กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) ถือได้ว่าเป็นสัตว์น้ำชนิดที่มีความสำคัญมากต่อการส่งออกของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการเลี้ยงแบบพัฒนาได้ทำให้เกิดผลกระทบในแง่ลบหลายอย่าง เช่น ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเกิดปรากฎการณ์แพลงค์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำ (Eutrophication) การระบาดของโรคทั้งที่เกิดจากแบคทีเรีย และไวรัส ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาเรื่องอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งที่ลดลง เป็นต้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างระบบการเลี้ยงกุ้งทะเลร่วมกับการเลี้ยงสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยและดำเนินการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบร่วมกับพืชน้ำหรือสาหร่ายหลายชนิดแล้วก็ตาม แต่ระบบเหล่านี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาส่วนสำคัญต่าง ๆ เพื่อทำให้ง่ายต่อการทำงานของเกษตรกรและสามารถใช้ได้กับสภาพการเลี้ยงจริง ทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงที่มีพื้นที่ฟาร์มขนาดเล็กนั้นถือเป็นกลุ่มหลักในการสร้างผลผลิตของกุ้งในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียใต้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและเทคนิคการเลี้ยงกุ้งกุลาดำต่าง ๆ ร่วมกับการเลี้ยงสาหร่ายอย่างเร่งด่วน เพื่อให้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำของไทย สามารถฟื้นฟูกลับมาเป็นกิจกรรมที่พัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
จากผลของการศึกษาในครั้งนี้ เบื้องต้นพบว่า
- สาหร่ายทะเลหลายชนิดที่ใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล สามารถลดปริมาณไนโตรเจนในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ดีตลอดการเลี้ยง ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
- นอกจากอาหารสำเร็จรูปที่ให้แล้ว กุ้งกุลาดำยังสามารถกินสาหร่ายที่เจริญในบ่อเลี้ยง เป็นอาหารเสริมได้อีกด้วย
- ในบ่อที่เลี้ยงกุ้งทะเลร่วมกับสาหร่าย พบว่าในสภาพที่มีสาหร่ายเจริญเติบโตจะส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในบ่อยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- สาหร่ายในบ่อทำให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อค่อนข้างคงที่ และเป็นร่มเงาที่ดี ทำให้กุ้งไม่เครียดง่าย
- สาหร่ายบางชนิดสามารถทนความเค็มได้ในช่วงกว้าง ซึ่งสามารถปรับตัวได้อย่างดีในบ่อเลี้ยงในประเทศไทยและพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ทำให้ต้นทุนต่ำ (ตารางที่ 1) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งขนาดเล็ก
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบเลี้ยงร่วมกับสาหร่าย กับระบบการเลี้ยงโดยทั่วไปที่ไม่มีสาหร่ายในบ่อ
ชุดควบคุม |
(บ่อเครื่องเติมอากาศแบบกังหันตีน้ำ) |
บ่อสาหร่าย |
ชุดการทดลอง |
|
|
สาหร่าย |
ไม่มี |
มีสาหร่าย |
ชนิดเครื่องเติมอากาศ |
แบบกังหันตีน้ำ |
ใช้ท่อลมวางที่ก้นบ่อ |
ผลการเลี้ยงกุ้ง |
|
|
ผลผลิตรวม (กก.) |
233.2 |
251.4 |
น้ำหนักเฉลี่ย (กรัม) |
20.2 |
18.1 |
อัตรารอด (%) |
57.8 |
69.5 |
ปริมาณอาหารรวม (กก.) |
380.5 |
346.3 |
อัตราแลกเนื้อ |
1.63 |
1.38 |
ค่าใช้จ่ายและรายได้ |
|
|
ค่าไฟ (บาท) |
4,370.5 |
2,163.0 |
ค่าอาหาร (บาท) |
14,459 |
13,159 |
รายได้ (บาท) |
27,901 |
30,751 |
อัตราส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่าย |
1.48 |
2.01 |
|
คณะผู้วิจัย :
Kaoru Hamano1, Isao Tsutsui1,2, ดุสิต เอื้ออำนวย3, เสาวลักษณ์ อ่อนมิ่ง2
ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ2และ Shoji Kitamura1
หน่วยงาน :
1ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (JIRCAS), Tsukuba, Japan
2มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
3สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
โทร. 02-5792924 |