การใช้ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์เพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
Plant growth regulators and synthetic substances for increasing crop yield

          

                ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ถูกนำมาใช้ในทางการเกษตรในหลากหลายวัตุประสงค์ เช่น เพิ่มผลผลิตพืช กระตุ้นให้พืชออกดอกติดผลนอกฤดู ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตในสถาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ สามารถแบ่ง ฮอร์โมนพืชออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 1) ออกซิน สารในกลุ่มนี้มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ กระตุ้นการเกิดราก จากกิ่งปักชำ เพิ่มการติดผล 2) จิบเบอเรลลิน มีผลกระตุ้นการยืดยาวของเซลล์ จึงถูกนำมาใช้เพื่อการขยายขนาดของพืชผัก รับประทานใบ 3) ไซโตไคนิน มีผลกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ถูกนำมาใช้มากในงานทางด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4) เอทิลีน สารชนิดนี้อยู่ในรูปก๊าช ในทางการค้าจึงผลิตในรูปสารที่เป็นของเหลวที่สามารถปลดปล่อยเอทิลีนได้ สารนี้มีผลกระตุ้นการสุกของผลไม้ เพิ่มการไหลของน้ำยางพารา กระตุ้นการออกดอกของสัปปะรด 4) สารชะลอการเจริญเติบโต สารในกลุ่มนี้เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น และมีผลยังยั้งจิบเบอเรลลิน จึงสามารถควบคุมใช้เพื่อความสูงได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการ กระตุ้นการออกดอกของไม้ผลนอกฤดูได้หลายชนิด เช่น การใช้ paclobutrazole เพื่อกระตุ้นการออกดอกในมะม่วง การใช้ uniconazole เพื่อกระตุ้นการออกดอกในทุเรียน เป็นต้น 5) สารยับยั้งการเจริญเติบโต มีผลควบคุมการพักตัวและการหลุดร่วงของใบพืช การจัดนิทรรศการในครั้งนี้ ประกอบด้วย จัดแสดงตัวอย่างการใช้ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ในการกระตุ้นการเกิดรากในมะลิ ควบคุมความสูงของชาฮกเกี้ยน กระตุ้นการออกดอกและคุณภาพดอกมะลิในฤดูหนาว การเพิ่มปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง การใช้ฮอร์โมนพืชในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การบังคับทุเรียนออกดอกนอกฤดู จัดแสดง ตัวอย่างสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชที่มีใช้ทางการเกษตร และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตพืช

 

 

   
คณะผู้วิจัย :
คณพล  จุฑามณี
หน่วยงาน :
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 โทร.   02- 562-5444 ต่อ 1321