จันทน์ผาในจังหวัดนครราชสีมา
Dracaera lourieri  Ganep. in Nakhonratchasima Province

         
          Dracaera lourieri  Ganep. var. Pakchong – KU.  เป็นไม้ยืนต้นขนาดความสูง  3 – 4  เมตร  ลำต้นสีน้ำตาลผิวเปลือกขรุขระต้นจันทน์ผาเป็นไม้พุ่มยืนต้นมีความสูง 3 – 4 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dracaera lourieri  Ganep. เป็นพืชอยู่ในวงศ์ AGAVACEAE  มีชื่ออื่น ๆ จันทร์แดง ลักกะจันทน์ พบในเขตอำเภอ  ปากช่องตามภูเขาที่มีหินทั่วไป แต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมธรรมชาติได้สูญหายเกือบหมดแล้วและยังจัดว่าเป็นพืชสงวนห้ามนำออกจากป่าด้วย ต้นจันทน์ผานั้น นอกจากเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามแล้ว  ยังจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรซึ่งศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ บอกเล่าว่า จันทร์แดงมีประโยชน์ทางสมุนไพรอย่างดีเลิศ “น้ำยาอุทัย” ที่ใช้ผสมน้ำรับประทานท่านใช้เปลือกจันทร์แดงที่ยืนต้นตายแห้งแล้ง ชนิดพันธุ์ที่พบในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ แบบใบกว้างบางสีเขียวสดมีขึ้นตามหน้าผาทั่วไป ส่วนต้นที่ขึ้นอยู่แถบภาคกลางไปสู่อีสาน จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา นครนายก  และปราจีนบุรี  ชนิดใบหนาแคบมีปลายเรียวเล็กสั้นซ้อนถี่สีเขียวแก่  ออกดอกเป็นช่อห้อยย้อยสีเหลือง  ซึ่งจันทน์ผาหรือจันทร์แดงที่พบเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นจันทน์ผาใบกว้างส่วนใหญ่  ส่วนจันทน์ผาใบแคบพบน้อยมาก  ซึ่งรองศาสตราจารย์ฉลองชัย  แบบประเสริฐ  นำมาปลูกในสถานีวิจัยปากช่อง  และปลูกมานานกว่า  30  ปีแล้ว

รายละเอียดของพันธุ์  จันทน์ผาใบแคบปากช่อง
          ส่วนบนของลำต้นมีลายเส้นรอบลำต้น  ใบเดี่ยวเรียงซ้อนกัน  ใบสีเขียวขนาดใบกว้าง 2.35  เซนติเมตร  ยาว  60 – 65  เซนติเมตร  ความหนาของใบ 0.1  เซนติเมตร  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งความยาวช่อดอก  89  เซนติเมตร  ดอกย่อยเรียงสลับกันไม่มีกลีบดอก  กลีบเลี้ยงมี 6 อัน  มีสีเหลืองครีม  บานวันละ 5 – 6 ดอก / ช่อย่อย  ดอกบานในตอนเช้า  หลัง 10.30 น.  กลีบเลี้ยงจะหุบโดยที่ดอกที่บานแล้วมีเส้นแดงขนาดของเส้นผ่าศูนย์บาน  1.25  เซนติเมตร  ผลกลมมีสีเขียวอมดำ  เมื่อแก่จัดเมื่อเก็บมาจะมีสีอมแดง  เมล็ดภายในมีน้ำตาลอ่อน  ขนาดของผล  0.85 – 1.25  เซนติเมตร

                - ฤดูกาลออกดอก                                เดือนเมษายน – มิถุนายน
                - การขยายพันธุ์                                   เพาะเมล็ด
                - แหล่งที่พบ                                       สถานีวิจัยปากช่อง  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา

ตารางที่ 1  การเปรียบเทียบพันธุ์จันทน์ผา  3  พันธุ์  Dracaera lourieri Ganep.

ลักษณะพันธุ์

จันทน์ผา
พันธุ์ใบแคบปากช่อง

จันทน์ผา
พันธุ์ใบกว้าง

จันทน์ผา
พันธุ์ใบเรียวแหลม

ความสูงของต้น (เมตร)

3.65

4.5-5.0

3.0

ลักษณะของลำต้น

ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม
ผิวขรุขระ

สีน้ำตาลอ่อน
ผิวเรียบ

สีน้ำตาลปนขาว

ชนิดของใบ

ใบเดี่ยว
เรียงสลับกัน

ใบเดี่ยว
เรียงสลับกัน

ใบเดี่ยว
เรียงสลับกัน

หลังใบ

หลังใบนูนเล็กน้อย

หลังใบนูนตรงกลาง

หลังใบเรียบ

สีของใบ

สีเขียว

สีเขียวเข้ม

สีเขียวเข้ม

ขนาดใบกว้าง (ซม.)

3.2

5.25

1.55

ขนาดใบยาว (ซม.)

78

128

120

ขนาดใบหนา (ซม.)

0.20

0.35

0.10

ลักษณะของการห้อยของใบ

ใบย้อยห้อยลง

ใบตั้งขึ้นห้อยลงด้านล่าง

ใบย้อยห้อยลง

ลักษณะดอก

ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

ลักษณะผล

ผลกลม สีเขียวอมดำ

ผลกลมสีเขียวอมดำ

ผลกลมสีเขียวอมดำ

 

 

 

  
คณะผู้วิจัย :
องอาจ  หาญชาญเลิศ  รักเกียรติ  ชอบเกื้อ  เรืองศักดิ์  กมขุนทด กัลยาณี  สุวิทวัส และ  ขวัญหทัย  ทนงจิตร
หน่วยงาน :
สถานีวิจัยปากช่อง  สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร  044-311796  โทรสาร  044-313797