฒนาให้เข้าสู่ระบบ HACCP จากหน่วยงานของรัฐ และแหล่งทุน เช่น SME bank, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นต้น
ผลการดำเนินงานของโครงการฯ
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม |
|
|
จัดหลักสูตรการฝึกอบรมเรื่อง “การจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับ SMEs โดยระบบ Pre-HACCP” หนังสือ “การจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับ SMEs โดยระบบ Pre-HACCP” และหนังสือแนวทางการผลิตอาหารให้ปลอดภัยสำหรับ SMEs
|
ผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
- การฝึกอบรม 12 รุ่น มีผู้เข้าอบรมจำนวน 1,436 คน โรงงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 601 โรงงาน แบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้
|
|
ภาค |
จำนวนโรงงานที่เข้าอบรม |
เหนือ |
100 |
ตะวันออก
เฉียงเหนือ |
71 |
ตะวันออก |
36 |
กลาง |
ผลการสร้างเครือข่ายและ
จำนวนที่ปรึกษา
จำนวนที่ปรึกษารวม 175 คน
จากเครือข่าย 25 สถาบัน
ใน 6 ภูมิภาค
265
|
ตะวันตก |
62 |
ใต้ |
67 |
|
ผลการสร้างเครือข่ายและจำนวนที่ปรึกษา
จำนวนที่ปรึกษารวม 175 คน จากเครือข่าย 25 สถาบัน ใน 6 ภูมิภาค |
ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาระบบความปลอดภัยอาหารของโรงงานระดับ SMEs
ด้านโครงสร้าง
- โครงสร้างของโรงงาน(Infra-structure) ระดับ SMEs ส่วนมาก ยังต้องการการปรับปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐานตามระบบ GMP
- ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภทไม่จัดอยู่ในข้อบังคับของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 ผู้ประกอบการจึงไม่ให้ความสำคัญกับการนำระบบ GMP และ HACCP มาประยุกต์ใช้
- โรงงาน SMEs ส่วนมากให้ความสำคัญกับการตลาดมากกว่าการจัดการในเรื่องความปลอดภัยอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ผลิตอาหารที่มีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากมีความจำเป็นในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า ด้านบุคคลากร
- บุคลากรของโรงงานมีจำนวนน้อย แต่ภาระงานมาก และมีความรู้ค่อนข้างต่ำ อาศัยประสบการณ์จากการทำงาน
- ขาดบุคลากรสายตรงที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จึงมีข้อจำกัดและใช้เวลาในการจัดทำระบบเอกสาร
- ผู้ประกอบการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางด้านการผลิตอาหารน้อย
- ผู้ประกอบการไม่ได้ติดตามเอกสาร Pre-HACCP จึงไม่มีการปรับปรุงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา
ข้อเสนอแนะและกิจกรรมต่อเนื่อง
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตอาหารที่ได้รับการรับรองระบบ HACCP จำนวนน้อยมาก และส่วนมากเป็นโรงงานผลิตอาหารขนาดกลางและขนาดใหญ่ สำหรับโรงงานระดับ SMEs การพัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP ควรมีการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SMEs อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้สามารถปรับตัวและสร้างระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยซึ่งจะส่งผลทำให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่า ผลิตอาหารที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย สมกับคำกล่าวที่ว่าประเทศไทยเป็นครัวของโลก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SMEs อย่างต่อเนื่อง
|