ฤทธิ์ฆ่าเชื้อยีสต์ Malassezia pachydermatitis ของ โลชั่นสมุนไพร เคยู
       

            ศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้อยีสต์ มาราสซีเซีย (Malassezia pachydermatitis) ของโลชั่นสมุนไพรเคยู (เคยู เนเจอลรัลไมติไซด์, เคยูเฮิร์บฟังกัสไมต์, เคยูเฮิร์บมาลาไซด์, เคยูทองพันชั่ง  เคยูตะไคร้หอม  เคยูตะไคร้แกง เคยูพลูโลชั่น)  โดยวิธีเจือจางโลชั่นเคยู ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีเชื้อ (1.9X107  โคโลนีต่อมิลลิลิตร) ในหลอดทดลอง ด้วยปริมาตรเท่ากัน  และเขย่า 10 วินาที แล้วนำไปเพาะบนวุ้นมันฝรั่งผสมน้ำตาล  พบว่าเชื้อไม่ขึ้นทั้งหมด แสดงว่าเคยูโลชั่น มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อยีสต์นี้ได้ทั้งหมด และใช้เคยูทองพันชั่ง  เคยูตะไคร้หอม  รักษาโรคผิวหนังสุนัขที่เกิดจากเชื้อนี้ได้ผลดีภายใน 2-5 สัปดาห์

              เชื้อยีสต์ มาราสซีเซีย (Malassezia pachydermatitis) (รูป 1) เป็นเชื้อที่พบได้ในสุนัขปกติ ประมาณ 50% และจะเจริญเพิ่มจำนวนมากในสุนัขที่มีไขมันตัวมาก (เช่นพันธุ์พลูเดิ้ล ชิสุ ปัค โกลเด้น มิเนียเจอร์ปิ้นเชอร์ เป็นต้น) และผิวหนังเปียกชื้น สุนัขที่ไม่ค่อยได้อาบน้ำล้างไขมันตัวให้สะอาดเป็นประจำ หรือสุนัขที่มีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานด้วย  เชื้อจะเจริญมากตามบริเวณผิวหนังที่อับชื้น เห็นเป็นรังแคไขมันสีครีมติดผิวหนังและขน ตามด้านในใบหู มุมปาก ใต้คอ ด้านหน้าข้อศอก รักแร้ ด้านหลังข้อหัวเข่า รอบทวาร และด้านบนของฝ่าเท้า (Reberg and Blakemore, 1999; Muse, 2000) ทำให้ผิวหนังสุนัขอักเสบแดง คันตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องศึกษาหาสมุนไพรช่วยเช็ดฆ่าเชื้อให้สุนัขที่มีปัญหาดังกล่าว

วัสดุและวิธีการ
                ศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้อ โดยวิธีเจือจางด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีเชื้อ (broth-dilution method with test tubes; Isaksson et al., 1991)  ด้วยการผสมเคยูโลชั่นสมุนไพรแต่ละชนิด (เคยู เนเจอลรัลไมติไซด์, เคยูเฮิร์บฟังกัสไมต์, เคยูเฮิร์บมาลาไซด์, เคยูทองพันชั่ง  เคยูตะไคร้หอม  เคยูตะไคร้แกง เคยูพลูโลชั่น)  ความเข้มข้น 3% กับอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว (Sabouraud dextrose broth, SDB) ที่มีเชื้อ 1.9X107 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ในปริมาตรเท่ากัน   เขย่าและดูดมาเพาะในวุ้น มันฝรั่งผสมน้ำตาล (PDA) รวมเวลาที่เชื้อสัมผัสกับโลชั่นเป็นเวลา 10 วินาที   ทิ้งไว้ในตู้อบ 37OC นาน 7 วัน  การทดสอบของแต่ละโลชั่นทำ 10 ซ้ำ พร้อมทั้งกลุ่มควบคุมใช้น้ำกลั่นผสมกับเชื้อ  ดูบันทึกผลการขึ้นของเชื้อที่ 7 วัน
                การทดลองทางคลีนิก ได้ทดลองใช้ เคยูทองพันชั่งโลชั่น และเคยูตะไคร้หอมโลชั่น กับสุนัขที่ผิวหนังอักเสบเนื่องจากเชื้อนี้และมีเชื้อราฉวยโอกาสร่วมด้วย  โดยใช้ผ้ากรอสชุบโลชั่นเช็ดผิวหนังที่อักเสบแดงและมีรังแค วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2-5 สัปดาห์  โดยในสุนัขขนยาวให้ตัดขนสุนัขให้สั้น เพื่อจะได้เช็ดฆ่าเชื้อที่ผิวหนังได้ทั่วถึง พร้อมทั้งอาบน้ำสุนัขด้วยแชมพูให้สะอาดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ผลการทดลอง

               

ผลการเพาะเชื้อที่นำมาจากแต่ละหลอดของการให้เชื้อสัมผัสกับโลชั่นเคยูแต่ละชนิดที่มีความเข้มข้นเจือจางลงครึ่งหนึ่ง เป็นเวลานาน 10 วินาทีนั้น ปรากฏว่า เชื้อไม่สามารถขึ้นใหม่ได้ทั้งหมดทุกหลอด (รูป 2 b, c, d, e, f, g, และ h)   ในขณะที่เชื้อจากหลอดกลุ่มควบคุมที่ผสมกับน้ำกลั่นนั้น เชื้อสามารถขึ้นได้เป็นปกติ (รูป 2a)

               


               

               

รูป 2.  ภาพแสดงผลการขึ้นของเชื้อ M. pachydermatitis จาก 10 หลอดของกลุ่มควบคุมที่ผสมเชื้อกับน้ำกลั่น         (รูป 2a) และเชื้อไม่ขึ้นทั้งหมดจาก 10 หลอดของแต่ละเคยูโลชั่นที่ผสมกับเชื้อ  ตามลำดับดังนี้  KU       Natural MiticideÒ , KU herbfungusmiteÒ, KU herbmalacideÒ,  KU TakaikaengÒ, KU TakaihomÒ  ,             KU ThongphanchangÒ และ KU Plu (รูป 2 b-h).

          ผลการทดลองในทางคลีนิก ใช้ เคยูทองพันชั่งโลชั่น และเคยูตะไคร้หอมโลชั่น กับสุนัขที่ผิวหนังอักเสบเนื่องจากเชื้อนี้และมีเชื้อราฉวยโอกาสร่วมด้วย  โดยใช้ผ้ากรอสชุบโลชั่นเช็ดผิวหนังที่อักเสบแดงและมีรังแค วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2-5 สัปดาห์  ปรากฏว่า ทำให้ผิวหนังหายอักเสบ แดง หายคันได้ (รูป 3, 4 และ 5)  แสดงว่า เคยู โลชั่นสมุนไพร เหล่านี้  มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อนี้ได้


รูป  3  ภาพแสดงผิวหนังใบหูด้านใน ก่อนเช็ดด้วย KU TakaihomÒ lotion ของสุนัขพันธุ์ชิสุ ชื่อ บานบาน ซึ่ง            ผิวหนังแดงและมีแผ่นเชื้อสีครีมติดอยู่ (ภาพบนซ้าย)  และภาพผิวหนังเป็นปกติ หลังจากถูกเช็ดด้วย KU            TakaihomÒ lotion วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 และ 5 สัปดาห์ (ภาพบนขวา และภาพล่างขวา ตามลำดับ)

รูป 4.  ภาพแสดงผิวหนังใบหูข้างซ้ายด้านใน ก่อนเช็ดด้วย KU TakaihomÒ lotion ของสุนัขพันธุ์มิเนียเจอร์ชื่อ          ผักชี  ซึ่งมีผิวหนังบวมแดงและมีแผ่นเชื้อสีครีม เปียกไขมันติดอยู่ (ภาพบนซ้าย)  และภาพแสดงผิวหนัง หลังจากถูกเช็ดด้วย  KU TakaihomÒ lotion วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-5 สัปดาห์ ซึ่งผิวหนังเป็นปกติ     (ภาพบนขวา และภาพล่างขวา ตามลำดับ)


รูป 5.  ภาพแสดงผิวหนังใบหูด้านใน ข้างซ้ายและขวา ก่อนเช็ดด้วย KU ThongphanchangÒlotion ของสุนัข           พันธุ์เซ็นเบอร์นาร์ดชื่อ ซูโม่  ซึ่งมีผิวหนังนูนบวมแดงเป็นปื้นและมีแผ่นเชื้อสีครีม ติดอยู่ (ภาพบนซ้าย    และภาพล่างซ้าย ตามลำดับ)  และภาพแสดงผิวหนังใบหู หลังจากถูกเช็ดด้วย KU    ThongphanchangÒlotion วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ซึ่งผิวหนังเรียบเป็นปกติ (ภาพบนขวา             และภาพล่างขวา ตามลำดับ)


              จากผลการทดสอบฤทธิ์ฆ่าเชื้อ มาราสซีเซีย (Malassezia pachydermatitis)  ของโลชั่นสมุนไพรเคยู ซึ่งเป็นโลชั่นสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่า ((เคยู เนเจอลรัลไมติไซด์ และ เคยูเฮิร์บฟังกัสไมต์) โลชั่นน้ำมันตะไคร้แกง (เคยูเฮิร์บมาลาไซด์ และ เคยูตะไคร้แกง)  โลชั่นสารสกัดจากทองพันชั่ง (เคยูทองพันชั่ง)  โลชั่นน้ำมันตะไคร้หอม  (เคยูตะไคร้หอม)  และโลชั่นสารสกัดจากใบพลู (เคยูพลูโลชั่น)  สามารถทำให้เชื้อตายหมดภายใน 10 วินาที และการทดลองในทางคลินิกที่รักษาผิวหนังอักเสบเนื่องจากเชื้อนี้หายได้ภายใน  2- 5 สัปดาห์              น่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อนี้โดยการเช็ดทาภายนอก โดยไม่ต้องกินยายับยั้งเชื้อรา เช่น ketoconzole  ซึ่งมีผลต่อตับของสุนัขเมื่อให้กินต่อเนื่องเป็นเวลานาน (Tilley et al., 2000; Plumb, 2002). แต่ก็จะดำเนินการทดสอบในทางคลินิกกับสุนัขที่ผิวหนังอักเสบเนื่องจากเชื้อนี้ ให้มีจำนวนมากขึ้นต่อไป
สารออกฤทธิ์ของเคยูโลชั่นสมุนไพรนั้น ไม่ทราบเนื่องจากเป็นโลชั่นของสารสกัดหยาบทั้งหมด ดังนั้นจึงมีสารออกฤทธิ์หลายตัวที่ออกฤทธิ์เสริมกัน  แต่ก็มีรายงานว่า พบสารยับยั้งเชื้อรา naphthopyran derivative ในทองพันชั่ง (Kodama et al.,1993)  พบสาร Anonaine มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans ในน้อยหน่า (Oliver-Bever, 1986)   โลชั่นเคยูตะไคร้แกงและตะไคร้หอม เป็นโลชั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบตระไคร้แกงและตะไคร้หอม ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อราของคนและสัตว์ (Koba et al., 2003)  และ 1% แอลกอฮอล์พลูทิงเจอร์ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Candida albicans, Microsporum gypseum และ Trichosporon beigelii (Rahman et al., 2005)

 

คณะผู้วิจัย :
ณรงค์ จึงสมานญาติ ศรีสมัย วิริยารัมภะ สุวรรรณา ทิพยรักษ์  จุรีย์ ปานกำเหนิด และ ธเนศร ทิพยรักษ์
หน่วยงาน :
คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร  081-857-5711