ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart  University  Business  Incubation  Center  (KU-BIC)

       
          ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เป็นหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา  โดยการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (สกอ.)  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ให้มีความเข้มแข็ง โดยจะให้ความช่วยเหลือในช่วงระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจเป็นระยะเวลา  1  ปี  ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะได้เรียนรู้ทักษะในการดำเนินธุรกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองจนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ประสบผลสำเร็จ และพร้อมจะจัดตั้งธุรกิจได้เต็มรูปแบบในระยะเวลาอันสั้น

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจให้อะไรท่านบ้าง ?

  • “ พี่เลี้ยง ”  ที่สามารถให้คำแนะนำ  แก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจ
  • จัดหาทีมที่ปรึกษา  หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามความจำเป็นของแต่ละธุรกิจ
  • สถานที่และอุปกรณ์พื้นฐานตามความเหมาะสม
  • การอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการบ่มเพาะในการขอใช้เครื่องมือ  อุปกรณ์  การผลิต  วิจัย  วิเคราะห์  ทดสอบผลิตภัณฑ์
  • ได้รับความช่วยเหลือในการจัดตั้งธุรกิจ / การประสานจัดหาแหล่งทุน
  • กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง  เช่น  การช่วยเหลือด้านการตลาด  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนแผนธุรกิจ  การดูงาน  และการอบรมสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น  เป็นต้น

คุณสมบัติที่ต้องการ :

  • ผู้ที่มีความรู้ในธุรกิจที่จะจัดตั้งโดยมีผลิตภัณฑ์และรูปแบบของการดำเนินธุรกิจชัดเจน
  • ผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่มีศักยภาพ มีปัจจัย หรือโอกาสที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจได้ด้วยตนเอง
  • มีทีมงานและระบบงานพร้อมที่จะพัฒนาสู่ธุรกิจเต็มรูปแบบ
  • มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ  ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจจัดให้

กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ :

  • อาจารย์  นักวิจัย  นิสิต  และบุคลากร  ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บัณฑิต  หรือศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บัณฑิตใหม่  ผู้ว่างงาน  ผู้ถูกออกจากงาน  ถูกเลิกจ้าง  และพนักงานลูกจ้างที่มีพื้นฐานการศึกษาดี
  • ผู้ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นหรือระยะยาวในโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่  หรือผู้ที่ไม่ได้ผ่านโครงการฯ  ดังกล่าว  แต่มีแนวคิดในการทำธุรกิจบนพื้นฐานความรู้อย่างชัดเจน
  • ผู้ประกอบการเดิมที่ทำธุรกิจมาแล้ว  3 – 5  ปี  โดยมีแผนธุรกิจชัดเจนที่ต้องการเสริมความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ  หรือการบริหารจัดการ
  • บุคคลทั่วไป

เป้าหมายการดำเนินงาน :

  • ผู้เข้ารับการบ่มเพาะที่ต้องการเริ่มธุรกิจต้องสามารถจัดตั้งธุรกิจในรูปบริษัท  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  หรือเจ้าของคนเดียว
  • มีการดำเนินธุรกิจ  หรือมีธุรกรรมเกิดขึ้นจริง
  • ผู้ที่มีการจัดตั้งธุรกิจอยู่ก่อนแล้ว  ต้องมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • มีการจ้างแรงงานไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม  หรือมีการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นในกรณีที่ได้จัดตั้งบริษัทอยู่ก่อนแล้ว

วิธีการคัดเลือก :

  • พิจารณาจากใบสมัคร
  • นำเสนอแผนธุรกิจและสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ

 

  
คณะผู้วิจัย :
เจษฎา  แก้วกัลยา
หน่วยงาน
สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์