 |
|
การลดต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางโดยการใช้ปุ๋ย
อย่างมีประสิทธิภาพ
Cost reduction of rice production for irrigated rice in the Central
Plain
|
|
สภาพของปัญหา
- ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าว 57 ล้านไร่ ร้อยละ
80 หรือ 45.5 ล้านไร่ อยู่ในเขตน้ำฝน ส่วนอีก 11.5 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน
ซึ่งใช้ทำนาปรัง 9 ล้านไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2547) ได้ผลผลิตข้าวเปลือกรวม
29.6 ล้านตัน และส่งออกในรูปข้าวสาร 7.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า
97,539 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2549)
- ในปี 2548 ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมี 3.3 ล้านตัน
คิดเป็นมูลค่า 33,276 ล้านบาท ประมาณ 60% ใช้ในการปลูกข้าว โดยกรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
ดังนี้ พันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ถ้าดินมีอินทรียวัตถุ <1 - >2%
ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 6 - 18 กก.N/ไร่ ถ้าดินมีฟอสฟอรัสที่สกัดได้
<5 - >10 ส่วนในล้านส่วน ให้ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส 0 - 6 กก.P2O5/ไร่
และถ้าดินมีโพแทสเซียมที่สกัดได้ <60 - >80 ส่วนในล้านส่วน
ให้ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม 0 - 6 กก.K2O/ไร่
- ในเขตชลประทานภาคกลาง ดินนาส่วนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
แต่ชาวนายังคงใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 18 กก.N/ไร่ และปุ๋ยฟอสฟอรัส 10
กก.P2O5/ไร่ ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นการใส่ปุ๋ยเคมีให้แก่ข้าวเกินความจำเป็น
โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งนอกจากสูญเสียเงินแล้ว ยังทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ
ล้มง่าย โรคแมลงเข้าทำลายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
นอกจากนี้ เมื่อราคาปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำมันมีราคาแพงขึ้น
ส่งผลให้มีปุ๋ยปลอมระบาดอยู่ทั่วไป
การดำเนินงาน
- บูรณาการความร่วมมือจากกรมข้าว กรมพัฒนาที่ดิน
ธ.ก.ส. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน เพื่อจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
ด้านการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ในนาข้าวเขตชลประทานภาคกลาง
8 จังหวัด ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรเป้าหมาย
และประสานงานภาคีการพัฒนาเหล่านั้น
- ปรับกระบวนทัศน์ของเกษตรกรไปสู่การพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กล่าวคือ เกษตรกรคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น พึ่งตนเองได้ โดยปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้เรียบง่ายและประหยัด
พร้อมๆกับเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตข้าว
หาแนวทางแก้ไข และเพิ่มผลผลิตได้ด้วยตนเอง
- ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่
ได้แก่ การสำรวจชุดดิน การวิเคราะห์ดินอย่างง่าย การใช้คู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ย
และการผสมปุ๋ยใช้เอง โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติของเกษตรกรผู้นำ
ทั้งในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในไร่นาและศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
ซึ่งมิใช่เฉพาะเรื่องดินและปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวด้วย เช่น พันธุ์ข้าว การจัดการน้ำ
วัชพืช และโรคแมลง เป็นต้น (ภาพที่ 1 และ 2)
- สร้าง แปลงเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเกษตรกร และเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร
เพื่อใช้เป็น เครื่องมือ ในการขยายผล โดยเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติ
โดยเฉพาะความรู้และประสบการณ์จากการใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ในการปลูกข้าว
ผลการวิจัย
- จากผลการวิจัยโดยให้ชาวนาในเขตชลประทานทำแปลงทดสอบและแปลงสาธิต
พบว่า การใช้ปุ๋ย 7-3-0 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างจาก
16-6-0 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยที่เกษตรกรส่วนใหญ่ถือปฏิบัติอยู่
- ต้นทุนการปลูกข้าวในจังหวัดชัยนาท อ่างทอง อยุธยา
และนครปฐม ลดลงโดยเฉลี่ย 510 บาท/ไร่ ประกอบด้วยค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง
และค่าเมล็ดพันธุ์ 241, 178 และ 91 บาท/ไร่ ตามลำดับ
- สรุปว่า เมื่อชาวนารู้จักชุดดินและรู้ค่าวิเคราะห์ดิน
ทำให้ใช้ปุ๋ยได้พอดีกับความต้องการของข้าว ลดค่าปุ๋ยโดยผลผลิตไม่ลดลง
(ตารางที่ 1, 2 และ 3)
|
 |
|
|
ภาพที่ 1. การวิเคราะห์ดินอย่างง่ายโดยเกษตรกร
|
ภาพที่ 2. การใช้คู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยโดยเกษตรกร |
|
|
คณะผู้วิจัย:
ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ รังสรรค์ กองเงิน
ผศ. พิบูลย์ กังแฮ ดร. เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ จันทรจิรา สุนทรภัทร์
เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม ภควรรณ ชัยรัตน์เมธี บุญเลิศ รอดเจริญ
วิลาศ จันทศรี พิริยะ เทพประสิทธิ์
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. (02)-942-8104 |
|