การออกกำลังกายในน้ำเพื่อสุขภาพ
 Aquatic Exercise Program for Health

       

          ทุกคนปรารถนาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือ การออกกำลังกายแบบอื่น ๆ เชื่อว่าจะช่วยทำให้สามารถป้องกันโรคภัย บางชนิดได้ และชีวิตมีคุณภาพมากขึ้น ได้มีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องสรีรวิทยาของการออกกำลังกายอย่างจริงจัง และทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ความรู้เหล่านี้ถูกนำมาใช้ปรับปรุงวิธีการ หรือสร้างอุปกรณ์สำหรับใช้ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ในบรรดาวิธีการออกกำลังกายใหม่ ๆ เหล่านี้ มีการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่นิยมมากขึ้นตามลำดับ คือการออกกำลังกายในน้ำ (Aquatic Exercise) ซึ่งในต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจมาเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว และแพร่หลายออกไปเรื่อย ๆ และคาดว่าในอนาคตจะเป็นที่นิยมมากขึ้น

           จากการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการฝึกโยคะในน้ำและการฝึกโยคะบนบกที่มีต่อสมรรถ ภาพทางกายและจิตในสตรี อายุ 50–59 ปี พบว่า ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์กลุ่มฝึกโยคะในน้ำมีสมรรถภาพทางกายในด้านความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและความอ่อนตัว  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการฝึกและหลังการ 8 สัปดาห์กลุ่มฝึกโยคะบนบกมีสมรรถภาพทางกายในด้านเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย  และความอ่อนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   ส่วนภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มฝึกโยคะในน้ำและกลุ่มฝึกโยคะบน  พบว่าสมรรถภาพทางกายในด้านของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับสมรรถภาพทางจิตในด้านของความเครียด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          นอกจากนี้ได้มีการออกแบบอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ คือ รองเท้าซึ่ง ทำการเพิ่มพื้นที่โดยใช้แผ่นโฟมรองด้านใต้เพื่อเพิ่มแรงต้านทานขณะออกกำลังกาย และได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ต้นขาและการทรงตัวในผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 56-65 ปี พบว่า ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าและกลุ่มฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยเท้าเปล่า  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          
ดังนั้น จากผลการวิจัยสามารถนำโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำทั้งสองรูปแบบนี้ ไปประยุกต์ใช้กับหญิงวัยผู้ใหญ่ได้ ทั้งนี้จากคุณสมบัติของน้ำก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการออกกำลัง กายหลายประการ ได้แก่  แรงดันใต้น้ำ  ในน้ำมีแรงดัน ซึ่งมากขึ้นตามระดับความลึก ขณะที่เราแช่ ตัวอยู่ในน้ำจะทำให้โลหิตไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจได้ง่ายกว่าบนบก  แรงพยุงของน้ำ หรือ แรงลอยตัว ทำให้น้ำหนักตัวลดน้อยลง ขณะออกกำลังกายข้อต่อต่างๆ จึงไม่ต้องรับน้ำหนักตัว และแรงกระแทกเหมือนขณะออกกำลังกายบนบก ความต้านทานในน้ำ สามารถสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงขณะออกกำลังกาย และจากงานวิจัยได้มีการพัฒนารองเท้าสำหรับออกกำลังกายในน้ำเพื่อเพิ่มแรงต้านทานในน้ำ  

          จากคุณสมบัติของน้ำข้างต้น ทำให้การออกกำลังกายในน้ำมีข้อดีหลายประการพอสรุป ได้ดังนี้คือ 1. การออกกำลังกายในน้ำสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหายใจ และไหลเวียนของโลหิตเช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคประเภทอื่นๆ  2. สามารถสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง 3. สามารถเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ  ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งคุณสมบัติทั้งสามประการนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้การออกกำลังกายในน้ำไม่ทำให้ เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเอ็นและข้อเนื่องจากสภาพไร้น้ำหนัก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการออก กำลังกายในน้ำมีความเหมาะสมที่จะเป็นการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

ตัวอย่างท่าทางการฝึกโยคะในน้ำ

ท่าตัวที (T Pose)
ท่าต้นไม้ (Tree Pose)
ท่าสามเหลี่ยม (Triangle Pose)
ท่านักเต้นรำประยุกต์
(Modifiled Dancer Pose)
ท่าเรือ (Boat Pose)
ท่าศพอาสนะ (Corpse Pose)

ตัวอย่างท่าทางการฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้า

อุปกรณ์การออกกำลังกายประกอบด้วย

1. รองเท้าออกกำลังกายในน้ำ
2. โฟมเส้น

การก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้า

คำแนะนำ ในการก้าวขึ้นลง จำนวน 20 ครั้งต่อเซต จำนวน 10 เซต ความเร็วในการก้าวขึ้นลง 88- 104 ครั้งต่อนาที เวลาพักระหว่างเซต 1.30 นาที

  
คณะผู้วิจัย :
ราตรี เรืองไทย, จรรยา สมิงวรรณ, รจนา อาภรณ์รัตน์, สุริยา ณ นคร, สิริพร ศิมณฑลกุล และ อนันทศิลป์  รุจิเรข
หน่วยงาน :
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-9428675