ทำการเก็บตัวอย่างโรคราสนิมบนใบพืช ชบา ทานตะวัน พิกุล ลั่นทม และนางแย้ม นำไปบันทึกข้อมูลด้วยกล้องดิจิตอลและเครื่องสแกนเนอร์แล้วถ่ายภาพเชื้อจากสไลด์เชื้อราสาเหตุด้วยกล้องดิจิตอลที่ติดตั้ง microscope adapter นำข้อมูลภาพลักษณะอาการโรคและเชื้อสาเหตุไปประกอบข้อมูลอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรม Microsoft word จัดหน้ากระดาษขนาด A4 ให้ข้อมูลภาพลักษณะอาการของโรค และภาพลักษณะสำคัญของเชื้อโรคประกอบด้วยด้วยข้อมูลอื่นๆของตัวอย่างโรคและแนะแนวทางในการป้องกันกำจัดโรค ประโยชน์ที่ได้รับ นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาด้านโรคพืช เช่นวิชาการวินิจฉัยโรคพืช ข้อมูลที่ได้ใช้เผยแพร่ให้เกษตรกรและนักวิชาการเกษตรได้เรียนรู้ชนิดของโรค เพื่อการควบคุมโรคพืชได้ง่ายขึ้น
ผลการวิจัยตรวจพบเชื้อราสนิมและส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อ ดังนี้
- โรคราสนิมชบา : Puccinia sp พบระยะ uredinium, urediniospore และราปฏิปักษ์ Darluca sp.
- โรคราสนิมทานตะวัน : Puccinia helianthพบระยะ uredinium และ urediniospore
- โรคราสนิมพิกุล : Maravalia mimusops พบระยะ uredinium และ urediniospore
- โรคราสนิมลั่นทม : Coleosporium plumeriae. พบระยะ uredinium และ urediniospore
- โรคราสนิมนางแย้ม : Endophyllum superficiale (Coleosporium clerodendri) พบ ระยะ uredinium และ urediniospore
ข้อมูลของโรคราสนิมทั้ง 5 ชนิดเมื่อรวบรวมในกระดาษขนาด A4 ดังภาพแสดง
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ชบา (Shoe Flower) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis L.
- คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) กลุ่ม pycnidium ของ เชื้อรา Daluca filum ที่เข้าทำลาย ราสนิม 5) กลุ่มของสปอร์ (urediniospore)
- ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
- เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Puccinia sp.
- ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล โรคราสนิมบางชนิดมักถูกทำลายอย่างรุนแรงโดยศัตรูธรรมชาติ เป็นเชื้อรา ชื่อ Darluca filum ทำลายสปอร์ระยะ urediniospore ทำให้ชะงักการสร้างสปอร์ จึงเป็นการควบคุมทางชีววิธีทางธรรมชาติอีกวิธีหนึ่ง
- สถานที่พบ : จังหวัดกรุงเทพมหานคร วันที่ : 2 สิงหาคม 2549
- วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
- เอกสารอ้างอิง : -
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ทานตะวัน (Sun Flower) ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus
- คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) และ 5) กลุ่มของสปอร์ (urediospore)
- ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
- เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Puccinia helianthi
- ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
- สถานที่พบ : จังหวัดนครราชสีมา วันที่ : 15 กันยายน 2550
- วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น triadimefon เป็นต้น
- เอกสารอ้างอิง : Hirutsuka, N., S. Sato, M. Kakishima, S. Kaneko, T. Sato, and T. Hirutsuka. 1992. The Rust Flora of Japan.
Tsukuba Shuppankai Press. Japan. 1206 p.
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช พิกุล (Bullet wood) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi Linn.
- คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) และ 5) กลุ่มของสปอร์ (urediospore)
- ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาล
- เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Maravalia mimusops
- ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
- สถานที่พบ : จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ : 5 มกราคม 2550
- วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
- เอกสารอ้างอิง : Thaung, M.M. 2005. Rusts, smuts and their allies in Burma. Australasian Mycologist 24(2): 29-45
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ลั่นทม (Temple tree) ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumerica acuminate
- คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยาย uedinium 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4)-5) กลุ่มของสปอร์ (urediniospore) 6) ภาพขยาย urediniospore
- ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆกระจัดกระจายบนใบ ด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนสีสนิมทำให้ใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
- เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Coleosporium plumeriae.
- ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ovaid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
- สถานที่พบ : กรุงเทพมหานคร วันที่ : 21 สิงหาคม 2549
- วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น triadimefon เป็นต้น
- เอกสารอ้างอิง : To-anan, C., N. Visarahanonth, J. Engkhaninun, and M. Kakishima. 2004. First Report of plumeria rust, caused by
Coleosporium plumeriae in Thailand. Nat. Hist. J. Chulalongkorn Univ. 4(1) : 41-46.
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช นางแย้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum chinensis
- คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3),4) และ 5) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 6) สปอร์ (urediospore)
- ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆจุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
- เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Endophyllum superficiale (Coleosporium clerodendri)
- ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
- สถานที่พบ : จังหวัดกรุงเทพมหานคร วันที่ : 9 ตุลาคม 2549
- วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
- เอกสารอ้างอิง : พัฒนา สนธิรัตน, ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน, ธนวัฒน์ กำแหงฤทธิรงค์, วิรัช ชูบำรุง และอุบล คือประโคน. 2537.
ดรรชนีโรคพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานวิทยาไมโค. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 285 น.
|