ผลของระยะปลูกต่อทรงพุ่มต้นแก้วเจ้าจอม
Effect of Planting Spaces on Budh’s Shape of Lignum Vitae

       
          ระยะปลูก หมายถึงการปลูกพืชโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างระยะปลูกกับทรงต้น  ซึ่งระยะปลูก คือระยะห่างระหว่างต้น และระยะห่างระหว่างแถว  ส่วนทรงต้น คือโครงสร้างของพุ่มต้น (Framework)  (ระวี,2546) Sansavini  and  Mussacchi (2002) กล่าวว่า ระบบรูปทรงต้นของพืชเป็นส่วนสำคัญมากที่ต้องพิจารณาในการออกแบบสวน  ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่ใช้กำหนดระยะปลูก  ความหนาแน่นของจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูก  ดังนั้นการที่ต้นไม้มีรูปทรงต้นเล็กก็จะส่งผลให้ระยะปลูกแคบลงทำให้มีจำนวนต้นต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น (กวิศร์,2546)  Morgas and Mika (2001) พบว่า ระบบปลูก และการจัดทรงต้นมีผลต่อการเจิรญเติบโต และผลผลิต  โดยระบบทรงต้นมีผลต่อปริมาณผลผลิตต่อต้น

           ผลจากการทดลอง ปลูกต้นแก้วเจ้าจอมในสภาพโรงเรือนกระจกแบบเปิด มีอากาศถ่ายเทโดยรอบตัวอาคารและหลังคา  อุณหภูมิภายในประมาณ 35-40 องศา  ซึ่งแบ่งการปลูกออกเป็น 3 ระยะ คือ

  1. การเพาะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเพื่อการผลิตเป็นต้นกล้า  ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน
  2. การคัดแยก และย้ายต้นกล้าเมื่อต้นกล้าเจริญเติบโต แข็งแรง และมีใบจริงประมาณ  2-4  คู่ 
  3. ย้ายเปลี่ยนภาชนะสำหรับปลูกต้นกล้าที่เจริญเติบโต แข็งแรง ใหม่เมื่อต้นกล้ามีอายุ 1 ปีขึ้นไป  ซึ่งมีผลต่อระบบทรงต้น  ราก  ทรงพุ่ม

           ทั้ง 3 ระยะนั้น  ได้กำหนดระยะปลูกให้ต้นแก้วเจ้าจอม  มีการเจริญเติบโตตามอายุ  โดยเริ่มตั้งแต่การเพาะต้นกล้าจากเมล็ด  มีลำต้นแข็งแรง ไม่มีโรค แมลงรบกวน มีใบจริง 2-4 คู่  พร้อมทำการคัดแยก  ย้ายต้นกล้าปลูกลงถุงเพาะชำสีดำ ขนาด 4x6 นิ้ว ต้นต่อถุงด้วยวัสดุปลูกที่ผ่านการหมักดีแล้ว และรองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ/16-16-16  ประมาณ 3-5 เม็ด และนำต้นกล้าย้ายปลูกแล้วเสร็จวางบนโต๊ะซึ่งมีขนาดกว้าง 2 เมตรและยาว 2 เมตร กำหนดระยะปลูกห่างระหว่างต้น 15 เซ็นติเมตร และระหว่างแถว 15 เซ็นติเมตร ขณะที่ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ย 3.7 เซ็นติเมตร  เป็นระยะปลูกที่เหมาะสมที่สุดระยะต้นกล้า

           เมื่อต้นกล้าอายุ 1 ปี จึงทำการคัดแยก ย้ายต้นแก้วเจ้าจอมปลูกลงถุงเพาะชำ หรือกระถางพลาสติกสีดำขนาด 6x12 เซนติเมตร กำหนดระยะปลูกห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร และระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ขณะที่ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ย 30 เซนติเมตร และใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ประมาณ 1 ช้อนชา ต่อต้น  เป็นระยะปลูกที่เหมาะสม เพิ่มพื้นที่หน้าตัดให้ทรงต้น  ราก  ทรงพุ่ม  แผ่กิ่งก้าน ใบ  และเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของใบให้รับแสงแดดใช้ในการสังเคราะห์แสง  และน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ

           และต้นแก้วเจ้าจอมขณะมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้น ต้องทำการย้ายปลูกลงกระถางพลาสติกสีดำ หรือถุงเพาะชำสีดำขนาด 10x12 นิ้ว กำหนดวางระยะปลูกให้ห่างกันระหว่างต้น 90 เซ็นติเมตร และระหว่างแถว 90 เซนติเมตร  ขณะที่ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ย  120 เซ็นติเมตร  เป็นระยะปลูกที่เหมาะสม ทำให้ได้ทรงต้นและทรงพุ่มที่สวยงาม

           และต้นแก้วเจ้าจอมที่มีอายุ 3 ปี  ต้องทำการย้ายปลูกลงกระถางพลาสติกดำ ขนาด 40x30 เซนติเมตร กำหนดวางระยะปลูกให้ห่างกันระหว่างต้น 100-120 เซนติเมตร และระหว่างแถว 100-120 เซนติเมตร ขณะที่ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ย 150 เซนติเมตร  ด้วยวัสดุปลูกที่ผ่านการหมักที่ดีแล้ว และใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เดือนละ 2 ครั้ง  จะได้ทรงต้นเจริญเติบโตแข็งแรง  ผิวของใบเป็นสีเขียวเข้มสด เป็นมัน  ลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่มสวยงาม  สามารถน้ำไปตกแต่ง  ประดับตามอาคาร  สถานที่ตกแต่งสวน  ให้ร่มเงา

           ประโยชน์ -  เป็นไม้ประดับกระถาง ตกแต่งประดับภายในและภายนอกอาคาร
                           -  เป็นไม้พุ่มสวยเหมาะปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา  ตกแต่งสวน
                           -  เนื้อไม้เป็นไม้ที่หนักที่สุดในโลก  แก่นไม้มีลักษณะสีน้ำตาลอมเขียวถึงดำ  กระพี้มีสีเหลืออ่อน  เนื้อไม้แข็งมาก  เป็นมัน  คุณสมบัติของเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นประสานกันแน่น  และหนักมาก  ไม้ชนิดนี้จมน้ำ  ทนต่อแรงอัด  และน้ำเค็ม  จึงนิยมนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล  หรือกรอบประกับเพลาเครื่องจักรในโรงงานต่างๆ  ทำสิ่ว  และนำมากลึงทำของใช้ต่างๆ  เช่น  ทำลูกโบว์ลิ่ง  ทำรอก  เป็นต้น
                           -  ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของลำต้น  โดยเฉพาะยางจากเนื้อไม้ในธรรมชาติซึ่งยางไม้นี้มีสีน้ำตาลอมเขียว  ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดในปริมาณค่อนข้างสูง  ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรค  ได้แก่ แก่นไม้  ยางไม้ธรรมชาติ
                           - Lignans               :  furoguiacidin , guaiacin , furoguaiacin , furohtsiaoxidin
                           - Resin acids         :  guaiaretic , hydroguaiaretic , guaiacic  and  guaiaconic  aicds
                           - Miscellaneous : vanillin , terpenoids , guaiagutin , guaiasaponin

วัสดุปลูก              - สำหรับปลูกพืชก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ  ไม่ต่างกับการกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสม 
                            -วัสดุดังกล่าวประกอบด้วย 
                                    1. ดินร่วน                                          1                              ส่วน
                                    2.เปลือกมะพร้าวสับ                            1                              ส่วน
                                    3.ใบพืชตระกูลถั่ว                               1                              ส่วน
                                       (จามจุรี, ทองหลาง, กระถิน)                                                         
                                    4.มูลวัว                                             1                              ส่วน

โดยนำส่วนผสมทั้ง 4 ส่วนผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันและรดน้ำให้วัสดุปลูกมีความชื่นพอประมาณ สังเกตุโดยใช้มือกำดินผสม  ว่ามีความเบาหรือหนัก / โปร่งหรือแน่น  และที่สำคัญจะต้องไม่มีน้ำไหลออกตามซอกง่ามนิ้ว มือ  สรุปเป็นอันใช้ได้  ดังนั้นจึงทำการกองหมักไว้เป็นระยะเวลา  1-2  เดือน  ก็จะได้วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับปลูกพืชต่อไป (อุดม ,2550)

ภาพประกอบ


ต้นแก้วเจ้าจอม6        G:\DSC06158.JPG
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 27 ปี

 
ต้นกล้าเพาะด้วยเมล็ด อายุ 1-2 เดือน

G:\ถ่าย 11 มค (5).JPG   G:\ถ่าย 11 มค (28).JPG
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 3-4 เดือน ระยะปลูก 15X15 เซ็นติเมตร    ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 1 ปี ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร
G:\ถ่าย 11 มค (18).JPG
 
ถ่าย 11 มค (8)
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 2 ปี  ระยะปลูก 90X90 เซนติเมตร

 
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 3 ปี ระยะปลูก 120 เซ็นติเมตร

 

 

 

 

G:\DSC06470.JPG

  DSC06468
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 2 ปี  ระยะปลูก 90X90 เซนติเมตร

 
ต้นแก้วเจ้าจอม อายุ 2 ปี  ระยะปลูก 90X90 เซนติเมตร

G:\DSC06455.JPG  
G:\แก้วเจ้าจอม.jpg
วัสดุปลูกพืชที่ผ่านการหมักดีแล้วพร้อมใช้ปลูกพืชได้
 
 ดอกแก้วเจ้าจอมสีน้ำเงินหรือฟ้าอมม่วง


  
คณะผู้วิจัย :
อุดม  แก้วสุวรรณ์ , เนตรชนก  เกียรติ์นนทพัทธ์  , เฟื่องฟ้า จันทนิยม ,สมร  มณีเนตร , ประสงค์  สระเพิ่มพูล , ณรงค์  ทองดี
หน่วยงาน :
อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ  ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง 
สถาบันวิจัยและพัฒนา  กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  นครปฐม