โครงการวิจัยที่ 6  อิทธิพลความหนาที่มีต่อความแข็งแรงของรอยเชื่อมประสาน
ในชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกคอมโพสิตที่ผ่านกระบวนการฉีดขึ้นรูป
       

            ในปัจจุบันกระบวนการฉีดขึ้นรูปชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกคอมโพสิตมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากสามารถทำการผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนและให้อัตราการผลิตที่สูง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปชิ้นงานจากวัสดุเทอร์โมพลาสติกคอมโพสิตยังคงมีปัญหาอีกหลายประการที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ หนึ่งในปัญหาดังกล่าวคือ การเกิดรอยเชื่อมประสานขึ้นภายในชิ้นงาน ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติเชิงกลของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นงานที่ผลิตจากวัสดุเทอร์โมพลาสติกที่ผสมเส้นใยเสริมแรง งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคโนโลยี CAD CAE และ CAM ในการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ฉีดที่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งของการเกิดรอยเชื่อมประสาน (Weldline Position) และความหนา (Wall Thickness) ตลอดจนลักษณะของทางเข้า (Gate) เพื่อใช้ในการศึกษาอิทธิพลของความหนาที่มีต่อความแข็งแรงของรอยเชื่อมประสานในชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกที่ผสมเส้นใยแก้วแบบสั้น ที่ผ่านกระบวนการฉีดขึ้นรูป ดังแสดงในรูปที่ 5 (ก) และ 5 (ข) นอกจากนี้ผลการทดสอบที่ได้ยังนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับชิ้นงานที่ไม่มีรอยเชื่อมประสาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและ

รูปที่ 5 (ก) แม่พิมพ์ที่ได้ออกแบบและจัดสร้างขึ้น และ (ข) ภาพวาดชิ้นงานที่ได้จากการฉีดขึ้นรูปโดยแม่พิมพ์ที่ได้ออกแบบ

 

  
คณะผู้วิจัย :
สมเจตน์ พัชรพันธ์ และคณะ
หน่วยงาน : 
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.   02-942-8555 ต่อ 2102-2104