การทำอาหารว่างจากกากเมล็ดทานตะวัน
Snack  Production from Sunflowers Seed  Sunflower Meal
       

              ทานตะวัน (Sunflowers) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus annuus L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับคำฝอย จัดเป็นพืชฤดูเดียว ทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้เมล็ดสกัดน้ำมันพืชหรือใช้เป็นอาหาร มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอเมริกา และกระจายไปยังอินเดีย ยุโรป แหล่งผลิตเมล็ดทานตะวันที่สำคัญของโลกอยู่ในเขตอบอุ่นแถบประเทศอาร์เจนตินา และรัสเซีย (สุพรรณี, 2543) เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางอาหารสูง  คือ ประกอบด้วย น้ำ 4.3%  โปรตีน23.4  %  ไขมัน52.1%    คาร์โบไฮเดรต 17.0%   ใยอาหาร 11.1%    และเถ้า 3.3 %  เป็น  ให้แร่ธาตุสูง เช่น แคลเซียม เหล็ก โซเดียม  เป็น 157,  3.2 และ 36  มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ  ให้วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2  เท่ากับ 1.16 และ   0.04   มิลลิกรัมตามลำดับ และให้พลังงาน 630 กิโลแคลอรี  (Puwastien และคณะ,  1999) 

              กากเมล็ดทานตะวัน เป็นเผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบีบน้ำมันออกบางส่วน ซึ่งนำมาจากบริษัท ฟลาวเวอร์ฟูด กากที่ได้นี้ มักนำไปทำอาหารสัตว์ ซึ่งกากทานตะวันยังมีคุณค่าอยู่สูง คือ ความชื้น 4.77 % ไขมัน33.80% โปรตีน 37.82%  เถ้า  5.50%  คาร์โบไฮเดรต 15.16% เส้นใยหยาบ  2.87 %  สมควรทดลองทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น อาหารว่าง ที่สะดวกในการรับประทาน โดยใช้เครื่องวิลเลจเทคเจอไรเซอร์:ซึ่งพัฒนาโดยคุณกฤษณะ เต็มตระกูล สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และมีวัตถุดิบอื่นๆ คือแป้งสาลีเอนกประสงค์  และแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีวิธีทำดังภาพที่ 1

              ผลิตภัณฑ์อาหารว่างมีความหนา 1.5-1.7 มม. ความกว้าง 4-5 ซม.  น้ำหนัก  0.5-1 กรัม/ชิ้น มีลักษณะกรอบ สีครีม ค่า aw =0.28 ประกอบด้วยกากทานตะวันบด 12.30% แป้งมันสำปะหลัง 61.48%  แป้งสาลีเอนกประสงค์  8.20%  ผงสาหร่าย 8.18 % และน้ำมันปาล์มโอเลอิน   9.84% อาหารว่าง ปราศจากน้ำ 100 กรัม ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 73.62  กรัม ไขมัน 13.55 กรัม โปรตีน 6.31  กรัม เส้นใยอาหาร 3.70  กรัม  และเถ้า  2.82  กรัม  ได้รับความชอบจากผู้ชิมปานกลาง  และเก็บได้เพียง 1 เดือน ในถุง OPP/MCPP เนื่องจากมีกลิ่นหืน

ผสมกากทานตะวันบด แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาลีให้เข้ากัน เติมน้ำเดือด ผสมให้เข้ากัน
2
ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วคลึงเป็นแท่งยาวกลม }

2

ห่อด้วยใบตอง
2
นึ่งในลังถึงที่มีน้ำเดือด 45 นาที
2

หั่นชิ้นบางๆ
2

อบแห้งในตู้อบลมร้อน อุณหภูมิ 65 °C   จนมีค่า ความชื้นต่ำกว่า 10 %  ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
2

เข้าเครื่อง วิลเลจเทคเจอร์ไรเซอร์ อุณหภูมิ 160°C, 6 psi และ 6 วินาที/ 1 ชิ้น

 8

ผสมน้ำมันปาล์ม และกลิ่นรส
8

อาหารว่าง  บรรจุถุง OPP/MCPP ถุงละ 50 กรัม

ภาพที่ 1  การทำอาหารว่าง

ข้อเสนอแนะ
              การทำอาหารว่าง ควรต้องบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการหืนได้ดี  เช่นอลูมิเนียมฟอยล์ ขวดแก้ว หรือถุงที่อัดแก๊สไนโตรเจนได้

  
คณะผู้วิจัย :
ช่อลัดดา เที่ยงพุก อุไร เผ่าสังข์ทอง  และ กฤษณะ เต็มตระกูล
หน่วยงาน :
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.  0-2942-8629-35  ต่อ 613 หรือ 614