โครงการโคเนื้อเพื่อลดผลกระทบจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี

       
             ภายหลังจากที่รัฐบาลได้มีการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 1 มกราคม  และ 1 กรกฎาคม 2548 ตามลำดับ  รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ  และได้ให้สถาบันวิจัยต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยผลกระทบที่เกิดจากการเปิดเขตการค้าเสรีต่อสินค้าการเกษตรในประเทศ   เพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวดังเสนอโครงการขอความช่วยเหลือ  โดยกองทุนฯ จะสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยให้ในกรณีที่ผู้เสนอโครงการใช้เงินกองทุนฯ  ไปดำเนินการแล้วเกิดรายได้และสามารถเลี้ยงตัวเองได้   และให้โครงการคืนเงินกองทุนฯเพื่อนำไปช่วยเหลือสินค้าเกษตรอื่นๆ ต่อไป  สำหรับโครงการใดที่เป็นโครงการพัฒนาและต้องมีการลงทุนขั้นพื้นฐานไม่ก่อให้เกิดรายได้ทางกองทุนฯ ก็จะจ่ายขาดให้กับโครงการนั้นๆ  และ โคและกระบือก็เป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่หลายสถาบันวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีเนื่องจากเกี่ยวข้องกับเกษตรกรมากกว่า 1.52 ล้านครอบครัวและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง  172,045  ล้านบาท ดังนั้นทางสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทยได้ เสนอโครงการ“โครงการโคเนื้อเพื่อลดผลกระทบจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี”  ไปที่กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ซึ่งประกอบด้วย 4  โครงการ  คือ 1)โครงการปรับโครงสร้างสินค้าเนื้อโคขุนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ  2)โครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ  3)โครงการจัดตั้งตลาดกลางโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน และ 4)โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ผ่านหน่วยงานราชการคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยเสนอโครงการไปที่เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการกองทุน ฯ เมื่อปี 2548 ซึ่งได้รับอนุมัติ ปี 2550 ด้วยงบประมาณรวมทั้งสิ้น  96,282,570 บาท ในการนี้โครงการจะต้องคืนเงินกองทุนฯ รวม 35,569,000 บาท  โดยมีรูปแบบการดำเนินงานดังนี้คือ

    • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนด้านวิชาการ จัดฝึกอบรม ส่งเสริมการผลิตโคและผลิตน้ำเชื้อ
    • สมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาโคพันธุ์ จดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ
      ตลาดกลางของสมาคมฯ ทำหน้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนโคพันธุ์ของสมาชิกในราคาที่เหมาะสม
    • สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ทำหน้าที่ส่งเสริมและจัดการด้านการตลาดโคขุน

     

    แผนผังแสดงการเชื่อมโยงโครงการแบบครบวงจร

    โครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ

    การสมัครเป็นสมาชิก
          1.  ยื่นแบบฟอร์มใบสมัครต่อเจ้าหน้าที่ของโครงการ
          2 . เจ้าหน้าที่โครงการคัดเลือกแม่โคที่จะเข้าร่วมโครงการ  โดยแม่โคจะต้องมีลักษณะตรงตามมาตรฐานความ เป็นเลิศของโคไทยผสมบราห์มัน     (เพื่อสร้างโคพันธุ์กำแพงแสน)ที่ประกาศโดยสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
          3. ชำระค่าลงทะเบียนแม่โคที่ผ่านการคัดเลือกตัวละ 100  บาท  เกษตรกรจะได้รับน้ำเชื้อชาโรเลส์พันธุ์แท้ เพื่อใช้ผสมเทียมให้แก่แม่โคดังกล่าวฟรีตัวละ  1  โด๊ส

    หน้าที่ของสมาชิก
          1.  บันทึกข้อมูลการผสมเทียม  การ ผสมเทียม    ผสมติด/ไม่ติด   แม่โคคลอดลูก   ชั่งน้ำหนักและบันทึก
    ข้อมูลลูกโคแรกเกิดถึงหย่านมตามแบบฟอร์ม โดยเจ้าหน้าที่โครงการจะประสานและติดตามข้อมูล 
          2.  เกษตรกรยินดีที่จะให้เจ้าหน้าที่โครงการคัดเลือกลูกโคเพศผู้หย่านมเพื่อนำไปทดสอบสมรรถภาพและ
    คัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์ที่ดีต่อไปในอนาคต  โดยโครงการจะรับซื้อลูกโคหย่านมของเกษตรกรที่ผ่านการ
    คัดเลือกในราคาน้ำหนัก 200 กก.แรก ราคากก.ละ 120 บาท กก.ต่อไปกก.ละ 90  บาท


    น้ำเชื้อชาโรเลส์พันธุ์แท้ที่ใช้ในโครงการ 
    ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปรับปรุงพันธุ์  โดยคัดเลือกจาก 2  แหล่ง คือ
          1.ประเทศสหรัฐอเมริกา 
    4  ตัว  ได้แก่  Skymont, Topgrade, Cedardale, Rebel และ Eaton First                     
          2.ประเทศฝรั่งเศส  6  ตัว  Indiana, Farman, Jocrisse, Marillet, Mogar และ Dicaud           


    ผลการดำเนินงาน   โครงการได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์หาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ สำรวจฟาร์มของเกษตรกรที่สนใจเพื่อคัดเลือกแม่โคกผสมบราห์มันลูพร้อมกับตรวจโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) จัดส่งน้ำเชื้อชาโรเลส์พันธุ์แท้ และติดตามผลการผสมเทียม ตั้งแต่เริ่มโครงการถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 ผลการดำเนินงานของโครงการสามารถคัดเลือกแม่โคลูกผสมบราห์มันได้แล้ว  จำนวน 7,498  ตัว จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแบบกลุ่ม  จำนวน 18 กลุ่ม  และแบบรายย่อย  จำนวน  26 ราย ในการนี้ได้จัดส่งน้ำเชื้อชาโรเลส์พันธุ์แท้ให้กับฟาร์มของเกษตรกรสมาชิกแล้ว  จำนวน 2,343  โด๊ส  ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรได้ทำการผสมเทียมในแม่โคที่ผ่านการคัดเลือก  จำนวน 702  ตัว

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
          1.  โครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ  และโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อ
    ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน   จ.นครปฐม 73140  โทรศัพท์ 034-352046-7, 034-351906 โทรสาร  034-352046-7, 034-351906 
          2.  โครงการปรับโครงสร้างสินค้าเนื้อโคขุนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ
    สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด อ.กำแพงแสน  จ.นครปฐม 73140  
    โทรศัพท์/โทรสาร 034-281683     web site : www.kubeef.com
          3. โครงการจัดตั้งตลาดกลางโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน สมาคมโคพันธุ์กำแพงแสน  เลขที่ 36 หมู่ 4 ต.ทุ่งบัว           
    อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140  โทรศัพท์/โทรสาร : 034-35147

     

  
คณะผู้วิจัย :
ปรีชา และคณะ
หน่วยงาน :
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์