การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกของผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในภาค
ตะวันตกของประเทศไทย

Development of appropriate native chicken raising model for
reducing risk avian influenza infection of native chicken’s in
western region of Thailand

คำนำ
   การเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบหลังบ้านนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวชนบทไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยง คือ เพื่อเป็นอาหารและความเพลิดเพลิน ไก่ตัวใดมีลักษณะดี เหมาะแก่ตีชน ก็จะใช้เป็นไก่ชน ไม่ได้เลี้ยงเพื่อมุ่งเป็นอาชีพหรือทำรายได้อย่างจริงจัง มีวิถีการเลี้ยงแบบง่ายๆ โดยปล่อยไก่ให้คุ้ยเขี่ยหากินอาหารเองตามบริเวณรอบๆ บ้าน โปรยข้าวเปลือก ข้าวโพด ให้กินบ้าง แต่จากการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีกของประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2546 จนถึงปัจจุบัน ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศอย่างมหาศาลแล้ว ยังมีผลต่อการเลี้ยงไก่พื้นเมืองซึ่งส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของชาวชนบทเป็นอย่างมาก ชาวบ้านไม่กล้าหรือขาดความมั่นใจในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ในขณะที่ภาวะปัจจุบันรายได้ของคนในชนบทสวนทางกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าพิจารณาถึงราคาของไก่พื้นเมืองที่มีราคาดีมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงเป็นโอกาสและทางเลือกที่น่าสนใจของชาวบ้านในการที่จะเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตรแบบสมผสานได้เป็นอย่างดี การที่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประสบความสำเร็จและลดความเสี่ยงจากโรคไข้หวัดนกได้นั้น ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของรูปแบบการเลี้ยงไก่ เทคนิควิธีการเลี้ยงที่จะแนะนำต่อไปนี้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
รูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มรายได้และปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก
   รูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงจากโรคไข้หวัดนกนี้ เป็นรูปแบบที่ประยุกต์มาจากหลักการของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ที่รัฐบาลได้กำหนดเป็นมาตรการสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็นธุรกิจปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นรูปแบบ วิธีการปฏิบัติที่ง่าย เหมาะกับศักยภาพความพร้อมของผู้เลี้ยงและสภาพความเป็นอยู่ของไก่พื้นเมืองตามธรรมชาติ รูปแบบนี้ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ


1. การเลี้ยงไก่ในรูปแบบโรงเรือนกึ่งเปิด-กึ่งปิด
   รูปแบบนี้จะประกอบด้วย โรงเรือนไก่นอนและบริเวณพื้นที่หากินที่มีรั้วรอบขอบชิดเพื่อให้ไก่มีที่อยู่เป็นสัดส่วน และป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคหรือศัตรูเข้าไปรบกวนไก่


ลักษณะรูปแบบโรงเรือน
   โรงเรือนไก่นอนควรมีความกว้าง x ยาวอย่างน้อย4 x 8 เมตร ซึ่งสามารถเลี้ยงไก่ได้ 80-100 ตัว โรงเรือนปิดกั้นด้วยลวดตาข่ายหรืออวน หลังคาโรงเรือนอาจมุงด้วย จาก แฝกหรือกระเบื้อง โดยให้คำนึงถึงการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี มีประตูเข้า – ออกและอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรคหน้าโรงเรือน พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นปูนและใช้แกลบหรือฟางข้าวเป็นวัสดุรองพื้น เพื่อดูดซับความชื้น ของเสียจากไก่ และสะดวกต่อการทำความสะอาดมูลไก่ ภายในโรงเรือนทำคอนนอนสำหรับไก่นอนสูงจากพื้นประมาณ 50-70 ซม. และควรกั้นห้องเพื่อเลี้ยงลูกไก่ระยะแรกเกิดด้วย

   สำหรับบริเวณพื้นที่หากินของไก่รอบๆโรงเรือน ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 150 ตารางเมตร (พื้นที่มากยิ่งดี ขึ้นกับสภาพความเหมาะสมของพื้นที่) กั้นบริเวณพื้นที่ด้วยลวดตาข่ายหรืออวนที่มีตาถี่ มีประตูเข้า-ออก และอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่ ควรมีพื้นที่ร่มเงาเพื่อให้ไก่ได้พักอาศัยในช่วงกลางวัน

2. การปฏิบัติของผู้เลี้ยงไก่ตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพแบบประยุกต์
   การปฏิบัติของผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพแบบประยุกต์นี้ เป็นวิธีการปฏิบัติเบื้องต้นที่ไม่ยุ่งยาก ลงทุนต่ำแต่ให้ผลคุ้มค่าต่อการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่นๆ ต่อไก่ ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองควรให้ความสำคัญด้วยการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้
   • จัดให้มีรองเท้าประจำสำหรับเปลี่ยนเข้าไปในพื้นที่เลี้ยงไก่
   • ใส่รองเท้าและจุ่มในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งก่อนเข้าบริเวณเลี้ยงไก่และภายใน
โรงเรือน ไม่ควรให้อ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรคถูกแสงแดด เพราะจะทำให้น้ำยาเสื่อมประสิทธิภาพ
   • เปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือเมื่อพบว่าสกปรก
   • ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือสวมเสื้อคลุมก่อนเข้าบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่ทุกครั้ง
   • ฉีดพ่นร่างกาย แขน ขาให้ทั่ว ด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่ใส่ในกระบอก
ฉีดพ่นฝอย ( ฟอกกี้ ) ก่อนเข้าพื้นที่เลี้ยงไก่
   • ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อทั้งภายในโรงเรือนและบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใน
กรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่ใกล้เคียงควรมีการฉีดพ่นทุกวัน
   • ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงไก่เข้าไปในบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่เด็ดขาด
   • ไม่ควรเข้าบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่ทันทีหลังจากกลับมาจากข้างนอก ถ้าจำเป็นต้องเข้า
ให้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อน

3. การเลี้ยงและการจัดการดูแลไก่ที่ถูกต้องและเหมาะสม
   การเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ประสบความสำเร็จและลดความเสี่ยงจากโรคไข้หวัดนกให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากการปฏิบัติตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเพิ่มความสนใจ เอาใจใส่ต่อการเลี้ยง จัดการดูแลไก่ให้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามธรรมชาติของไก่พื้นเมืองให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร ควรให้อาหารสำเร็จรูปเสริมเพิ่มเติม ให้เศษพืชผักที่มีในท้องถิ่นเป็นอาหารเสริมแก่ไก่อย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยนน้ำสะอาดให้ไก่กินอย่างเพียงพอ /ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้น ภายในโรงเรือนเมื่อพบว่าสกปรก โดยนำไปใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ควรติดไฟแสงสว่าง เพื่อล่อแมลงให้เป็นอาหารประเภทโปรตีนสำหรับไก่ จัดหาเปลือกหอยบดหยาบใส่ภาชนะให้ไก่ได้


การที่ถูกสัตว์อื่นมากัดกินหรือทำร้ายลดลง

  1. ไก่มีสุขภาพ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่ดี
  2. ไก่มีที่อยู่เป็นสัดส่วนจึงไม่ไปรบกวน หรือสร้างความรำคาญแก่เพื่อนบ้าน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนบ้านมีความสุข สบายใจเพิ่มขึ้น
    จากคำแนะนำข้างต้น ถ้าผู้เลี้ยงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากผู้เลี้ยงจะมีรายได้เสริม
    เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย และถ้าผู้เลี้ยงปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถพัฒนามาเป็นอาชีพหลักได้
    จากคำแนะนำข้างต้น ถ้าผู้เลี้ยงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากผู้เลี้ยงจะมีรายได้เสริม
    เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย และถ้าผู้เลี้ยงปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถพัฒนามาเป็นอาชีพหลักได
 
คณะผู้วิจัย:
หัวหน้าโครงการวิจัย นางวิไลลักษณ์ ชาวอุทัย
ผู้ร่วมโครงการวิจัย นายสุชาติ สงวนพันธุ์, ผศ.นส.พ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม, นายวิรัตน์ สุมน,
นายหนูจันทร์ มาตา, นายอรรถวุฒิ พลายบุญ, นายวงษ์เดช กงศรี, นายวีระ ร่มโพธิ์ภักดิ์, นายสนามชัย หุ่นดี และนายวิทยา แกล้วเขตการ
หน่วยงาน สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ และคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปศุสัตว์อำเภออู่ทอง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพนมทวน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางเลน และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอกำแพงแสน กรมปศุสัตว์
โทรศัพท์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ เบอร์ 034-351907