การผลิตใบมันสำปะหลังแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
1) เก็บใบมันสำปะหลัง ควรเก็บใบมันสำปะหลังจากต้นก่อน
ทำการเก็บเกี่ยวหัวมัน เนื่องจากการเก็บใบมันสำปะหลังหลังการเกี่ยว
แล้วนั้น อาจทำได้ไม่สะดวก และไม่สามารถเก็บใบมันสำปะหลังใน แปลงได้หมด
แต่ควรเก็บใบมันก่อนการขุดหัวมันไม่เกิน 12 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลัง
2) การเก็บใบมันนั้นควรเด็ดจากส่วนยอดบริเวณที่มีสีเขียว ยาวลงมาประมาณ
20 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือเด็ดเฉพาะใบกับก้าน ใบเท่านั้น ไม่ควรเก็บส่วนของลำต้นติดมาด้วย
เนื่องจากจะทำให้
ใบมันสำปะหลังที่ได้มีคุณภาพต่ำ คือโปรตีนต่ำ เยื่อใยสูง และส่วน
ก้านกับลำต้นยังทำให้แห้งได้ช้าอีกด้วย
3) เมื่อเก็บใบมันมาแล้วควร ตาก / ผึ่งแดดให้เร็วที่สุด เนื่องจากการเก็บไว้ในกระสอบหรือกองไว้
ทำให้เกิดความร้อนขึ้น ส่งผลให้ใบมันสำปะหลังมีลักษณะตายนึ่ง ใบมันสำปะหลังที่ได้
เป็นสีน้ำตาล ไม่เป็นสีเขียว ไม่น่าใช้ อีกทั้งทำให้มีการสูญเสีย
ไวตามินเอและสารสีในใบมันไปด้วย
4) นำใบมันสำปะหลังที่เก็บได้มาตาก / ผึ่งแดด ให้แห้ง โดยอาจสับเป็นชิ้น
ซึ่งจะทำให้ตากแห้งเร็วขึ้น ระหว่างการตาก ควรกลับใบมันสำปะหลังไปมาเป็นระยะ
ๆ เพื่อให้ส่วนใบและก้าน แห้งได้ทั่วถึง โดยตาก / ผึ่งแดด นาน 2
3 แดด ซึ่งใบมันแห้งที่ ได้นี้สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารโค
กระบือ ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการบดสำหรับในสัตว์กระเพาะเดี่ยวพวกสุกรและสัตว์ปีกต้องนำไปบดให้ละเอียดก่อนนำไปใช้ผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น
คุณค่าทางโภชนะของใบมันสำปะหลังแห้ง
สำหรับคุณค่าทางโภชนะของใบมันสำปะหลังจะผันแปรตามปริมาณส่วนใบกับก้าน
และลำต้นที่ติดมา ถ้ามีส่วนใบมากโปรตีนก็จะสูง โดยคุณค่าทางโภชนะของใบมันสำปะหลังแห้ง
แสดงในตารางที่ 1 แม้ว่าใบมันสำปะหลังจะมีสารพิษสำคัญ 2 ชนิด คือกรดไฮโดรไซยานิคและสารแทนนิน
แต่ในใบมันแห้งจะมีกรดไฮโดรไซยานิคเหลืออยู่ในระดับต่ำมากไม่เกิน
30 ส่วนในล้านส่วน (ppm) เช่นเดียวกับในมันเส้นที่สารพิษระเหยออกไประหว่างผึ่งแดด
จนเหลือในระดับที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับสัตว์ และกรดไฮโดรไซยานิคในระดับต่ำดังกล่าวนี้กลับช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบที่ทำให้สัตว์มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนปริมาณแทนนินที่มีอยู่ในระดับต่ำ 14.79 มิลลิกรัม/กก. ก็มีประโยชน์สามารถควบคุมพยาธิในตัวสัตว์ได้ด้วยนอกจากนี้ใบมันสำปะหลังแห้งยังสามารถใช้เป็นแหล่งของไวตามินเอ
(แคโรทีน) และสารสีแซนโทฟิลล์ให้กับสัตว์โดยมีปริมาณสูงกว่า คือประมาณ
660 มก. / กก. เทียบกับ 318 มก. / กก. ที่มีอยู่ในใบกระถิน
การใช้ใบมันสำปะหลังแห้งในสูตรอาหารสัตว์
ข้อจำกัดในการใช้ใบมันสำปะหลังคือระดับเยื่อใยหรือความฟ่าม จึงแนะนำให้ใช้ในสูตรอาหารสุกรรุ่น-ขุน
และแม่พันธุ์ในระดับไม่เกิน 10-15 เปอร์เซ็นต์ อาหารสัตว์ปีกไม่เกิน
5-7 เปอร์เซ็นต์ อาหารผสมรวม (TMR) สำหรับโค-กระบือ 10-20 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเป็นระดับที่จะไม่มีปัญหาจากสารพิษทั้งสองชนิดดังกล่าวข้างต้น

|