การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรสกุลเร่วจากการผลิตระดับครัวเรือนสู่เชิงพาณิชย์
       

          ประเทศไทยมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อการส่งออก เช่น พริกไทย หมาก พลู ขิง มะขาม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่น่าจะมีการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการปลูกเชิงการค้าให้มากขึ้น เร่ว นับเป็นพืชที่มีศักยภาพชนิดหนึ่ง โดยในปี 2540 พบว่า มีการส่งเร่วเป็นสินค้าส่งออกเป็นจำนวนกว่า 200,000 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่า 30 กว่าล้านบาท ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ทั้งนี้นอกจากจะใช้เป็นสมุนไพรและเพื่อการบริโภคในระดับครัวเรือนแล้ว เร่วยังสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตไปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ด้วย เช่น น้ำมันหอมระเหย เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันพบว่า ผลผลิตของเร่วที่มีจำหน่ายเป็นสินค้าส่วนใหญ่เก็บจากป่าธรรมชาติ  แต่เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ได้ถูกทำลายลงอย่างมาก ทำให้ปริมาณเร่วในป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผลผลิตของเร่วเริ่มขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ประกอบกับการนำเร่วมาปลูกในเชิงการค้ายังมีอยู่น้อยมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเร่วให้เป็นสมุนไพรเศรษฐกิจของประเทศเพื่อการแข่งขันด้านการส่งออกต่อไป

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินงานเชิงบูรณาการทั้งด้านการพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเร่วหอมเพื่อการเพิ่มมูลค่า สำหรับผลการดำเนินวิจัยเบื้องต้นในช่วง 2 ปีแรก สามารถสรุปได้ดังนี้

  

คณะผู้วิจัย :
ณัฐวัฒน์  คลังทรัพย์1 สุรัตน์วดี จิวะจินดา2 และมณฑา วงศ์มณีโรจน์2
หน่วยงาน :
1สถานีวิจัยวนเกษตรตราด สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.เมือง จ.ตราด โทร 0-8748-7746
2ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง  สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 
โทร 034-351399