ขมิ้นชัน(Curcuma longa L.) อยู่ในวงศ์
Zingiberaceae ชื่อสามัญ ขมิ้นแกง ขี้มิ้น Turmeric เป็นต้น ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน
เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม กระจายพันธุ์ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนหรือร้อนชื้นแหล่งปลูกขนาดใหญ่
คือ ประเทศอินเดีย หรือ ในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งถึงร่มรำไร หากพื้นที่ร่มผลผลิตจะลดลง
ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย การระบายน้ำดี อินทรีย์วัตถุสูง pH 5 –
7 ปลูกได้ในพื้นที่ระดับต่ำจนถึงระดับ 1,200 เมตร ขมิ้นชันในตลาดโลกมีมากกว่า
50 สายพันธุ์ส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย ปริมาณสารสำคัญมาตรฐานตำรายาสมุนไพรไทยระบุว่าต้องมีสารเคอร์คูมินอยด์ไม่ต่ำกว่า
5 % น้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6% เหง้าที่สมบูรณ์จะต้องมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่ต่ำกว่า
7 เดือนขึ้นไป การปลูกส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชหลักเดี่ยวๆ จะได้ผลผลิตเหง้าสด
ประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ แต่หากปลูกแซมกับพืชสวนจะได้ผลผลิต 200–300
กิโลกรัม/ไร่
ขมิ้นชัน ใช้เป็นอาหาร สมุนไพร และ ใช้เป็นยารักษาโรค มีคุณค่าทางโภชนาการ
ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก
วิตามินบี 2 และ ไนอาซิน มีน้ำมันหอมระเหยได้แก่ เทอร์มาโรน (turmerone)
สารเคอร์คูมิน (curcumin)แอทแลนโทน (atlantlone)ซินไทรไบริน (syntrobirin)
ซินจิเบอร์โรน (zingiberone) ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อหนอง
(Italicll) เชื้อนิวมอเนีย(Italicll) เชื้อไทฟอยด์ (Italic) และ
มีสารสังเคราะห์ที่ชื่อ Synthobilin สังเคราะห์จาก P-tolymethyl
carbinol กับ camphoric acidc และ diethanolamine มีฤทธิ์ขับน้ำดีได้ดีมาก
น้ำมันขมิ้นชันยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด กลากเกลื้อน
หากสกัดขมิ้นชันด้วยน้ำสามารถฆ่าแมลงและไล่แมลง สารเคอร์คิวมิน (curcumin)
ช่วยยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ระบบการย่อยอาหาร
ลดการจุกเสียด รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซด์ protease
ของ HIV -1 และ HIV - 2 โดยมีค่า IC50 100 m Mc และ250m
M ตามลำดับ และยังยับยั้งเอนไซด์ integrase ของเชื้อ HIV – 1 โดยมีค่า
IC50 40m M ดังนั้นจึงมีการนำ curcumin ไปทดลองในคลินิคผู้ป่วยเอดส์ในขณะนี้
กระทรวงสาธารณสุขจัดขมิ้นชันไว้เป็นพืชสมุนไพรที่มีบัญชีเป็นยาหลัก11
ชนิดรวมทั้งลูกประคบอีก1ชนิด โดยรัฐบาล ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ
ด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2548-2552)
จากคุณสมบัติของขมิ้นชันที่มีมากมายดังกล่าว สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ยารักษาโรค เครื่องสำอาง เป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ ในเชิงอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
ทำให้ภาคการผลิตต้องศึกษาและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกหรือมีพื้นที่ปลูกพืชหลักอยู่แล้ว
ปลูกเพื่อเป็นพืชที่สร้างรายได้เสริมระหว่างรอผลผลิตจากพืชหลัก ภาคใต้มีการปลูกยางพาราและไม้ผลรวมถึงพืชหลักอื่นๆเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
อันเนื่องมาจากรัฐบาลส่งเสริมการปลูกทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและไม้ผลเป็นจำนวนมาก
จะเห็นได้จาก พื้นที่ปลูกยางพาราของไทย พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว ในปี
2547 12,950,000ไร่ ปี2548 13,596,000ไร่ และ ในปี2549 เพิ่มขึ้นเป็น14,342,000
ไร่ จะเห็นได้ว่าพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีพื้นที่ว่างระหว่างแปลงปลูกจำนวนมหาศาล
ซึ่งเกษตรกร มักจะ ทิ้งพื้นที่ให้รกร้างสิ้นเปลืองแรงงานหรือทุนในการกำจัด
หรือ ปลูกพืชแซมที่คล้ายๆกันทำให้ ประสบปัญหาต่างๆ เช่น โรคและแมลง
ผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ การนำขมิ้นชันมาปลูกแซมไม้ผลและยางพาราสามารถ
สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ในระยะแรก เนื่องจากยางพาราและไม้ผลมีการเจริญเติบโตช้าในช่วง
1 – 3 ปีแรก จะยังไม่ให้ร่มเงา ระบบการปลูกแซมในแปลงไม้หลักจะส่งผลดีในด้าน
การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางกายภาพ (physical resources) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในเรื่องของลดการสูญเสียของแสงแดด น้ำ ดินและแร่ธาตุอาหาร ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และ ด้านเสถียรภาพทางชีวภาพ คือ หากพืชหนึ่งสูญเสียก็ยังคงมีพืชหนึ่งรองรับ
นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหา วัชพืช ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงพืชหลักโรคและแมลงได้
ในระดับหนึ่ง
 |
 |
ขมิ้นชันในแปลงยางพาราอายุ 1 ปี |
ขมิ้นชันในแปลงยางพาราอายุ 3 ปี |
 |
 |
ขมิ้นชันในแปลงส้มโชกุน |
ขมิ้นชันในแปลงปลูกพืชเดี่ยว(Control) |
Table 1 The height of plant , wide and long
leaves , length of leaves, number of leaves , average number of
pants per clump ,sizing of rhizomes , weight
of rhizomes, and average yields
Treatments |
Height
of plant
(cm) |
Leaves
of sizing
(cm) |
Length
of leaves
(cm) |
Leaf
quantity
(leaf /grove) |
Number
of plants per clump
(chief / grove)) |
Rhizome-size
(cm) |
Rhizome
weight (g) |
Average
yield Kg /Rai |
72
Days |
216
Days |
72
Days |
216
Days |
72
Days |
216
Days |
72
Days |
216
Days |
72
Days |
216
Days |
240
Days |
240
Days |
240
Days |
Control |
5.53 b |
11.20 b |
5.46 b |
9.16 b |
16.22 b |
28.48 b |
5.01 a |
10.82 b |
1.23 a |
2.29 b |
16.18 b |
79.76 b |
520.83 b |
Shogun |
7.62 ab |
16.86 a |
6.09 b |
9.87 b |
15.89 b |
29.99 b |
3.54 c |
12.67 b |
0.91 b |
2.49 b |
21.60 ab |
142.24 ab |
928.82 ab |
1- year –old Rubber |
8.16 a |
17.72 a |
7.64 a |
12.21 a |
20.05 a |
38.33 a |
4.16 bc |
18.39 a |
1.01 b |
3.43 a |
25.22 a |
213.13 a |
1,391.74 a |
3- year –old Rubber
|
9.37
a |
17.00
a |
7.55
a |
11.26
ab |
20.98
a |
34.16
ab |
4.52
ab |
12.85
b |
1.03
b |
2.82
ab |
23.00
a |
140.95
ab |
920.40
ab |
F-Test |
* |
* |
** |
* |
* |
* |
* |
** |
** |
* |
* |
* |
* |
C.V. (%) |
18.30 |
20.23 |
13.53 |
13.75 |
13.75 |
13.66 |
15.20 |
12.89 |
15.59 |
11.06 |
18.88 |
17.11 |
17.11 |
1/ ตัวเลขที่ตามหลังด้วยอักษรที่เหมือนกันในแนวตั้งเดียวกัน
ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามวิธี DMRT (Duncan
‘s New Multiple Range Test)
* มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น
95 เปอร์เซ็นต์ (α = 0.05)
** มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น
99 เปอร์เซ็นต์ (α = 0.01)
จากการศึกษาผลของระบบการปลูกขมิ้นชันแซมในแปลงปลูกส้มโชกุนอายุ
4 ปี ยางพาราพันธุ์ RRIT 251 อายุ 3 ปี พันธุ์ RRIM 600 อายุ 1 ปี
และ ปลูกเป็นพืชเดี่ยว (control) ในเขตภาคใต้ตอนบน สรุปผลได้ดังนี้
การเจริญเติบโตขมิ้นชันอายุ 72 วัน ที่ปลูกแซมในแปลงยางพารา อายุ
1 และ 3 ปี การเจริญเติบโตไม่แตกต่างทั้งในด้าน ความสูง ความยาวใบ
ความกว้างใบ จำนวนใบ แต่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกแซมในแปลงส้มโชกุน
และ ปลูกเป็นพืชเดี่ยว(control) พบว่า การเจริญเติบโตของขมิ้นชันที่
อายุ 216 วัน ที่ปลูกแซมในแปลงยางพาราอายุ1 ปีมีการเจริญเติบโตดีที่สุด
ทั้งทางด้าน ความสูงของต้น ความยาวใบ ความกว้างใบ จำนวนใบ/กอ จำนวนต้น/กอ
รวมทั้งผลผลิตน้ำหนักเหง้า ขนาดของเหง้าเท่ากับ 17.72, 12.21, 28.33
และ 18.39 เซนติเมตร 3.43 ต้นต่อกอ 25.22 เซนติเมตร, 213.13 กรัม
และ 1,391.74 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ มากกว่าปลูกเป็นพืชเดี่ยว(control)
อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ แต่เมื่อปลูกแซมในแปลงส้มโชกุน และ
ยางพาราอายุ3ปี พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านการเจริญเติบโตและผลผลิต
จากการส่งตัวอย่างขมิ้นชันวิเคราะห์ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ที่สำคัญ
พบว่ามีปริมาณสาร curcumin=3.32% dry wt. ,demethoxycurcumin 1.47%dry
wt. และ bis-demethoxycurcumin 1.58 %dry wt . โดยการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
ของรศ.งามผ่อง คงคาทิพย์ และคณะ ภาควิชาเคมี คณะะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์บางเขน
ซึ่งพบว่าสาร bis-demethoxycurcumin จะมีมากกว่าปกติที่เคยวิเคราะห์เล็กน้อย
|
 |
ช่อดอกที่มีใบประดับสีเขียวอ่อนปลายช่อสีขาว
ดอกมีสีเหลือง |
เหง้าขมิ้นชันที่อายุ 8 เดือน |
|
ขมิ้นชันที่ฝานเป็นแผ่นบางเพื่อรออบแห้งที่อุณหภูมิ
50 °C เพื่อส่งวิเคราะห์ปริมาณสาร |
|