เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำแรงดันสูงขนาดเล็ก
ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น (รางวัลชมเชย) ประจำปี  2551
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

 

1




ที่มาของการประดิษฐ์

              เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กโดยทั่วไป และเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นก่อนหน้านั้น เป็นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยชนิดเบ็ดเสร็จในถังเดียว  โดยมีวิธีการใช้งาน คือใส่น้ำและวัตถุดิบที่จะทำสกัดน้ำมันหอมระเหยลงไปในถังกลั่น (Retort tank) ถังเดียวกันแล้วทำการต้มให้น้ำในถังเดือดจนกลายเป็นไอผ่านวัตถุดิบที่อยู่ด้านบน ซึ่งความร้อนจากไอน้ำจะช่วยให้น้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในวัตถุดิบระเหยกลายเป็นไอออกมาพร้อมกับไอน้ำก่อนผ่านเข้าสู่ตัวควบแน่น (Condenser) ซึ่งวิธีการแบบนี้วัตถุดิบจะถูกต้มไปพร้อมกับน้ำและมีโอกาสที่วัตถุดิบจะถูกเผาไหม้ด้วยระบบทำควบร้อน (Heater) ที่ส่งความร้อนผ่านถังกลั่นโดยตรง ซึ่งทำให้ผลผลิตน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีสีและกลิ่นที่ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติได้ นอกจากนี้การที่วัตถุดิบที่ถูกต้มในถังทำให้เกิดตะกอนที่ถูกเผาไหม้จนเกิดเป็นตะกรันเกาะอยู่ภายในถังทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และทำให้ประสิทธิภาพของระบบทำความร้อนลดลง ในการประดิษฐ์นี้ได้แยกส่วนของถังผลิตไอน้ำ (Steam generator) ออกจากถังกลั่นที่บรรจุวัตถุดิบ เพื่อลดปัญหาการถูกเผาไหม้ของวัตถุดิบ ทำให้ได้ผลผลิตน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดีขึ้น และลดปัญหาน้ำในถังผลิตไอน้ำแห้งโดยเพิ่มระบบเติมน้ำอัตโนมัติในถังผลิตไอน้ำ (Steam generator) ทำให้สามารถทำการกลั่นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานได้โดยไม่ต้องหยุดการกลั่นเพื่อเติมน้ำ

คุณสมบัติและลักษณะเด่น

              เป็นระบบการกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation) ที่สมบูรณ์  ต่างจากเครื่องกลั่นอื่นๆ ที่เป็นระบบการกลั่นด้วยน้ำ (Hydro Distillation) ใช้งานง่ายและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีขนาดความจุไม่ใหญ่มากสามารถกลั่นวัตถุดิบที่ในปริมาณไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ทำให้สามารถกลั่นวัตถุดิบที่สดได้ทันเวลา  ได้ผลผลิตน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดี  การมีระบบเติมน้ำอัตโนมัติทำให้สามารถกลั่นติดต่อกันเป็นเวลานานโดยที่ไม่ต้องเปิดถังกลั่นเพื่อเติมน้ำซึ่งจะทำให้สูญเสียความดันและความร้อนในถังกลั่น นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้มีถังเก็บและแยกน้ำมัน (Oil collecter and separater) ที่ใช้เทคโนโลยีการแยกน้ำมันออกจากน้ำด้วยแผ่นฟิล์มที่มีคุณสมบัติเฉพาะทำให้สามารถแยกน้ำมันออกจากน้ำได้อย่างต่อเนื่อง

วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น

              ประกอบจากชิ้นส่วนที่ทำขึ้นจากเหล็กปลอดสนิม (Stainless Steel No. 304) มากกว่า 95%

ประโยชน์ที่ได้รับ

              ขั้นตอนในการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่สะดวกขึ้นทำให้เกิดความตื่นตัวในการทำธุรกิจการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชในท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งในปัจจุบันมีธุรกิจในกลุ่มของผู้ผลิตเครื่องหอม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง และธุรกิจสปาที่มีความต้องการใช้วัตถุดิบน้ำมันหอมระเหยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศเนื่องจากวัตถุดิบในประเทศมีไม่เพียงพอ และมีชนิดเภทของวัตถุดิบจำพวกน้ำมันหอมระเหยให้เลือกใช้ในจำนวนจำกัด นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่นใบ และ เปลือกของผลของพืชบางชนิด สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

การนำผลงานไปใช้ประโยชน์

              กลุ่มที่สามารถนำผลงานนี้ไปใช้ประโยชน์ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหอมและสมุนไพรขนาดเล็ก (SME หรือ SML), กลุ่มเกษตรกรหรือแม่บ้านเกษตรกร อุตสาหกรรมไม้กฤษณา (การสกัดน้ำมันกฤษณา) ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยรุ่นแรก 1 ให้กับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะใช้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง

2 3
 

 

สุรัตน์วดี จิวะจินดา และ เกียรติทรัพย์  ถิรวิศิษฏ์
หน่วยงาน  ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง 
สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทรศัพท์  0.3435-1399  ต่อ 412
บริษัทคอมเทค จำกัด  โทร 08-7111-4675