โครงการวิจัยที่ 3  การเตรียมวัสดุประกอบจากพลาสติกชีวภาพและกากมันสำปะหลัง

       

             พอลิแลกติกแอซิด เป็นพลาสติกชีวภาพที่ผลิตได้จากการแปรรูปวัตถุดิบทางเกษตรกรรมที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก สมบัติเชิงกลของพอลิแลกติกแอซิด ใกล้เคียงกับพลาสติกใช้งานทั่วไปที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น พอลิโพรพิลีน หรือ พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาพลาสติกชีวภาพชนิดนี้เพื่อใช้งานแทนที่พลาสติกใช้งานทั่วไปที่ผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หากแต่  พอลิแลกติกแอซิดยังมีราคาแพง การใส่สารตัวเติมที่ช่วยเพิ่มสมบัติเชิงกล สามารถย่อยสลายได้ และมีราคาถูกจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตแป้งมันสำปะหลังมากที่สุดของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกแป้งมันสำปะหลังเพื่อขายในตลาดต่างประเทศมากที่สุดจึงมีปริมาณกากมันสำปะหลังที่เหลือจากการผลิตในปริมาณมากซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือนำไปเจือปนผสมกับมันเส้นบดหรือมันอัดเม็ดซึ่งมีมูลค่าไม่สูงนัก หากสามารถนำกากมันสำปะหลังที่ได้ไปผ่านกระบวนการแปรรูปโดยใช้ผสมกับพลาสติกชีวภาพจะช่วยเพิ่มมูลค่าของกากมันสำปะหลังได้อีกทางหนึ่ง


  
คณะผู้วิจัย :
อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล และคณะ
หน่วยงาน :
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-942-8555 ต่อ 2102-2104