จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) เป็นสัตว์สมุนไพรชนิดหนึ่งที่ประชาชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศนำมาบริโภคเป็นอาหารเสริมและบำรุงร่างกาย นำมาใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกง และไต้หวัน นิยมบริโภคเลือดจระเข้เพื่อบรรเทาอาการหอบหืด บำรุงร่างกาย และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
เลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการศึกษาพบว่ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัวได้ การศึกษาหนอนพยาธิในเลือดและลำไส้จระเข้ที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทย พบว่าปราศจากหนอนพยาธิในเลือดและลำไส้ และเมื่อทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองที่บริโภคเลือดจระเข้ พบว่าไม่มีพิษแบบเฉียบพลัน กึ่งเรื้อรังและเรื้อรัง และไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพในไต ตับ และอวัยวะภายในของสัตว์ทดลอง
การพัฒนาการเจาะเก็บเลือดจระเข้ปริมาณมากและการผลิตเลือดจระเข้แห้ง คณะวิจัยสามารถคิดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะเก็บเลือดปริมาณมาก และกระบวนการผลิตเลือดจระเข้ระเหิดแห้ง และได้มีการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้มีภาคเอกชนได้ลงนามกับมหาวิทยาลัยในการใช้สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรในการผลิตแล้วตั้งแต่ปลายปี 2551
การศีกษาประสิทธิภาพของเลือดจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยให้หนูมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นในการต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารในหนูทดลอง
การเสริมสร้างฮีโมโกลบินของหนูทดลองที่อยู่ในสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหลังจากการบริโภคเลือดจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยที่ทำให้แห้งภายใต้ความเย็นจัด พบว่าช่วยให้หนูทดลองที่เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มีค่าฮีโมโกลบินเฉลี่ย 5.8 กรัมเปอร์เซนต์ มีค่าฮีโมโกลบินสูงขึ้นเป็น 13.7 กรัมเปอร์เซนต์ ภายใน 4 สัปดาห์ และจากการให้หนูผสมพันธ์กันตามธรรมชาติ พบว่าหนูทดลองกลุ่มควบคุมมีปริมาณลูกเฉลี่ยต่อแม่เท่ากับ 8 ขณะที่หนูทดลองที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่บริโภคเลือดจระเข้แห้ง 4 สัปดาห์ แล้วมีลูกเฉลี่ยต่อแม่เท่ากับ 11 แสดงให้เห็นว่าเลือดจระเข้ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้สมบูร์แข็งแรงได้และยังช่วยให้หนูทดลองมีสมรรถนะทางเพศดีขึ้นด้วย
องค์ประกอบภายในเลือดจระเข้ประกอบด้วย
สารอาหาร |
ปริมาณ |
หน่วย |
โปรตีน |
83.1% |
|
เกลือแร่และแร่ธาตุต่าง Mineral |
เหล็ก |
164 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
แคลเซียม |
90 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
โซเดียม |
22.5 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
ฟอสฟอรัส |
1,458 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
แมกนีเซียม |
574 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
วิตามิน Vitamin |
วิตามิน เอ |
10.61 |
ไมโครกรัม/100กรัม |
|
วิตามิน บี1 |
0.17 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
|
วิตามิน บี2 |
0.23 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
|
วิตามิน บี6 |
0.22 |
มิลลิกรัม/100กรัม |
|
วิตามิน บี12 |
0.20 |
ไมโครกรัม/100กรัม |
|
ปัจจุบันคณะวิจัยได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตจะมีจระเข้ที่บริจาคเลือดมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับบำรุงร่างกาย
กรรมวิธีการผลิต แคปซูลเลือดจระเข้แห้ง
1. คัดเลือกจระเข้ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง จากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ได้รับการอนุญาตจาก กรมประมง อายุอย่างน้อย 3 ปี ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
2. เจาะเก็บเลือดจระเข้ปริมาณมาก ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วย 70% แอลกอฮอล เจาะเก็บเลือดโดยใช้อุปกรณ์และภาชนะที่ผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรค และภาชนะเก็บเลือดมีลักษณะปิด เพื่อให้ได้เลือดปริมาณมากที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย (ภาพที่ 1-2)
3. นำเลือดจระเข้ที่ได้มาทำการฆ่าเชื้อ ด้วยวิธี Pasturization ที่ 60oC 30 นาที (ภาพที่ 3-4)
4. นำเลือดจระเข้มาทำระเหิดแห้งโดยใช้ Freeze-der or lyophilizer เพื่อรักษาคุณภาพขององค์ประกอบโปรตีนที่สำคัญในเลือดจระเข้ (ภาพที่ 5-6)
5. นำเลือดจระเข้ระเหิดแห้ง มาบดให้ละเอียด โดยใช้โถบดสแตนเลส ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และบรรจุในแคปซูล ภายในตู้ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย (ภาพที่ 7-8)
6. บรรจุใส่ชวดสีชาเพื่อป้องกันแสงและความร้อน (ภาพที่ 9)
7. ตรวจสอบคุณภาพ โดยหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักเลือดด แห้งต่อแคปซูล ปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อน
ภาพที่1 ขั้นตอนการผลิตเลือดจระเข้ระเหืดแห้ง
|
|
ภาพที่ 2 (ก) ลูกหนูทดลองที่เกิดจากแม่หนูทดลองที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและบริโภคเลือดจระเข้ระเหิดแห้ง มีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ สีแดงชัดเจน (ข) ลูกหนูทดลองที่เกิดจากแม่หนูทดลองที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มีลักษณะไม่แข็งแรง สีซึดกว่ากลุ่มบริโภคเลือดจระเข้แห้งชัดเจน |
ภาพที่ 3 จระเข้บริจาคเลือดเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
|