โครงการวิจัยที่ 3  การพัฒนาวัสดุประกอบอะลูมินาและยาง
       

          วัสดุประกอบระหว่างอะลูมินาและยางธรรมชาติชนิด XL ละลายลงในสารทำละลายชนิดเฮกเซนเพื่อให้โครงสร้างมีลักษณะที่เรียกว่า Swelling แล้วทำการเติมอะลูมินาลงไปเพื่อเสริมแรงคล้ายกับการเติม Dispersed phase (Alumina) ลงใน Matrix (Natural Rubber, XL) มาทำการศึกษาและเปรียบเทียบผลการวิจัยเรื่องการดูดซับแรง (Stress Modulus และ Storage Modulus) ลักษณะทางโครงสร้างและสมบัติทางด้านฉนวนไฟฟ้าพบว่างานวิจัยที่ได้สามารถเพิ่มสมบัติการรับแรงกระทำภายนอกได้ดีทั้งขณะที่มีและไม่มีกระแสไฟฟ้าสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่ได้เติมอลูมินาถึงสองเท่า ประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับคือการนำไปผลิตเป็นวัสดุทดแทนทางการแพทย์ ได้แก่วัสดุทดแทนกรณีอวัยวะบางส่วนถูกตัดหายไปเนื่องจากโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งเต้านม ก็สามารถใช้วัสดุชนิดนี้ทดแทนซิลิโคนซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ได้ วัสดุรับแรงบริเวณรอยต่อของแขน ขาเทียม เพื่อความยืดหยุ่นและลดการกดทับกับกล้ามเนื้อที่ต้องสัมผัสกับแขนและขาเทียม แต่เนื่องจากข้อจำกัดบางประการในเรื่องความปลอดภัย จึงต้องการพัฒนาการถูกนำไปใช้งานสำหรับวัสดุวิศวกรรมด้านอื่นๆในเบื้องต้นก่อน เช่น กล้ามเนื้อเทียมของหุ่นยนต์  วัสดุประกอบในชิ้นส่วนที่ต้องการทนการขัดสี  รับแรงกระแทกสูง ทนความร้อนและอุณหภูมิ เช่น อุปกรณ์นิรภัยของยานยนต์ เบรค คลัช วัสดุรับแรงสั่นสะเทือน กรณี Shock Wave เช่นการใช้งานของโครงสร้างอาคารบริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง แผ่นดินไหว สึนามิ และอื่นๆ ดังมีรูปภาพประกอบ

รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้งานของวัสดุประกอบอะลูมินาและยางในเบื้องต้น

 

  
คณะผู้วิจัย :
นุชนภา ตั้งบริบูรณ์ และคณะ
หน่วยงาน :
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร.   02-942-8555 ต่อ 2102-2104