ความสัมพันธ์ระหว่างความเคร่งครัดทางศาสนากับการตีความหมายคำว่า “โกหก”  ในภาษาไทย :
การวิเคราะห์เชิงอรรถศาสตร์ต้นแบบ
       

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “โกหก” ตามแนวคิดต้นแบบ (prototype) โดยจะศึกษาว่าความเคร่งครัดทางศาสนามีผลต่อการตีความคำว่าโกหกหรือไม่ และองค์ประกอบทางความหมายใดมีความสำคัญมากน้อยอย่างไรในการที่ผู้พูดภาษาไทยจะจำแนกการกระทำหนึ่งว่าเป็นการโกหก ผลการวิจัยที่ได้ได้นำไปเปรียบเทียบกับการตีความความหมายของคำว่า “lie” ในภาษาอังกฤษ
         ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้มาจากผู้พูดภาษาไทยจำนวนรวม 194 คน  จำแนกตามความเตร่งครัดทางศาสนาได้เป็น 3 กลุ่ม  คือ กลุ่มผู้เคร่งครัดทางศาสนาสูง   กลุ่มผู้เคร่งครัดทางศาสนาปานกลาง   และกลุ่มผู้เคร่งครัดทางศาสนาต่ำ        
          ผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับสมมุติฐานบางส่วน  ผู้มีความเคร่งครัดทางศาสนาแตกต่างกันตีความว่าการกระทำใดเป็นการโกหกด้วยค่าน้ำหนักแตกต่างกัน  ผู้มีความเคร่งครัดในศาสนาปานกลางให้ค่าน้ำหนักของการโกหกสูงกว่าผู้มีความเคร่งครัดในศาสนาสูง      เรื่องที่มีองค์ประกอบทางความหมายของการโกหกมากกว่าได้รับการตัดสินว่าเป็นเรื่องโกหกมากกว่าเรื่องที่มีองค์ประกอบทางความหมายของการโกหกน้อยกว่า    ผู้มีความเคร่งครัดทางศาสนาสูงและปานกลางมีการเรียงลำดับที่เหมือนกัน  คือ (เจตนาให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่ตนพูด> เชื่อว่าสิ่งที่ตนพูดเป็นเท็จ> เรื่องที่พูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง > มีเจตนาร้าย)    ในขณะที่ผู้เคร่งครัดทางศาสนาปานกลางมีการเรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบทางความหมายของคำว่าโกหกที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น  (เชื่อว่าสิ่งที่ตนพูดเป็นเท็จ > เจตนาให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่ตนพูด > มีเจตนาร้าย > เรื่องที่พูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริง)

  
คณะผู้วิจัย :
จริลวิไล  จรูญโรจน์
หน่วยงาน :
คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-579-5566-8 ต่อ 1512