ศักยภาพสมุนไพรไทยในการใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางรวมทั้งวิธีการกระตุ้นให้เกิดสารหอมในไม้กฤษณา
โดยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย
Effective Thai medicinal plants as important ingredients in cosmetic
and Aroma Resin Stimulation of Agarwood by Fungi and non toxic organic compounds.

          สมุนไพรหลายชนิดมีศักยภาพสูงในการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้แก่ ขมิ้นชัน พลู แพทชูลี และไม้กฤษณา โดยสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาสกัดได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การสกัดน้ำมันหอมระเหยออกมาหรือการสกัดด้วยตัวทำละลายอื่นๆ เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้
           ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn.
วงศ์ : Zingiberaceae
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เหง้าสดและแง่ง
การใช้ประโยชน์ : เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง เครื่องสำอาง
และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โรคผิวหนัง
แหล่งขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์สูง : ราชบุรี และกาญจนบุรี

           เปอร์เซ็นต์ผลิตผลของสารสกัดและกลุ่มสารออกฤทธิ์ที่ได้จากขมิ้นชัน
1. Turmuric oil : 3-5% สารสำคัญได้แก่ Turmerone ,Zingiberene ,Borneol และ Limonene เป็นต้น
2. สารสกัดขมิ้นชัน : สารสำคัญหลัก คือ สารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ 5-8% ( isolated yield ) และ 11-15% ( วิเคราะห์ด้วย HPLC )
3. เตตระไฮโดรเคอร์คูมินอยด์ ( THCs ) : เกิดจากการทำปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนลงไปในสารเคอร์คูมินอยด์ที่ได้จากขมิ้นชัน
       การออกฤทธิ์
• น้ำมันขมิ้นชัน : ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อรา
• สารสกัดหยาบ : ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
• เคอร์คูมินอยด์ : ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ป้องกันรังสี UV-B เป็นต้น
• เตตระไฮโดรเคอร์คูมินอยด์ ( THCs ) : ออกฤทธิ์สูงกว่าเคอร์คูมินอยด์ในการต้านการอักเสบ และยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส

                  ผลิตภัณฑ์ : สบู่ ครีมทาหน้า โลชั่นกันยุง น้ำมันไล่ยุง
      พลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle Linn.
วงศ์ : Piperaceae
ลักษณะ : เป็นไม้เถา มีรากเกาะ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ
แหล่งกำเนิด : พบทั่วไป
การออกฤทธิ์

          • สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในสารสกัดจากใบพลู : ยูจีนอล และไฮดรอกซีชาวิคอล ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย พลูแต่ละแหล่งถึงแม้จะเป็นพันธุ์เดียวกัน พบว่ามีปริมาณสาร 2 ชนิดนี้ไม่เท่ากันจึงควรจะมีการควบคุมคุณภาพ โดยการวิเคราะห์หาปริมาณสาร 2 ชนิดนี้
          ก่อนนำมาใช้ประโยชน์
การควบคุมคุณภาพ : วิเคราะห์สารยูจีนอลและไฮดรอกซีชาวิคอล ด้วยเทคนิค GC-MS
ผลิตภัณฑ์ : สบู่รักษาสิว และผลิตภัณฑ์ล้างมือที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์


        แพทชูลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin.
วงศ์ : Libiatae
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ใบ
การใช้ประโยชน์ : ใ ช้ในการบำบัดสุขภาพด้วยการใช้กลิ่น
ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไม่ทำให้เกิดการแพ้ ลดการตึงเครียด
เป็นตัว fix กลิ่นในน้ำหอม ใช้ผสมเป็นยา เป็นสุคนธบำบัด และคลายความเครียด

              เปอร์เซ็นต์ผลิตผลของสารสกัดชนิดต่างๆ
        1. น้ำมันหอมระเหยแพทชูลี ( Patchouli oil ) 2.48 %
        2. สารสกัดแพทชูลี ( Patchouli extract ) 4.97%
        การออกฤทธิ์ • น้ำมันหอมระเหยแพทชูลี และสารสกัดหยาบแพทชูลี : ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น propionibacterium acnes เป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
        • สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในสารสกัดแพทชูลี : แพทชูลี แอลกอฮอล์ ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
        ผลิตภัณฑ์ : ธูปหอม ธูปไล่ยุง สบู่ โฟมล้างหน้า



              กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna
วงศ์ : Thymelaeaceae
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้ส่วนของลำต้นและกิ่ง
การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นเครื่องสำอาง และส่วนผสมใน
เครื่องสำอาง ยารักษาโรค พิธีกรรมทางศาสนา

            สารสำคัญในสารหอมกฤษณา ตัวอย่างเช่น


         ผลิตภัณฑ์ : น้ำหอม ตัว fix กลิ่นในน้ำหอม ธูป กำยาน   

          วิธีการใหม่ในการกระตุ้นให้เกิดสารหอมในไม้กฤษณาโดยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย
ที่มาของงานวิจัย
           ไม้กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นที่มีการปลูกกันแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทยเพื่อต้องการให้ผลิตสารหอมเนื่องจากราคาของไม้หอมกฤษณาหรือน้ำหอมจากกฤษณามีราคาแพงมาก สารหอมกฤษณาหรือเรียกว่าสารกฤษณามีประโชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นน้ำหอม ใช้เป็นตัวที่ทำให้น้ำหอมติดทนนาน (fix กลิ่น) ใช้เป็นยาสมุนไพร ใช้เป็นเครื่องหอมหรือกำยานในธูปในพิธีกรรมทางศาสนา ตามธรรมชาติไม้กฤษณาที่ปลูกจะมีการผลิตสารหอมน้อยมาก ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่า หรือไม่ผลิตสารหอมเลย ไม้กฤษณาจะผลิตสารหอมเมื่อเกิดแผล ดังนั้นเกษตรกรจึงทำการเจาะรูต้นกฤษณาโดยในแต่ละต้นมีจำนวนรูมาก ประมาณ 1,000-2,000 รูต่อต้น ซึ่งอาจทำให้ไม้กฤษณาตาย และปริมาณสารหอมที่ได้ก็ยังมีปริมาณน้อย ปัญหาจากการที่ไม้กฤษณาผลิตสารหอมได้น้อยและไม่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มากนัก จึงทำให้คณะวิจัยเห็นความสำคัญและมีแนวคิดในวิธีการที่จะกระตุ้นไม้กฤษณาผลิตสารหอม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร และยังเป็นการเพิ่มมูลค่ามหาศาลให้กับต้นกฤษณา เนื่องจากราคาที่ไม้กฤษณาผลิตสารหอมทั้งต้นจะซื้อขายอยู่ในราคา 1-2 แสนบาทต่อ 1 ต้น

คณะวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และเจ้าของไร่กฤษณา ลุงสมพร-คุณครูไพจิต สิงห์คำจันทร์


                    แนวคิดในการกระตุ้นคือการใช้เชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัยใส่เข้าไปในต้นกฤษณาเพียงไม่กี่รู(ประมาณ 20-40 รูต่อต้น) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารหอม
คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประดิษฐ์วิธีการใหม่ในการกระตุ้นให้เกิดสารหอมในไม้กฤษณาโดยเชื้อรา และสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการมีดังนี้
1. ใช้สว่านเจาะเข้าไปในต้นกฤษณา
2. ใส่เชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย เข้าไปในต้นกฤษณา
3. ทำการใส่เชื้อรา และสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย เข้าไปในต้นกฤษณา ซ้ำอีก 1 ครั้งหลังจากการใส่ครั้งแรก 2-3 เดือน

ภาพที่ 1 แสดงการใช้สว่าน เจาะเข้าไปในต้นกฤษณา
ภาพที่ 2 แสดงการฉีดเชื้อราและสารอินทรีย์เข้า
ไปในรูต้นกฤษณา
ภาพที่ 3 เนื้อไม้กฤษณาจากการใส่เชื้อราและสารอินทรียเปรียบเทียบกับ์

control ที่ใส่น้ำกลั่น โดยการเจาะด้วย Increment borer
ก. เนื้อไม้กฤษณาจากการใส่น้ำกลั่น (Control)
ข. เนื้อไม้กฤษณาจากการใส่เชื้อราและสารอินทรีย์
                                                       ภาพที่ 4 เนื้อไม้กฤษณาจากการใส่เชื้อราและสารอินทรีย์ เปรียบเทียบกับ control ที่ใส่น้ำกลั่น โดยการถากด้วยสิ่ว
                 สรุปผลการทดลอง
             พบว่าไม้กฤษณาสามารถสร้างสารหอมขึ้นหลังจากใส่เชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัยภายใน 1 เดือน และเพิ่มมากขึ้น จนถึง 4-6 เดือนพบว่าในบริเวณรูที่เจาะทั้งด้านบนและล่างมีการสร้างสารหอมขึ้นเป็นบริเวณแนวระดับและแนวกว้างเป็นความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร (ภาพที่ 4) และพบว่าไม้กฤษณายังสามารถสร้างสารหอมตามธรรมชาติได้ต่อโดยไม่ต้องกระตุ้นอีก จากการสกัดสารหอมด้วยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ และวิเคราะห์องค์ประกอบสารหอมด้วยวิธี Gas Chromatography-Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่าน้ำหอมที่กลั่นได้มีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับน้ำหอมกฤษณาเกรด A ในท้องตลาด

            ผู้ใดสนใจกรรมวิธีรายละเอียดวิธีการกระตุ้นไม้กฤษณาให้เกิดสารหอม โปรดติดต่อ
รศ. ดร. งามผ่อง คงคาทิพย์ โทรศัพท์ 02-562-5444 ต่อ 2139 มือถือ 089-828-7987

             แหล่งทุนสนับสนุน
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KIRDI)
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT)
4. ศูนย์นวัฒกรรมทางเคมี : โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH-CIC)

ขมิ้นชัน
พลู
แพทชูลี
ต้นกฤษณา
คณะวิจัยไม้กฤษณา

 
คณะผู้วิจัย:
งามผ่อง คงคาทิพย์1 บุญส่ง คงคาทิพย์1 พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์2 ยุพา มงคลสุข3 อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์3
ศลิษา สุวรรณภักดิ์2 มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ3 สุพนิดา วินิจฉัย3 วุฒินันท์ คงทัด3 อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ3
พิทักษ์ เชื้อวงศ์1 นลวัฒน์ บุญญาลัย1 อริสา เคหวิวัชชรัชกุล2 ภรภัทร สำอางค์1 คมสัณห์ อิ่มพันธ์แบน1 สุริยัน สุทธิประภา1 สุธินี บุญอนันต์วงศ์1 ชัชวาล พลอยสุข1 พจมาลย์ บุญญถาวร1 นราธิป ประดิษฐ์ผล1
จันจิรา รุจิรวณิช1 ภาวิณี วิเชียรนุกูล1 สุทธิพล ระดมกิจ1 อนุชิต ภานุมาสวิวัฒน์1 ฤชุตา อาจเขียน1
1หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (NPOS)
ภาควิชา เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
2 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 02-5625444 ต่อ 2139 หรือ 089-8287987