การจัดการความรู้ทางพันธุวิศวกรรม จีโนมิกส์
และ ไบโออินฟอร์เมติกส์ แบบสหวิทยาการ

       
ประวัติความเป็นมา
  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพันธุวิศวกรรม ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2538 ปรับปรุงครั้งสุดท้ายปี 2551 โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพันธุวิศวกรรม แบบ 1.1 แบบ 1.2 และแบบ 2.1 ได้รับอนุมัติให้เปิดปี 2538 จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่  10 กรกฏาคม  2538 และ ทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2538  ปรับปรุงครั้งสุดท้ายได้รับการปรับปรุงเป็นหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพันธุวิศวกรรม แบบ 1.1 แบบ 1.2 แบบ 2.1 และแบบ 2.2  เมื่อปี 2551 โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  3. ประธานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาพันธุวิศวกรรม โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา ตามลำดับ คือ          
    รองศาสตราจารย์ ดร. อรพิน ภูมิภมร (วาระ พ.ศ. 2538 – 2548)
         

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรรัตน์ พรหมบุญ (วาระ พ.ศ. 2548 – 2550)
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริวรรณ พราพงษ์ (วาระ พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน)

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์

             ปรัชญาของหลักสูตร

               ปัจจุบันเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยในสิ่งมีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ เพื่อการตรวจหายีน การจัดการกับยีน การดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้พันธุกรรมตามที่ต้องการ การพัฒนาเทคนิควิธีการ และการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษย์ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร อุตสาหกรรม และ สิ่งแวดล้อม กระบวนการศึกษาและวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ที่จะสร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบต่างๆ ทางชีวโมเลกุล ผู้ที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเป็นอย่างดี มีจินตนาการที่กว้างไกลและมีจรรยาบรรณที่ถูกต้องต่อการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งเกิดการประสานงาน และมีการพัฒนาตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขานี้มากขึ้น ระหว่างรัฐและเอกชนในประเทศและระดับนานาชาติ                   
โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษาสาขาพันธุวิศวกรรม มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิต  และมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมุ่งเน้นเป็นการวิจัยและทดลองเพื่อให้เกิดความรู้และทักษะอย่างแท้จริง  และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้กับภาควิชาที่ร่วมโครงการนี้  ผู้สมัครระดับปริญญาเอกต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาพันธุวิศวกรรม  ชีวเคมี  จุลชีววิทยา  พันธุศาสตร์  พืชไร่  พืชสวน  เทคโนโลยีชีวภาพ  สัตวบาล  สัตวศาสตร์  สัตวแพทยศาสตร์  พฤกษศาสตร์  วนวัฒนวิทยา  ประมง  หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่เกี่ยวข้อง  ระดับปริญญาโทต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาชีวเคมี  เคมี  ชีววิทยา  เกษตรศาสตร์  สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการสัตวแพทย์  เทคโนโลยีชีวภาพ  หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

    นโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา

      1. โครงการสหวิทยาการสาขาพันธุวิศวกรรมนี้เป็นสหวิทยาการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงไม่มีอาจารย์ประจํา สาขาพันธุวิศวกรรมเป็นโครงการสหวิทยาการ ได้รับความร่วมมือจากภาควิชาและคณะต่างๆด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จํานวน 8 คณะ จาก 21 ภาควิชาและยังมีความ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆนอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล กรมป่าไม้ กรมประมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร หน่วยปฏิบัติการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ DNA Technology Plant Biotechnology Unit และ Rice Genome Unit ซึ่งหน่วยงานต่างๆที่ร่วมกับสาขาฯทั้งหมดล้วนแต่มีศักยภาพในการทําวิจัย ด้านพันธุวิศวกรรมเป็นอย่างมากนอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับนักวิจัยในต่างประเทศอีกด้วยเช่นประเทศสหรัฐอังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น
      2. มีความสอดคล้องกับโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาบุคคลากรอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสู่การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ เครือข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหน้าทางการเกษตร วิทยาศาสตร์ และ การแพทย์
      3. มีการตรวจสอบความพึงพอใจของผู้ใช้ มหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขาพันธุวิศวกรรม
      4. มีการประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอก มหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต เพื่อการปรับปรุงหลักสูตร

    ข้อมูลหลักสูตร

      • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  (พันธุวิศวกรรม) Doctor of Philosophy (Genetic Engineering)  หลักสูตร  แบบ 1.1  แบบ 1.2  แบบ 2.1  และ แบบ 2.2
      • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พันธุวิศวกรรม) Master of Science (Genetic Engineering) หลักสูตร  แผน  ก  แบบ ก 1   และ   หลักสูตร  แผน  ก  แบบ  ก 2

    ทุนการศึกษา

      • ทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
      • ทุนผลิตและพัฒนาอาจารย์จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
      • ทุน คปก.                       
      • ทุนโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
      • ทุนราชกรีฑาสโมสร
      • ทุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
      • ทุนศูนย์ปฏิบัติการวัจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ
      • ทุนสนับสนุนคุณภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มก.
      • ทุนอุดหนุนการค้นคว้าและวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มก.

    ตัวอย่างงานวิจัย: การใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม จีโนมิกส์ และชีวสารสนเทศ เพื่อ

      • การค้นหาและใช้ประโชน์จากยีนสำคัญในข้าวหอมมะลิ อ้อย เช่น ยีนความหอม ยีนทนแล้ง
      • การค้นหาและใช้ประโชน์จากยีนสำคัญในกล้วยไม้ และดอกไม้ เช่น ยีนควบคุมสี
      • การเพิ่มผลผลิตเอ็นไซม์ในอุสาหกรรมเกษตรโดย Recombinant enzymes
      • Molecular genetics of thermotolerant acetic acid bacteria
      • Protein engineering in plant beta-glucosidases
      • Production of polyclonal and monoclonal antibodies by genetic engineering techniques
      • การค้นหาและใช้ประโชน์จากยีนของเชื้อฉี่หนูเพื่อการพัฒนาวัคซีน
      • การค้นหาและใช้ประโชน์จากยีนของไวรัสหวัดนกและหวัดหมูเพื่อการพัฒนาวัคซีน
      • Protein Engineering, Three-D Modeling and Drug Designs

    โทรศัพท์/โทรสาร 0-2942-8445-50  ต่อ  505 E-mail:  kugeneng@ku.ac.th

    Slide1

    Slide2

    Slide4

  
คณะผู้วิจัย :
ศิริวรรณ พราพงษ์
หน่วยงาน :
โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพันธุวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์