รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2550


กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รางวัลดีเด่น
ระดับปริญญาโท
นางสาวสมจิต  อ่ำอินทร์  
สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  

ชื่อวิทยานิพนธ์ความหลากหลายของยีสต์ในน้ำจากป่าชายเลนในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง 
สถานที่ทำงานปัจจุบัน: ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
ตำแหน่ง: ผู้ช่วยนักวิจัย 2

คณะกรรมการที่ปรึกษา:
                1. รศ.ดร.สาวิตรี  ลิ่มทอง                      อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
                2. รศ.ดร.ปุณฑริกา  หะริณสุต                อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
                3. ดร.วิเชียร  ยงมานิตชัย                      อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

ผลงานตีพิมพ์:   

  • Am-In, S., W. Yongmanitchai and S. Limtong. 2008. Kluyveromyces siamensis sp.nov., an ascomycetous yeast isolated from water in a mangrove forest in Ranong Province, Thailand. FEMS Yeast Res 2008(8): 823-828.
    Impact Factor = 2.812  

บทคัดย่อ:

           การศึกษาความหลากหลายของยีสต์ในน้ำจากป่าชายเลนของสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง โดยการแยกยีสต์ด้วยวิธีการกรองผ่านเมมเบรน และจัดจำแนกยีสต์โดยอาศัยอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ 26S rDNA พบว่ายีสต์ที่แยกจากตัวอย่างน้ำที่เก็บเมื่อปี พ.ศ. 2541-2542 จำนวน 56 สายพันธุ์ เป็นสปีชีส์ที่มีการอธิบายแล้วในไฟลัม Ascomycota 17 สปีชีส์ คือ Candida berthetii, C. boidinii, C. glabrata, C. pseudolambica, C. rugosa, C. silvae, C. thaimueangensis, C. tropicalis, Debaryomyces nepalensis, Issatchenkia occidentalis, I. orientalis, I. siamensis, Kodamaea ohmeri, Pichia caribbica, P. sporocuriosa, Torulaspora maleeae และ Williopsis saturnus ในไฟลัม Basidiomycota 4 สปีชีส์ คือ Trichosporon asahii, T. coremiiforme, T. japonicum และ Rhodotorula mucilaginosa และเหมือนกับสปีชีส์ที่ยังไม่มีการอธิบาย คือ Candida sp. NRRL Y-27127 และ Hanseniaspora sp. ST-464  ส่วนสายพันธุ์ที่แยกจากตัวอย่างน้ำที่เก็บเมื่อปี พ.ศ. 2548 จำนวน 32 สายพันธุ์ พบว่าเป็นสปีชีส์ที่มีการอธิบายแล้วในไฟลัม Ascomycota 6 สปีชีส์ คือ C. phangngensis, C. picinguabensis, C. rugosa, C. thaimueangensis, C. tropicalis และ K. ohmeri ในไฟลัม Basidiomycota 1 สปีชีส์ คือ T. asahii และเหมือนกับ สปีชีส์ที่ยังไม่มีการอธิบาย คือ Candida sp. NRRL Y-27127 และ Hanseniaspora sp. CS-2008b  สำหรับสายพันธุ์ที่แยกจากตัวอย่างน้ำที่เก็บเมื่อปี พ.ศ 2549 จำนวน 61 สายพันธุ์ พบว่าเป็นสปีชีส์ที่มีการอธิบายแล้วในไฟลัม Ascomycota 14 สปีชีส์ คือ C. butyri, C. parapsilosis, C. silvae, C. tropicalis, D. nepalensis, Galactomyces geotrichum, I. occidentalis,  I. orientalis, I. siamensis, I. terricola, K. ohmeri, P. burtonii, P. galeiformis และ P. kluyveri และเหมือนกับสปีชีส์ที่ยังไม่มีการอธิบาย คือ Candida sp. NRRL Y-27665, Hanseniaspora sp. CS-2008b, Hanseniaspora sp. ST-250 และ Hanseniaspora sp. YS DN19  จากการศึกษานี้มี 34 สายพันธุ์ จากตัวอย่างน้ำที่เก็บทั้ง 3 ช่วงเวลาที่จัดจำแนกโดยอาศัยอนุกรมวิธานโพลีฟาซิกและเสนอเป็นยีสต์สปีชีส์ใหม่ 7 สปีชีส์ ดังนี้Candida andamanensis sp. nov. (3 สายพันธุ์), Candida laemsonensis sp. nov.   (2 สายพันธุ์), Candida mangrovei sp. nov. (1 สายพันธุ์), Candida ranongensis sp. nov. (2 สายพันธุ์), Candida sanittii sp. nov. (8 สายพันธุ์), Kluyveromyces siamensis sp. nov. (7 สายพันธุ์) และ Pichia ranongensis sp. nov. (1 สายพันธุ์)  จากการศึกษานี้แสดงว่ายีสต์ที่พบในน้ำจากป่าชายเลนในพื้นที่ที่ศึกษาในช่วงเวลาต่างๆ มีความแตกต่างกันซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่น้ำมีสภาวะต่างๆ แตกต่างกัน โดยยีสต์ชนิดที่พบในตัวอย่างน้ำที่เก็บทั้ง 3 ช่วงเวลา คือ Candida tropicalis, Kodamaea ohmeri และ Candida sanittii sp. nov.