ระดับการเรียนรู้ของสุนัขแต่ละลำดับ
Learning  level of dogs group

       

          ปัจจุบันการฝึกสุนัขกำลังได้รับความนิยม ในหมู่คนรักสุนัข เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุนัขของตนให้ดีขึ้น แต่สุนัขที่ผ่านการฝึกมาแล้วใช้เวลาการเรียนรู้และทักษะการเรียนรู้ที่ต่างกัน ใช้เวลาในการเรียนรู้ต่างกัน

อุปกรณ์และวิธีการ

          ตัวอย่างสุนัข : สุนัขที่ผ่านการจัดลำดับทางสังคม จำนวน 20 ตัวซึ่งเป็นสุนัขกลุ่ม 2, 3, 4  และ 5 กลุ่มละ 5 ตัว โดยยกเว้นสุนัขกลุ่ม 1 ที่มีความก้าวร้าวสูงสุดและสุนัขกลุ่ม 6 ที่มีความขี้กลัวมากที่สุด

          สถานที่ : โดยใช้บริเวณลานฝึกสุนัขกระโดดขึ้นโต๊ะ ภายในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ โดยกำหนดจุดพร้อมวิ่ง กว้างxยาว = 1x1 เมตร ,ลานวิ่ง กว้างxยาว = 1x4 เมตรและโต๊ะทดสอบ กว้างxยาว = 1x1 เมตร สูง 0.5 เมตร

  

 

          วิธีการ: นำสุนัขที่ผ่านการจัดลำดับทางสังคม จำนวน 20 ตัวมาฝึกกระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบ วันละ 10 รอบ จำนวนไม่เกิน 7 วัน และทำการทดสอบวัดระดับการเรียนรู้ของสุนัขทุกตัวโดยการ ให้สุนัขวิ่งกระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบเองจำนวนวันละ 3 รอบ หลังจากฝึกเสร็จทุกวัน โดยยกเว้นวันแรกของการฝึก มีขั้นตอนดังนี้

การฝึกสุนัขกระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบ

  1. ผู้ฝึกสุนัขพาสุนัขไปที่จุดพร้อมวิ่ง และทำความคุ้นเคยกับสุนัข นาน 1 นาที
  2. ผู้ฝึกสุนัขยืนตรงในท่าพร้อม นาน 5 วินาทีในสายจูงสั้น ตรงจุดพร้อมวิ่ง
  3. ผู้ฝึกสุนัขพาสุนัขวิ่งไปตามลานวิ่งด้วยสายจูงสั้น
  4. เมื่อวิ่งถึงโต๊ะทดสอบออกคำสั่งว่า“โดด” พร้อมดึงสุนัขขึ้นโต๊ะทดสอบ

การทดสอบวัดระดับการเรียนรู้ของสุนัข

  1. ผู้ฝึกสุนัขพาสุนัขไปที่จุดพร้อมวิ่ง และทำความคุ้นเคยกับสุนัข นาน 1 นาที
  2. ผู้ฝึกสุนัขยืนตรงในท่าพร้อม นาน 5 วินาทีในสายจูงยาว ตรงจุดพร้อมวิ่ง
  3. ผู้ฝึกสุนัขให้สุนัขวิ่งไปตามลานวิ่งในสายจูงยาวด้วยตัวเอง
  4. เมื่อสุนัขกระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบเองในเวลาที่ไม่เกินเวลามาตรฐานการกระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบของสุนัขจำนวน 40 ตัว คือ 4.43 วินาที จะถึงว่าทดสอบผ่านในรอบนั้นๆ

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

          เมืืื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดลำดับทางสังคมของสุนัขกับระดับการเรียนรู้  โดยเลือกสุนัขที่ผ่านการจัดลำดับทางสังคม จำนวน 20 ตัวซึ่งเป็นสุนัขกลุ่ม 2, 3, 4  และ 5 กลุ่มละ 5 ตัว โดยยกเว้นสุนัขกลุ่ม 1 ที่มีความก้าวร้าวสูงสุดและสุนัขกลุ่ม 6 ที่มีความขี้กลัวมากที่สุด มาฝึกให้กระโดดขึ้นโต๊ะทดสอบเอง จำนวน 70 ครั้ง พบว่าสุนัขกลุ่ม 3 มีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด(เฉลี่ย 28 ครั้ง) ,สุนัขกลุ่ม 2 (เฉลี่ย 32 ครั้ง) ,สุนัขกลุ่ม 5 (เฉลี่ย 42.5 ครั้ง)และสุนัขกลุ่ม 4 มีการเรียนรู้น้อยที่สุด(เฉลี่ย 52 ครั้ง)  จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สุนัขกลุ่ม2 และ 3 มีระดับการเรียนรู้ดีกว่า สุนัขกลุ่ม 4 และ 5 อย่างเห็นได้ชัด จึงอาจกล่าวได้ว่าสุนัขกลุ่ม 3 ซึ่งมีนิสัย ร่าเริง  เหมาะที่จะพิจารณาเลือกมาฝึก เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ของสุนัข

 

  
คณะผู้วิจัย :
กฤติกา เข่งสมุทร1, ธนู แต้กิจพัฒนา1,  บงกช ภูสวัสดิ์รัตนา1, สุพจนา เจริญสิน2, รักษ์จินดา วัฒนาลัย2, สมัคร สุจริต2
หน่วยงาน :
1 นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
2
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์