การผลิตผงเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์  Bacillus subtilis (Bs)

        

ลักษณะของเชื้อ Bs

  1.  เป็นแบคทีเรียแกรมบวก
  2.  สามารถสร้างแคปซูล(capsule) ได้
  3.  สามารถสร้างแอนโดสปอร์ (endospore) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้ดี
  4.  แหล่งที่อยู่อาศัยพบได้ทั่วไปในดิน

คุณสมบัติของเชื้อ Bs

  1. สามารถเข้าทำลายโดยตรงทั้งยังสามารถสร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด และสามารถแก่งแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลน
  2. เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่โดยปกติมักจะพบอาศัยอยู่ภายในพืชโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพืชที่อาศัยอยู่
  3. มีความสามารถในการปรับตัวและทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยน และวิกฤต โดยการสร้างสปอร์ และทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นได้ดี
  4. Bs บางสายพันธุ์มีความสามารถในการผลิตสารพวก Toxic metabolite บางชนิดที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้กระตุ้นการเกิดความต้านทานของพืชต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชที่เข้าทำลาย

ประโยชน์ของเชื้อ Bs

         ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิด ดังนี้

เชื้อรา

-Alternaria spp.                   -Phytophthora palmivora
-Fusarium spp                     -Rhizoctonia sp.
-Cercospora spp.                 -Acrocylindrium oryzae
-Erwinia spp.                      -Pyricularia oryzae
-Colletotrichum spp.

แบคทีเรีย

- Ralstonia  solanacearum                        -Xanthomonas campestris       

ขั้นตอนการผลิต

  1. เลี้ยงเชื้อ Bacillus subtilis สายพันธุ์ CH4 เป็นเวลา 4 วัน
  2. นำมาปั่นตกตะกอนด้วยเครื่อง centrifuge
  3. ละลายตะกอนด้วยน้ำนึ่งฆ่าเชื้อ
  4. ผสมเมทิลเซลลูโลส 1.25% อัตรา 1:1โดยปริมาตรและเขย่าให้เข้ากันเป็นเวลา 20 นาที
  5. นำปลายข้าวที่นึ่งฆ่าเชื้อมาผสมกับสารละลายเชื้อ อัตรา เชื้อ 1 ส่วนต่อเชื้อปลายข้าว 2 ส่วน คลุกให้เข้ากัน
  6. เทใส่ถาดและเกลี่ยให้ทั่ว
  7. นำไปอบในตู้ปลอดเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 วัน
  8. นำผงเชื้อที่แห้งแล้วเก็บใส่ขวดหรือถุงพลาสติกและปิดให้สนิท

 

การนำไปใช้

        นำผงเชื้อ 1 กรัม เติมลงในน้ำสะอาด 1 ลิตร เขย่าให้เข้ากันและตั้งทั้งไว้เป็นเวลา 2  วัน (เขย่าเป็นบางเวลา) และนำหัวเชื้อที่ได้ไปผสมน้ำ 10 ลิตร เพื่อนำไปฉีดพ่นหรือราดต้นพืชที่ต้องการเพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช

 การเก็บรักษา
          เก็บในที่แห้งที่อุณหภูมิห้อง

  
คณะผู้วิจัย :
ไก่แก้ว  สุธรรมมาและนิพนธ์ ทวีชัย
หน่วยงาน :
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
โทร 025791026 ต่อ 1298