วัฒนธรรมผ้าเผ่าไท ในประเพณีแต่งงาน

Tai Wedding Textile Traditions

       
          

ถิ่นกำเนิดชนชาติไท

          ชนชาติไทเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ตะวันออก
ที่เก่าแก่อายุราว ๒,๕๐๐,๐๐๐ ปี พบที่หยวนโหว มณฑลยูนนาน อันเป็นแหล่งเก่าแก่ที่มีร่องรอยมนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ 
จนถึงมนุษย์ลำปางแมน พบที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง อายุ ๕๐๐,๐๐๐ ปี สืบต่อมาถึงยุคหินใหม่ เพื่อประมาณ ๗,๐๐๐ ปี มาแล้ว
ได้พบหลักฐานวัฒนธรรมการเลี้ยงไหมและ ทอผ้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

แหล่งกำเนิดผ้าไหมไทในประเทศจีน

          แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดที่พบหลักฐานวัฒนธรรมการเลี้ยงไหมและทอผ้าของชนเผ่าไท คือ พิพิธภัณฑ์เหอหมู่ตู้
อำเภอหยีเหยา มณฑลเจ้อเจียงบริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปี  พบหลักฐานงาช้างแกะสลักเป็น
ตัวดักแด้ไหม  รวมทั้งพบเข็มกระดูกและแวดินเผาสำหรับกรอไหม

0102

03


หลักฐานผ้าไหมไทจากแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่


          บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมการทอผ้าของชนเผ่าไท เพราะนอกจากจะพบหลักฐานที่แหล่ง
โบราณคดี เหอหมู่ตู้ เมื่อ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้วยังพบหลักฐานที่เมืองซูโจว ซึ่งพบหลักฐานวัฒนธรรมการทอผ้าที่เก่าแก่ของ
ชนเผ่าไท จากแหล่งโบราณคดี 3 แห่ง คือ   แห่งแรกที่ภูเขาเฉ่าเสซาน ตำบลอุ๋ยถิง เขตหยวนชวี พบซากแผ่นสิ่งทออายุ
๖,๐๐๐ ปี แห่งที่สองที่ แหล่งโบราณคด ีเฉียนซานย่าง (Qianshanyang) หมู่บ้านไห่เนี่ยนหมู่ เมืองอู๋ซิง ชานเมืองทางใต้
ของเมืองหูโจว เป็นแหล่งกำเนิดผ้าไหมเนื้อบางที่เก่าแก ่ที่สุดในโลก อายุ ๔,๘๐๐ ปี เป็นผ้าไหมทอลายขัดในตะกร้าไม้ไผ่
เศษของผ้าไหมย้อมด้วยสีแดง เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมหลงซาน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนไท เอกลักษณ์สำคัญของ
วัฒนธรรมหลงชาน คือ การเลี้ยงตัวไหมเพื่อใช้ทอผ้า

          ส่วนแห่งที่สาม พบที่ เหมยย่าน ของเมืองอู่เจียง พบเข็มกระดูก ล้อของเครื่องทอผ้า และเครื่องปั้นดินเผา มีลวดลาย
ทำจากเส้นไหม และตัวไหมเป็นจำนวนมาก อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปี


แหล่งกำเนิดผ้าไหมในจีนเป็นภูมิปัญญาไท

                ตำนานจีนระบุว่า ค้นพบผ้าไหมเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ผู้ค้นพบ คือ มเหสีชีเลงสี สมัยจักรพรรดิเหลือง ซึ่งค้นพบจากการที่ตัวดักแด้ไหมตกลงใน ถ้วยน้ำชาในสวนพระนางเป็นผู้ริเริ่มการเลี้ยงไหม ได้นำใยไหมมาทอเป็นแพรใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ส่วนสีที่ใช้ย้อมผ้าแพรไหม ใช้ดอกไม้มาตำคั้นเป็นน้ำ เพื่อย้อมให้สีสดงดงาม จักรพรรดิเหลืองเป็นจักรพรรดิจีนองค์แรกในยุคปรัมปรา ซึ่งยังไม่ใช่พวกฮั่นซึ่งเป็นจีนแท้ ตามประวัติระบุว่า พระองค์เป็นบิดาของพระเจ้าหาว ซึ่งเป็นต้นตระกูลไท ต่อมาในสมัยกษัตริย์เงี้ยว เมื่อประมาณ ๔,๓๐๐ ปี ผ้าไหมได้พัฒนาเป็นชุดเข้าเฝ้า มีสีถึง ๕ สี และปักเป็นรูปตะวัน ดวงเดือน ดวงดาว ภูเขา มังกร เปลวไฟ เมล็ดข้าว ดอกไม้ สาหร่าย เครื่องบูชา และลวดลายต่างๆ นอกจากมีการเลี้ยงไหมเพื่อทอผ้าไหม ยังทอผ้าป่านจากเปลือกต้นป่านอย่างแพร่หลายอีกด้วย

          หลักฐานใหม่ที่สนับสนุนว่า ผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาไท ปรากฎในนิตยสารภาพจีน ฉบับเดือนมกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๗ ระบุว่า ผ้าไหมมีแหล่งกำเนิดที่แคว้นเสฉวน ซึ่งเป็นแคว้นที่พวกเหล่า (ลาว) อยู่มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนที่ชนเผ่าจีนจะเข้ามาครอบครองในสมัยราชวงค์ฮั่นดังนั้นการเลี้ยงไหมทอผ้าจึงเป็นภูมิปัญญาไท ไม่ใช่ของจีน
04
 
มเหสีชีเลงส

วัฒนธรรมการทอผ้าไหมไทในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
จากหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเยว่


          หนังสือประวัติศาสตร์ชาวเยว่ สมัยราชวงค์ฮั่น เมื่อประมาณ ๒,๑๐๐ ปี ระบุว่าพระเจ้าโกวเจี้ยน กษัตริย์ชาวเยว่
มีนโยบายส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อทำนาเป็นและทอผ้าได้ บ้านเมืองก็อุดมสมบูรณ์ โปรดให้นำฝ้ายมา
ทอเป็นผ้าสีเหลือง ส่งไปถวายพระเจ้าฮั่นอู่ตี๋ แห่งราชวงศ์ฮั่น


วัฒนธรรมการทอผ้าของไท
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากหลักฐานผืนผ้าไทที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


          หลักฐานที่สะท้อนภูมิปัญญาอันสูงส่งของบรรพชนเผ่าไท ที่มีความสามารถในการทอผ้าด้วยเทคโนโลยีระดับสูง
มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ การพบผืนผ้าไทที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุ ๒,๑๐๐ ปี ที่สุสาน
นางพระยาเผ่าไทที่ตำบลหม่าหวังตุย นครฉางซา มณฑลหูหนาน พบผ้าไหมบาง ผ้าไหมโปร่ง ผ้าไหมยกดอกชนิดซับซ้อน
ผ้าใยกัญชา ผ้าพิมพ์ดอก ผ้าไหมปักลวดลาย และผ้าไหมวาดลวดลายเป็นเรื่องราว

06
0708


ภูมิปัญญาวัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่าไทในประเพณีแต่งงาน


          ชนเผ่าไทในอาณาจักรไทเดิม มีวัฒนธรรมการแต่งกายของแต่ละเผ่าที่ความประณีต สืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรม
การแต่งกายในประเพณีแต่งงาน โดยเฉพาะกลุ่มนุ่งผ้าซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเผ่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด
ได้แก่ ไทใหญ่แห่งอาณาจักรมาวหลวง ไทเขินแห่งนครเชียงตุง ไทลื้อ แห่งอาณาจักรสิบสองปันนา ไท-ยวนแห่งอาณาจักร
ล้านนา ไทลาว ไทอีสาน แห่งอาณาจักรล้านช้าง ไทดำ ไทแดง แห่งอาณาจักรสิบสองเจ้าไท อพยพมาเป็นไททรงดำ
(ลาวโซ่ง) ผู้ไทยดำ ไทแดงอพยพมาเป็นไทครั่ง และไทถิ่นใต้ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย

          ๑. ไทใหญ่แห่งอาณาจักรมาวหลวง

          เจ้าฟ้าไทใหญ่จะทรงมหามงกุฎรูปนกยูง ทรงฉลองพระองค์เสื้อเครื่องยศ คอตั้งแขนยาว ผ่าอกติดกระดุมอัญมณี
และคาดผ้าคาดเอวที่ปักด้วยเส้นทอง คลุมฉลองพระองค์ครุย เยียรบับ ปักถักด้วยเส้นทองตามขอบเสื้อครุย ปลายแขน
และชายเสื้อ ทรงพระภูษาจีบ ผ้ายกลายทองอย่างวิจิตร และฉลองพระบาทสุวรรณ

          เจ้านางไทใหญ่ ทรงฉลองพระองค์ไหมปักหรือไหมโปร่งปักดิ้นเงินทอง ห่มสไบปักเงินทอง ทรงพระภูษาไหม
ปักดิ้นเงินทอง หรือ ลุนตยาอชิค ปักเงินทองเป็นลวดลายป่าหิมพานต์ และเขาสัตบริภัณฑ์

   ชุดอภิเษกสมรสของเจ้านางเฮือนคำ
 พิธีอภิเษกสมรสขุนแสงเจ้าฟ้าหลวง เมืองสีป้อและเจ้านางเฮือนคำ
09
09
   
   พิธีอภิเษกพระราชโอรสของเจ้าฟ้าเมืองแสนหวี
ไทใหญ่แห่งอาณาจักรมาวหลวง
10
11

          สตรีชาวไทใหญ่ จะสวมเสื้อไหมคอปีนป้ายข้าง แขนยาวสีขาว นุ่งซิ่นที่เชิงผ้าซิ่นจะบ่งบอกฐานะของผู้ใส่ คือเด็กจะต่อเชิง ๒ชั้น
เจ้านายจะต่อเชิง ๔ ชั้น ตัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ มีแถบสีแดง สีเขียว นิยมไว้ผมมวยโพกศรีษะด้วยผ้าสีสด สวมรองเท้าหัวงอนและใหญ่

          ชาวไทใหญ่จะสวมชุดสีขาวเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ สวมเสื้อผ้าฝ้ายหรือไหม แขนยาวสีขาว คอกลม ผ่าหน้า ติดกระดุมผ้า
นุ่งกางเกง สีขาวขากว้าง คาดผ้าคาดเอวเป็นไหม

          ๒. ไทเขิน แห่งนครเชียงตุง รัฐฉาน

          เจ้าฟ้าไทเขิน จะทรงฉลองพระองค์เสื้อเครื่องยศ คอตั้งแขนยาว คาดผ้าคาดเอวปักอย่างวิจิตรด้วยเส้นเงินทอง
คลุมฉลองพระองค์ครุย เป็นผ้ายก ปักหักทองขวางตามขอบเสื้อครุย ปลายแขนและชายเสื้อ

          เจ้านางไทเขิน จะทรงฉลองพระองค์ไหมปักหรือไหมโปร่งปักดิ้นเงินทอง ห่มสไบปักเงินทอง ทรงพระภูษาไหมคำ
อันล้ำค่าควั้นด้วยทองคำบริสุทธิ์ ปักเชิงเป็นลวดลายดอกสบันงา อันเป็นเอกลักษณ์ของราชสำนักเชียงตุง

          สตรีชาวไทเขิน จะนุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ตัวซิ่นเป็นสีพื้นหรือลายขวาง เชิงซิ่นเป็นสีเขียวอันเป็นลักษณะเฉพาะ
ปักลวดลายด้วยดิ้นทอง ระหว่างรอยต่อกับตัวซิ่นจะแต่งด้วยเทปสีทองหรือปักลวดลายให้งดงาม สวมเสื้อไหมคอปีน
ป้ายข้างแขนยาว ตกแต่งด้วยเทปที่สาบเสื้อและปลายแขน ตัวเสื้อจะรัดรูป ผูกเชือกตรงเอวด้านซ้าย คล้ายเสื้อปั๊ดไทลื้อ
แต่ตัวยาวกว่า คลุมสะโพกบน นิยมเคียนหัวด้วยสีชมพู เขียว และเหลืองอันเป็นสีของขนนกยูงที่เป็นสัญลักษณ์ของเผ่า
ส่วนชายชาวไทเขิน จะสวมเสื้อไหมสีขาว แขนยาว คอกลม ผ่าหน้า ติดกระดุมผ้า นุ่งกางเกงขากว้างสีสด คาดเอว
ด้วยผ้าแพรไหม

พิธีอภิเษกเจ้าอินทนนท์กับเจ้าสุคันธา
แห่งราชสำนักเชียงตุง
ไทเขิน แห่งนครเชียงตุง รัฐฉาน
12
13

          ๓. ไทลื้อแห่งอาณาจักรสิบสองปันนา

          สตรีไทลื้อ นิยมเกล้ามวยเอียงข้าง ดังปรากฏในภาพฝาผนังที่วัดภูมินทร์จังหวัดน่าน ประดับด้วยปิ่นปักผมเงินและ
สร้อยโลหะเงิน สวมกำไลมือเงิน เรียกว่า ก๋องไม ส่วนใหญ่จะโพกผ้าขาวเคียนรอบศีรษะ สวมเสื้อปั้ด เป็นเสื้อรัดรูปสีขาว
เจ้านายจะใช้ผ้าแพรไหม เอวลอย แขนยาวตรงสาบหน้าตกแต่งด้วยผ้าแถบสี ปักดิ้นเงินทอง เฉียงมาผูกติดกันตรงมุมซ้าย
ทางลำตัว ติดกระดุมเงิน นิยมนุ่งซิ่นตีนจกหรือ ซิ่นลายน้ำไหล เทคนิคเกาะหรือล้วง ต่อตีนซิ่นด้วยผ้าพื้นสีดำ ขลิบปลาย
ผ้าซิ่นด้วยผ้าขาวกว้างประมาณ 2 นิ้ว นิยมตกแต่งด้วยผ้าจกและผ้าลูกไม้

          ชายไทลื้อนิยมสักร่างกายตั้งแต่คอ อก แขนเป็นสีแดงด้วยชาด ส่วนเอว สะโพกเป็นสีดำด้วยเขม่า เพื่อแสดง
ความคงกระพันชาตรี ชอบไว้หนวดและแต่งหนวดให้โค้งขึ้น โพกผ้าขาวเคียนรอบศีรษะ สวมเสื้อปั๊ด คอตั้ง แขนยาว
สีขาวป้ายข้าง ตกแต่งแถบสีหรือขาวตรงสาบหน้า มีกระเป๋าบนและล่าง ส่วนเจ้านายใช้ไหมแพรจีน สวมกางเกงผ้าแพร
จีน ขายาวสีดำ เรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนกางเกงแบบโบราณ จะต่อผ้าสีขาวตรงเอวและปลายขา

13
14
15
16

ไทลื้อแห่งอาณาจักรสิบสองปันนา

          ๔. ไท-ยวน แห่งอาณาจักรล้านนา

          เจ้าฟ้าทรงฉลองพระองค์ เสื้อคอตั้งแขนยาวที่เรียกว่า เสื้อราชปะแตน รัดพระองค์ด้วยปั้นเหน่ง และผ้าไหมถัก
ทรงพระภูษาโจง ด้วยผ้าตาดทองยกดอก

          เจ้าหญิงทรงฉลองพระองค์พระกรยาวไหม พระศอปิด ผ่าหน้า ห่มสไบไหมปัก ทรงพระภูษายกดอกด้วยดิ้นทอง
ต่อเชิงด้วยตีนจก ยกด้วยเงินบริสุทธิ์ แบบราชสำนักเชียงใหม่

          การแต่งกายในพิธีแต่งงาน ชายไท-ยวนจะสวมเสื้อคอตั้งแขนยาว พาดบ่าด้วยผ้าเช็ด นุ่งกางเกงขายาว

          สตรีชาวไท-ยวน อ.ลอง จ.แพร่ จะสวมเสื้อคอตั้ง แขนกระบอก ห่มสไบจก นุ่งซิ่นตีนจก

          ส่วนสตรีชาวไท-ยวน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ จะนุ่งซิ่นตีนจกยกมุกโทนสีเขียว

พิธีอภิเษกสมรสเจ้าหญิงทิพวรรณ
แห่งลำปาง
ไท-ยวน แห่งอาณาจักรล้านนา
13
14
ไท-ยวน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
ไท-ยวน อ.ลอง จ.แพร่
15
17

          ๕. ไทอีสาน ไทลาว แห่งอาณาจักรล้านช้าง

          สตรีชาวเวียงจันทน์และหลวงพระบาง จะนิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ปักด้วยดิ้นเลื่อมเงินทองตามแบบเจ้านาย ห่มสไบที่เรียกว่า
ผ้าเบี่ยงปักด้วยดิ้นเงินทองเช่นกัน โดยเฉพาะจะนิยมนำเครื่องแต่งกายแบบเจ้านายมาแต่งเป็นชุดเจ้าสาว

          ฝ่ายชายจะสวมเสื้อผ้าไหมสีพื้น หรือผ้าตาดทองยกดอก สวมเสื้อราชปะแตน นุ่งผ้าไหมหรือผ้าตาดทองแบบโจงกระเบน

          สตรีชาวไทอีสานจะใส่เสื้อแขนกระบอก ผ่าหน้า ติดกระดุมเงิน ห่มผ้าเบี่ยงหรือสไบ นุ่งซิ่นไหมมัดหมี่

          ชายชาวไทอีสานจะสวมเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า ติดกระดุม จะใช้ผ้าขิดพาดบ่า นุ่งกางเกงขายาว มีผ้าขาวม้าคาดเอว
หรือนุ่งผ้าโสร่งตามะกอก หรือผ้าไหมหางกะรอก หรือนุ่งโจงกระเบน

ไทลาวแห่งอาณาจักรล้านช้าง

16
14
พิธีอภิเษกเจ้านายหลวงพระบาง
 
17
18
ลาวหลวงพระบาง        
เจ้านายอุบล         

          ๖. ไทดำ ไทแดง แห่งอาณาจักรสิบสองเจ้าไท

          ไทดำอพยพมาเป็นไททรงดำ (ลาวโซ่ง) และผู้ไทยดำ ไทแดงอพยพมาเป็นไทครั่ง

  • ไททรงดำหรือลาวโซ่ง

                    สตรีลาวโซ่ง ถ้ามีงานพิธี จะสวมเสื้อฮีประดับแถบไหมสีตรงบ่าด้านหน้า เสื้อคลุมยาวถึงเข่า ปักลวดลาย
ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายดอกตะเหวน (ตะวัน) และดอกจันทน์หรือดอกแก้ว นุ่งซิ่นลายแตงโมหรือลายชะโด เป็นซิ่นสีคราม

เข้มขนานลำตัวด้วยริ้วขาว                                                                            
                    ชายชาวลาวโซ่ง ในงานพิธี จะสวมเสื้อฮีแขนยาว คอกลมประดับด้วยแถบผ้าไหมสี นุ่งกางเกงขาใหญ่
ย้อมด้วยมะเกลือหรือคราม
                                                                                

                                                                                                                                                                 

                                                                                
19
20
ไททรงดำ
ผู้ไทยดำ

  • ผู้ไทยดำ          

           หญิงชาวผู้ไทยปกติจะสวมเสื้อไหมแขนกระบอก คอตั้ง ผ่าอกติดกระดุม มีสาบเป็นจกลายขอ นุ่งซิ่นมัดหมี่ลายนาค
มีขิดที่ตีนซิ่น ในงานพิธีจะมีห่มผ้าเบี่ยงแพรวาสีแดง สวมเครื่องประดับเงิน มีผ้าคลุมศีรษะเป็นผ้าสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก เรียกว่า ผ้าแพรมน

           ชายชาวผู้ไทยจะสวมเสื้อไหมแขนยาว คอตั้งผ่าหน้าติดกระดุม ตกแต่งขิดที่สาบเสื้อนุ่งกางเกงขาแคบ ในงานพิธีจะพาดบ่าด้วยผ้าขิดนุ่งผ้าโสร่งตามะกอกหรือนุ่งผ้าไหมโจงกระเบน คาดเอวด้วยผ้าขาวม้าไหม

  • ไทครั่ง

              สตรีชาวไทครั่งจะสวมเสื้อผ้าไหมสีพื้นแขนกระบอก คอตั้งผ่าหน้าติดกระดุม นิยมตกแต่งจกลายนาค ห่มสไบ
นิยมนุ่งซิ่นที่เรียกว่า ซิ่นตา ตีนจกนิยมซิ่นตีนแดง  ส่วนชายชาวไทครั่ง จะสวมเสื้อผ้าไหมสีพื้น แบบเสื้อราชปะแตน
นุ่งผ้าโจงกระเบนลายคาดผ้าขาวม้าที่เอว

                                                                                

 

ไทครั่ง
ไทถิ่นใต้
20
21

          ๗. ไทถิ่นใต้ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย

          อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาแต่อดีต มีเจ้านายปกครอง ฉะนั้น ผ้าทอที่เจ้านายนุ่งในพิธีแต่งงานจึงเป็นผ้าทอที่ยกทออย่างประณีต เช่น ไทถิ่นใต้ เมืองนครศรีธรรมราช ไทถิ่นใต้ บ้านนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง และไทถิ่นใต้ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

          การแต่งกายหญิงชาวไทใต้ จะห่มผ้าซีก (ผ้าแถบ) “ฉ้อคอ” อย่างห่มตะแบงมาน ชายผ้าซีกทั้งสองข้างผูกไว้ที่ต้นคอ ชายหางผ้าซีกยาวพาดบ่าอย่างสไบเฉียง หรือใช้ผ้าห่มรัดอกผืนหนึ่ง และห่มสไบเฉียงซ้อนอีกผืนหนึ่ง นุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นผ้าพื้น ถ้าเป็นงานพิธีแต่งงานจะนุ่งผ้ายกฝ้าย ผู้มีฐานะจะนุ่งยกดิ้นเงินทอง และสวมเสื้อคอตั้งแขนกระบอกห่มไบเฉียง

          ชายชาวไทใต้ จะนุ่งผ้าพื้นเลื้อยชาย หรือนุ่งผ้าโสร่ง ถ้ามีงานพิธีแต่งงานจะนุ่งผ้าโจงกระเบนสวมเสื้อ ใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าห่มพาดบ่า ถ้ามีฐานะจะใช้ผ้าซักอาบ (ผ้าขาวม้า) ทอด้วยไหม ห่มสะพายเฉียง

 
  
คณะผู้วิจัย :
อรไท ผลดี
หน่วยงาน :
ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์/สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 089-1487303