ภาคตะวันตกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของทรัพยากรพืชพรรณรวมทั้งพรรณไม้หอมหลายชนิด พบว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตนี้ ข่อยด่านก็เป็นพรรณไม้หอมชนิดหนึ่งที่จะไม่ค่อยพบเห็นกัน แม้แต่ในแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ในพื้นที่ภาคตะวันตกเองก็ตาม
ข่อยด่านมีชื่อท้องถิ่นว่า พุดป่า พุดผา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia collinsac Craib. อยู่ในวงศ์ RUBIACEAEและมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขามากและตั้งฉากกับลำต้น ไม่มีรูปที่แน่นอน พบตามซอกหิน ใบสีเขียวเข้มเป็นมันเงา เปลือกต้นสีขาวนวลคล้ายต้นข่อย ดอกสีขาวคล้ายดอกพุดกลีบชั้นเดียว ดอกส่งกลิ่นหอมอ่อนๆตลอดวัน ผลทรงกลมสีเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 1-1.5 ซม. เนื้อไม้ละเอียด สีขาวนวล
ในสภาพธรรมชาติ พบว่า ข่อยด่านเป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าพรรณไม้หอมชนิดอื่นๆที่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชโดยทั่วไป เช่น อากาศร้อน แห้งแล้ง สภาพดินที่มีธาตุอาหารต่ำได้ดีมากชนิดหนึ่ง
ข่อยด่าน ขยายพันธุ์โดยเมล็ดแต่พบต้นขนาดเล็กน้อยมาก ในอนาคตมีแนวโน้มว่าข่อยด่านจะลดจำนวนอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติทำได้น้อย การเจริญเติบโตช้าอันเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและที่สำคัญคือในสภาพปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า เช่น การขุดตอขนาดเล็กเพื่อขายให้กับกลุ่มที่นำเอาไปทำบอนไซ ไม้ดัด ไม้แคระ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ข่อยด่านไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ การตัดต้นข่อยด่านขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของกลุ่มคนในท้องถิ่นกำเนิดของข่อยด่านก็เป็นการทำลายข่อยด่านให้ลดจำนวนลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์วิธีหนึ่งด้วย ผู้ศึกษาจึงได้ทำการทดลองขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งตอนกิ่งในสภาพป่าธรรมชาติพบว่าสามารถออกรากและเจริญเติบโตได้ดีภายหลังปลูกมีการเจริญเติบโตเร็วมากสูงได้ถึง 3 เมตร ภายในเวลา 2 ปี (ที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติฯ) ในสภาพควบคุมสามารถปลูกเป็นพันธุ์ไม้เพื่อใช้ในหลายจุดประสงค์ เช่น เพื่อเป็นบอนไซหรือไม้แคระ ไม้ดัด หรือไม้ดอกหอม ปลูกประดับสวนและสนามได้ดี
ข้อแนะนำในการปลูก หากต้องการรูปทรงที่สวยงามควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มให้มีรูปทรงที่เราต้องการเป็นประจำ ปัจจุบันมีการขุดล้อมออกจากป่ามาจำหน่ายบ้างแล้ว คงต้องใช้ดุลพินิจในการชื้อเพราะว่าเป็นการสนับสนุนให้มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ หากมีความต้องการที่จะปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ ควรเลือกข่อยด่านที่ขยายพันธุ์โดยการตอนจะเจริญเติบโตเร็วและแข็งแรงกว่าต้นที่ได้จากการขุดล้อมและที่สำคัญคือเป็นแนวทางหนึ่งที่เราสามารถช่วยกันชลอหรือยับยังการทำลายพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ได้ทางหนึ่งด้วย
ข้อมูลอื่นๆที่ควรทราบ มีการศึกษาวิจัยทางเคมี โดย ผศ.ประภาพร ชนยุทธ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พบว่า ส่วนใบและกิ่งของต้น พบสารจำพวกไซโคลอาร์เทนไตรเทอร์พีนที่เป็นที่รู้จัก 2 ตัวและได้มีการนำเอาสารประกอบทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิด Oxidation พบว่าสารประกอบ แสดงผลการด้านการเกิดออกซิเดชั่นที่ค่าความเข้มข้น 50 ppm และ 500 ppm ที่ราก ต้มดื่มถอนพิษเบื่อเห็ดเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง ออกซิเดชั่นที่ค่าความเข้มข้น 50 ppm และ 500 ppm ที่ราก ต้มดื่มถอนพิษเบื่อเห็ดเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง |