การกระจายของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมภาคพื้นดินของประเทศไทย
โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Distribution of Radionuclides in Terrestrial Environment of Thailand by Using GIS

          การกระจายของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมภาคพื้นดินประเทศไทย ได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยการนำข้อมูลการตรวจวัดชนิดและปริมาณที่มีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมที่ตรวจวัดในระยะเวลาช่วง 6 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2545 ดำเนินการและจัดทำข้อมูลโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ การศึกษาได้นำข้อมูลมาจัดเรียบเรียงและลำดับข้อมูลใหม่ เพื่อนำมาจัดทำแผนที่แสดงการกระจายของสารกัมมันตรังสีในพื้นที่ที่ทำการศึกษา และนำผลการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี มาประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสารกัมมันตรังสีกับลักษณะเนื้อดิน โดยใช้ข้อมูลลักษณะเนื้อดินในระบบสารสนเทศ ของกรมพัฒนาที่ดิน และวิเคราะห์คุณสมบัติของดินในบริเวณที่เก็บตัวอย่าง

        ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณของสารกัมมันตรังสีที่มาจากธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมภาคพื้นดิน คือ ยูเรเนียม-238 เรเดียม-226 ทอเรียม-232 โพแทสเซียม-40 มีปริมาณอยู่ในช่วง 96.83-164.27 Bq/kg 24.73-60.42 Bq/kg 28.28-80.69 154.73-441.84 Bq/kg ตามลำดับ และปริมาณสารกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้นโดยเป็นผลผลิตจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ คือ ซีเซียม-137 มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.75-0.91 Bq/kg สำหรับระดับมาตรฐานการประเมินความปลอดภัยจากปริมาณรังสีแกมมารวม ซึ่งในการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ย 10.4 µR/hr ใกล้เคียงกับระดับค่ามาตรฐานความปลอดภัยซึ่งมีค่า 10 µR/hr

แผนที่แสดงการกระจายของรังสีแกมมาในสิ่งแวดล้อมภาคพื้นดิน

 

 
คณะผู้วิจัย:
พรรณี พักคง และ นฤมล ป้อมสา
ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 02-5625444 ต่อ1209