การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาการใช้ภาษาด้านการใช้คำ ประโยค และภาพพจน์ในบทพรรณนาโวหารรวมทั้งองค์ความรู้ของลีลาการใช้ภาษาในบทพรรณนาโวหาร ทั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากนวนิยายของทมยันตี 4 เรื่อง ได้แก่ จิตตเทวะ จิตา ฌาน และมายา ได้บทพรรณนาโวหาร 157 บท
ผลการวิจัยพบว่าด้านการใช้คำ มีการใช้คำแสดงกิริยาอาการและการเคลื่อนไหว การใช้คำ บอกสี และแสง การใช้คำบอกกลิ่น การใช้คำบอกเสียง การใช้คำแสดงอารมณ์ความรู้สึก การใช้คำซ้ำ คำซ้อน การซ้อนความ และการใช้คำหลาก ด้านการใช้ประโยค มีการใช้ประโยคสั้น (Attic sentence) ประโยคยาว (Isocratic sentence) ประโยคแบบโวหาร (Cireronian sentence) และประโยคแบบบาโรก (Baroque sentence) ด้านการใช้ภาพพจน์ มีการใช้ภาพพจน์อุปมา (Simile) อุปลักษณ์ (Metaphor) ปฏิปุจฉา (Rhetorical Question) ปฏิภาคพจน์ (Paradox) และสัญลักษณ์ (Symbol) ส่วน ด้านองค์ความรู้ของลีลาการใช้ภาษาในบทพรรณนาโวหาร พบว่ามีการใช้พรรณนาโวหารเพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อพรรณนาตัวละคร เพื่อพรรณนาฉากและบรรยากาศ และเพื่อพรรณนาเหตุการณ์ ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์มีลีลาการใช้ภาษาหลายลักษณะ |