ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตั้งอยู่ ณ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่พื้นที่และราษฎรในอำเภอบ่อเกลือและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 474 เมตรถึง 816 เมตร การพัฒนาภาคการเกษตรมีความล้าหลัง เนื่องจากราษฎรยังคงยึดระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมในรูปของไร่เลื่อนลอยและการเก็บหาของป่า(ทั้งพืชสมุนไพรและพืชอาหาร)เพื่อการยังชีพ ขาดความรู้ความเข้าใจเพื่อการผลิตทั้งในระดับการดำรงชีพและในเชิงเศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการบริโภคมีข้าวไร่ ข้าวโพด และปลูกไม้ผลบ้างจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รวมทั้งเกษตรกรมีความยากจน
|
|
|
ในการพัฒนาพื้นที่ชนบทบริเวณลุ่มน้ำน่านจำเป็นต้องส่งเสริมให้ “ คนอยู่คู่กับป่า ” ทั้งป่าปลูก เช่น “ป่าไม้ผลยืนต้น” และ “การใช้ประโยชน์จากป่าธรรมชาติอย่างสมดุล” เพื่อให้ได้อาหารและยาสำหรับการดำรงชีพ เป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่ความยั่งยืนของสภาพนิเวศเกษตร
ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2545–2550 จากสภาพความสูงและอุณหภูมิบริเวณศูนย์ภูฟ้าพัฒนา พบว่า มะม่วง, อะโวกาโด, มะคาเดเมีย และพลับ เป็นไม้ผลยืนต้นที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกได้ แต่จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสม
มะม่วงพันธุ์ปาล์มเมอร์และมหาชนก มีอัตราการเจริญเติบโตดีทั้ง 2 พันธุ์ เริ่มเข้าสู่ระยะแทงช่อดอกที่อายุ 2.5 ปีหลังปลูก เป็นพันธุ์ที่มีการติดผลดี สีผิวสวยงาม กลิ่นหอม ใช้ประโยชน์ได้ทั้งรับประทานสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้ขยายผลสู่เกษตรกรโดยจัดฝึกอบรมเรื่อง “ การผลิตมะม่วงอย่างครบวงจร” ให้ความรู้เรื่องการปลูก, ปฏิบัติดูแลรักษา, การขยายพันธุ์ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิต สำหรับอะโวกาโดพันธุ์ Peterson, มะคาเดเมีย เบอร์ H 2 และ 508 และพลับพันธุ์ซิชู (P2) เริ่มให้ผลผลิตที่อายุ 5 ปีหลังปลูก
การใช้ประโยชน์จากป่าธรรมชาติทั้งพืชอาหาร / สมุนไพร / อื่น ๆ จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชสมุนไพรพื้นเมืองจำนวน 100 ชนิด ช่วงเดือนตุลาคมและเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ได้รับการอนุรักษ์บริเวณศูนย์ภูฟ้าพัฒนา, หมู่บ้านดงผาปูนและป่าต้นน้ำของหมู่บ้านสบมาง พบว่า พืชแต่ละชนิดมีสถานภาพ(ปริมาณ)แตกต่างกัน และถูกนำมาใช้ประโยชน์ 4 ด้านคือ สมุนไพรจำนวน 59 ชนิด(ทั้งมนุษย์และสัตว์), อาหารจำนวน 39 ชนิด, ใช้ประโยชน์ด้านพิธีกรรม (ไล่ผี) จำนวน 1 ชนิด และใช้เคลือบจักสานจำนวน 1 ชนิด
พืชที่หายากมาก
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
1 |
หัวยาข้าวเย็น |
Smilax micro-china T.Koyama |
กินสดแก้กระหายน้ำ ต้มน้ำดื่ม/ดองเหล้า ช่วยเจริญอาหาร |
2 |
กวางหินแจ้ |
Desmodium sp. |
ดองเหล้า ชูกำลัง |
3 |
ส้มปึง |
- |
ลูกกินเล่น ใบอ่อนกินเป็นผัก มีรสเปรี้ยว ทำชาได้ |
4 |
ต้นยาหม่อง |
- |
รากหอม ดมแก้วิงเวียน |
5 |
แฮ่ม |
Coscinium usitatum |
แก้ปวดเมื่อย |
พืชที่หายาก
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
1 |
ฮ่อสะพายวัว |
- |
เถาดองเหล้า บำรุงกำลัง |
2 |
ว่านขาว |
Arisaema album N.E.Br. |
ผสมสมุนไพรอย่างอื่น บำรุงผิวหน้า |
3 |
เอื้องน้ำ |
- |
ตำทั้งต้นพอกแก้น้ำกัดเท้า |
พืชที่พบประปราย
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
1 |
หญ้าคอตุง |
- |
ถ่ายพยาธิตัวตืด กันปลาร้าเป็นหนอน |
2 |
หญ้าสามวัน |
Vernonia cinerea (L.) Lessing |
ขยี้หรือตำพอกแผลสด แผลแห้งภายในสามวัน |
3 |
สะอัด |
- |
เมล็ด เคี้ยวแก้เจ็บคอ เสียงแหบ |
4 |
ส้มกุ้ง |
Begonia inflata Clark |
ยอดอ่อนกินกะเกลือ |
5 |
สะข่าน ม้าขาเหล็ก |
Piper interruptum Opiz |
ยอดอ่อนกินกะน้ำพริก รากดองเหล้าบำรุงกำลัง |
6 |
ผักพาหนู |
- |
ยอดอ่อนนึ่งกินแก้ปวดเอว ปวดหลัง |
7 |
ข่าป่า ขิงดำ |
Alpinia conchigera Griff. |
ดอก ลูก เมล็ด หน่ออ่อน กินเป็นผักกับน้ำพริก |
8 |
กูดต้น |
Cyathea glabra Copel. |
ลำต้นแก่เหลือแต่ตอ สับเป็นท่อนต้มกินน้ำ แก้ไอเป็นเลือด |
9 |
กุ้งสะเด็นตัวเมีย |
- |
รากดองเหล้า บำรุงกำลัง |
10 |
เครืองูม |
- |
ทุบต้นห่อด้วยตองกล้วยตีบย่างไฟให้ร้อนประคบแก้ช้ำคอ |
11 |
มะแห่น |
- |
ต้มเครือกินแก้เจ็บคอ |
12 |
ตับโตตัวผู้ |
- |
กินแก้ตับโต |
13 |
ดอกไม้ไล่สี |
- |
รากต้มน้ำกินบำรุงกำลัง |
14 |
ฮ่อสะพายควาย |
Sphenodesme pentandra Jack |
ลำต้นดองเหล้า แก้ปวด |
15 |
มักฝัน |
- |
ดอกอ่อน ลูกอ่อน ต้มกินเป็นผัก |
16 |
บอนเข็ด |
- |
แกงกับใบส้มออบ |
17 |
ซุดตะกู |
- |
แก้ท้องร่วง ฝนกะน้ำอุ่นดื่ม |
18 |
มะข่วง |
Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston |
ใช้เมล็ดและผลเป็นเครื่องเทศ |
19 |
มันอ้อน |
Dioscorea sp. |
นึ่งหัวกินแทนข้าว ทำของหวาน |
20 |
เผือกตาแดง |
Colocasia sp. |
นึ่งกินแทนข้าว |
21 |
มันก่ำ |
Dioscorea sp. |
นึ่งกินแทนข้าว |
22 |
ไม้ค่ำ |
- |
ลำต้นสร้างบ้าน เปลือกสับใส่ลาบเนื้อ |
23 |
ว่านไฟ |
Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. |
ทุบหัวให้แหลกรักษาแผลไฟไหม้ |
24 |
ดีเอี่ยนแดง |
- |
กินสดหรือนึ่งกับน้ำพริก |
25 |
มะกิ้ง |
- |
กินเมล็ดใน |
26 |
มะขม |
- |
ทั้งต้นต้มเอาน้ำดื่ม ทำให้เจริญอาหาร |
27 |
ผักหนัง |
- |
กินใบอ่อนเป็นผัก |
28 |
ผักพาช้าง |
- |
กินใบ และดอกอ่อน |
29 |
ข่าดำขาว |
Alpinia sp. |
กินดอกอ่อน หน่อกินได้ |
30 |
เพี้ยมิ่น |
- |
กินเป็นผัก รสขม |
31 |
ผักแปม |
Eleutherococcus trifoliatus (L.) S.Y.Hu |
ใบอ่อนกินสดเป็นผัก แก้ท้องอืด |
32 |
หนามตอง |
- |
ใบกินสดหรือลวกเป็นผัก |
33 |
หอมด่วนช้าง |
- |
ใบกินกับลาบ |
34 |
เปล้า |
- |
แก่นเอาดมแก้วิงเวียน ยางใส่แผลให้แผลแห้งเร็ว |
พืชที่พบพอสมควร
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
1 |
กุ๊กหอม |
Amomum sp. |
ดอก ต้ม แกง ยอดอ่อนจิ้มน้ำพริก กินแก้ท้องอืด |
2 |
ตดหมา |
Paederia pilifera Hook.f. |
ยอดอ่อน กลั้นใจเก็บสามยอด กินแก้อืด รากต้มกินแก้อืด |
3 |
ส้มเม่า |
Antidesma acidum Retz. |
เมล็ด ใบอ่อนเคี้ยวเรื่อย ๆ หลังอาหาร แก้ปากเป็นแผล / เริม |
4 |
ขมสักด้อย |
- |
เมล็ด เคี้ยวกินแก้เจ็บท้อง ปวดท้องบิด |
5 |
ส้มม่อน |
- |
ขับพยาธิ |
6 |
เอื้องนา |
Costus speciosus (Koen.) Sm. |
ต้นกินดิบ เวลาปัสสาวะไม่ปกติ หน่อต้มจิ้มน้ำพริก |
7 |
ยาหนูต้น |
Dianella ensifolia (L.) DC. |
รากต้มน้ำดื่มแก้ปวดหลัง |
8 |
เครือน้ำนม |
- |
ยอดอ่อนรสฝาด กินแก้เจ็บคอ แก้แผลในปาก |
9 |
มักกะว่างเล็ก |
- |
ลำต้น ราก ต้มกินน้ำ ช่วยขับถ่าย |
10 |
เสือแผ้ว |
Eriosema lacopoloides |
รากดองเหล้า บำรุงกำลัง |
11 |
ส้มออบ |
Cayratia pedata (Lam.) Gagnep. |
ยอดอ่อนใส่แกงบอน ช่วยขับถ่าย |
12 |
หมากขม |
- |
เมล็ด กินแก้เจ็บคอ ช่วยเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ |
13 |
มะห้า |
Syzygium albiflorum (Duthie & Kurz) Bahadur & R.C.Guar |
ยอดอ่อนรสฝาด กินเป็นผัก |
14 |
เยี่ยวควาย |
- |
เครือดองเหล้าเป็นยาอายุวัฒนะ |
15 |
มันแกบ |
Dioscorea sp. |
หัวนึ่งกินแทนข้าว ทำอาหาร |
16 |
เครือน้ำแน่ |
Thunbergia laurifolia Lindl. |
รากแก้งูกัด เผาไฟประคบแผล ดูดพิษ ดอกแก่นึ่งกินเป็นผัก |
17 |
หัวตองเรือ |
- |
เหง้า ผสมส้มปึงทำให้ผมดกดำ |
18 |
เครืองุ้ม |
- |
แก้ตะขาบขบ ตัดเผาไฟประคบ |
19 |
ปูรูดง |
- |
ใบอ่อนใส่แกงกบ แกงปลา |
20 |
ผักเผ็ด |
Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen |
รากอุดแก้ปวดฟัน ใส่แกง |
21 |
ผักปูลู |
- |
ยอดอ่อนกินเป็นผัก ขับลม แก้ลมได้ |
22 |
มะเดื่อน้ำ |
Ficus praetermissa Corner |
ยอดกินเป็นผัก |
23 |
บอนต้น |
Colocasia sp. |
ตำต้นแหลก ๆ โปะแผลสัตว์ ฆ่าหนอนไชแผล |
24 |
ผักหนัง |
- |
ต้ม/นึ่งกินเป็นผัก |
25 |
ส้มฮ่อ |
- |
เมล็ด ใบ ยอดอ่อน กินสด |
26 |
มะแข่น |
Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston |
ใช้เมล็ดและผลเป็นเครื่องเทศ |
27 |
ขี้เหล็กป่า |
Senna garrettiana (Craib) Irwin & Barneby |
นึ่งกินกับน้ำพริก |
28 |
เครือเขาขาด |
- |
ย้อมสีไม้ให้สีดำ ใช้เคลือบจักสาน |
29 |
ดีเอี่ยน (ดีปลาเอี่ยน) |
Hydrolea zeylanica (L.) Vahl |
กินสดหรือนึ่ง กับน้ำพริก แก้เลือดลมตีบเดินไม่สะดวก |
30 |
ไหลเบื่อปลา |
Derris scandens (Roxb.) Benth. |
ใช้เบื่อปลา |
31 |
มะแหน่งเล็ก |
Amomum sp. |
ลูก เมล็ด ใช้เป็นยาขับลม |
32 |
หมากส้าน |
Dillenia sp. |
กินผลเป็นผัก |
33 |
ส้มกุ้งจืด |
- |
ใบขยี้ทาแก้พิษแมลงน้ำกัดต่อย |
34 |
จะข่านดูก |
Piper sp. |
ลำต้นใช้ดองเหล้า บำรุงกำลัง |
35 |
ฝอยลม |
- |
สูบแทนยา ขับลม ขับเลือดให้หญิงอยู่ไฟ |
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
36 |
ผักมอด |
- |
รูดใบ ขยี้กันยุง ทาที่ผิว รากแก้ปวดฟัน |
37 |
อ้อยสามสวน |
- |
รสหวาน ผสมยาบำรุงกำลัง |
38 |
ผักตีด |
- |
รสขม ใบต้มน้ำให้เด็กกินแก้ไข้ |
พืชที่พบมาก
ลำดับที่ |
ชื่อพื้นเมือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
การใช้ประโยชน์ |
1 |
ผักแบ้ง / หญ้าป่น |
- |
กินเป็นผัก ช่วยระบบขับถ่าย |
2 |
นาด (อำนาจ) |
Blumea balsamifera (L.) DC. |
ใช้น้ำคั้นจากใบเป็นส่วนผสมทำแป้งเหล้า ใช้ไล่ผี |
3 |
หญ้าเย้า |
- |
ยอดอ่อนลวกกินกับลาบหรือน้ำพริก ช่วยขับถ่ายง่าย |
4 |
สาบเสือ |
Eupatorium odoratum L. |
ห้ามเลือด อาจผสมกับหญ้าสามวันและขมิ้นพอกแผล |
5 |
กูดเครือ |
Lygodium flexuosum (L.) Sw. |
ราก ต้มน้ำดื่มรักษานิ่ว |
6 |
เปล้า |
Croton roxburghii N.P.Balakr. |
ต้นและใบสุมไฟรม ให้มดลูกเข้าอู่เร็ว |
7 |
กูดตัวผู้ |
- |
รากต้มแก้ตับโต |
8 |
หญ้าสามเหลี่ยม |
Cyperus malaccensis Lam. |
หัวทุบให้แหลก ห่อด้วยตองกล้วยตีบย่างไฟให้ร้อน ประคบแผล ดูดพิษตะขาบ |
9 |
หญ้าขี้หมู |
Ageratum conyzoides L. |
ห้ามเลือด
|
10 |
ดีปลากั้ง |
- |
ยอดนึ่งกินเป็นยาชูกำลัง แก้ปวดหลัง |
11 |
หมากป่า |
Draceana angustifolia Roxb. |
รากดองเหล้า บำรุงกำลัง |
12 |
กุ๊กช้าง |
Amomum sp. |
กินผล ลูก ขับลม |
13 |
ส้มมะพด |
Rhus javanica L. |
ผลกินเล่น |
14 |
ป่านน้ำ |
Boehmeria thailandica Yahara |
ผสมกับรำให้หมูกิน ขับพยาธิในหมู |
15 |
มันหวาย |
Dioscorea sp. |
นึ่งหัวกินแทนข้าว ทำของหวาน |
16 |
ก้านตอง (คาวตอง) |
Houttuynia cordata Thunb. |
กินยอดเป็นผักสดกับลาบ |
17 |
กูดเครือ |
Lygodium flexuosum (L.) Sw. |
กินยอดอ่อนเป็นผัก |
18 |
ฮ่อมจ๊างแดง |
Phlogacanthus curviflorus Nees |
ดอก ต้มกินกับน้ำพริก แก้ปวดหลังปวดเอว |
19 |
ตองจิ๋ง |
- |
ใบใช้ห่อข้าว หลามข้าว ต้มข้าว |
20 |
ตะไคร้น้ำ |
Cephalanthus tetrandra (Roxb.) Ridsdale & Bakh.f. |
เหง้าทุบสุมหัวเด็กแก้ไข้ |
21 |
ตำแยแมว |
- |
รากต้มอาบแก้ลมพิษในเด็ก |
พรรณไม้ที่หายากอื่น ๆ ได้แก่ เอื้องดิน (Costus globosus) ตั่งติดนก (Balanophora sp.) นอกจากนี้ยังมีพืชที่อาจนำมาพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจเป็นไม้ประดับใหม่ ๆได้ เช่นกล้วยไม้ดง (Phaius mishmensis), ว่านขาว (Arisaema sp.) และเฟิร์นข้าหลวงหลังลาย (Asplenium nidus) ที่มีลักษณะกลายพันธุ์เป็นลักษณะใบแฉก เป็นต้น ส่วนพืชที่มีการใช้ประโยชน์อยู่แล้วได้แก่ ต้นต๋าวหรือชิด(Arenga pinnata) และมะแข่น(Zanthoxylum limonella)
เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืนของสภาพนิเวศเกษตร
|
|
กล้วยไม้ดง (Phaius mishmensis) |
ว่านขาว (Arisaema sp.) |
|
|
|
ต้นต๋าวหรือชิด(Arenga pinnata) |
มะแข่น(Zanthoxylum limonella) |
|