ทองหลาง
ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated coral tree, Variegated
Tigers Claw ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegate Linn.
จัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแถบเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และ ออสเตรเลีย ชาวสวนรู้จักคุณสมบัติของไม้ต้นนี้อย่างดี
มักปลูกไว้ริมคันสวนยกเป็นร่องเพื่อยึดดินและใช้เป็นปุ๋ย โดยเฉพาะทุกส่วนของ
ต้น ดอก ใบหนาโต ก้านหนึ่งมีใบย่อยสามใบ เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่ว
ซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดีแก่พืชทั้งหลาย จะอุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ดิน
นอกจากนี้ รากของต้นทองหลางยังมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดเก็บเอาน้ำในดินเลี้ยงลำต้นได้มากกว่าไม้ทุกชนิด
ดังนั้นการปลูกต้นทองหลางไว้หลายๆต้นจะทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ต้นไม้ใกล้เคียงอื่นๆพลอยเจริญงอกงาม
ต้นทองหลางจึงเหมาะเป็นพืชที่บำรุงดินได้เป็นเลิศสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ย
และเป็นเครื่องมือฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ดีอย่างหนึ่ง จึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติซึ่งใกล้จะถูกลืม
ลักษณะของพรรณไม้
ลำต้น
: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ
10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน
และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบ
: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง
ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ
35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น
ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู
ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ
เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน
ดอก
: เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ
ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสีแดง หรือชมพู กลีบดอกกว้างประมาณ
1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว
ผล
: เป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 15 -30 ซ.ม. เป็นข้อๆสีน้ำตาลเข้ม
โคนฝักจะลีบเล็ก ผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม
บ้างฝักยาวคอดเป็นข้อๆ สีน้ำตาลเข้ม และบ้างฝักแคบ ภายในมีเมล็ด
2-4 เมล็ด
เมล็ด
: ลักษณะรูปร่างกลม สีแสด
ออกดอก:
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์
: ด้วยเมล็ด การปักชำ และ การตอน
สภาพที่เหมาะสม:
ร้อนชื้น อบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 30 องศาเซลเซียส ปริมาณระดับน้ำทะเล
1,200 - 1,800 มิลลิเมตร มีฝนกระจายเป็นเวลาหลายเดือน และมีแสงแดดอย่างเพียงพอตลอดปี
สภาพดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ทนต่อสภาพดินเค็ม ทนแล้ง และทนน้ำท่วมได้ดี
ประโยชน์
-
ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
-
ราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นปุ๋ยอย่างดีกับพืช
ดูดซับน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้นได้มากกว่าพืชทุกชนิด
-
เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน
เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร
และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว
สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้
มีใบจำนวนมาก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบแก่ที่ร่วงหล่นจะผุผังกลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ผิวดิน
มีเนื้อไม้เป็นชนิดไม้เนื้ออ่อนผุผังได้ง่าย มีรากจำนวนมากกระจายอยู่ในระดับผิวดินและในระดับลึก
ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขังและที่พิเศษ คือสร้างรากใหม่ได้ทุกปี
รากเก่าบางส่วนจะผุผัง สลายตัวทำให้เกิดเป็นโพรงอยู่ในดินเป็นท่อระบายอากาศในดิน
และเป็นช่อง ให้พืชประธานสามารถแทงรากลงไปได้ง่าย เกษตรกรนิยมปลูกทองหลางไว้ในสวนทุเรียน
มังคุด มะไฟ ส่วนใหญ่เป็นในระบบแบบยกร่อง
-
มีคุณค่าอาหารนึกไม่ถึง คือ
ใบทองหลางอุดมด้วยโปรตีนเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว
ควาย แพะ แกะ ส่วนใบอ่อนเป็นผักยอดฮิตใช้รับประทานร่วมกับเมี่ยงคำ
ร่วมกับส้มตำมะละกอ บ้างเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นผักสดเคียงเมี่ยง
ปลาทู ปลาแหนม เป็นต้น
ใบทองหลางให้โปรตีนร้อยละ
4.6 จากการวิเคราะห์ของกองโภชนา กรมอนามัย เป็นผักที่มีกากใย
อาหารมาก อุดมด้วยวิตามินเอและสารอาหารอีกหลายตัวที่จะช่วยบำรุงร่างกาย
ดีต่อตัวและหัวใจ
หมายเหตุ ทองหลางเหมาะกับการเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ
บำรุงตา บำรุงกระดูก แก่คนทั่วไป
- ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของใบ เป็นยาขับไส้เดือน
แก้ริดสีดวง แก้ลม ดอกจะขับโลหิตระดู ผลบำรุงน้ำดี เปลือกแก้เสมหะ
แก้ลมและนิ่วให้ออก กระพี้แก้พิษฝี แก่นแก้ฝีในท้อง รากแก้พิษทั้งปวง
ส่วนแพทย์ชนบทใช้เปลือกต้มเป็นยาตัดบมทั้งปวง ใบคั่วให้เกรียมเป็นยาตัดพิษ
ใบแก่สดๆใช้รมควันได้ให้ตายนึ่งแล้วชุบน้ำสุราปิดแผล และเนื้อร้ายที่ลามบวมใกล้แตก
ใบทองหลางที่ปิดจะดูดหนองให้ไหลออกจนยุบแห้งดี น้ำคั้นจากใยทองหลาง
ใช้หยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะดับพิษได้ด้วย เป็นต้น
ข้อมูลการวิจัย
สารเคมีที่พบ : agglutinin, butyric
acid, y-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine,
erythratine, y-acetyl-ornithine
ลักษณะต้น
|