รา
เป็นจุลินทรีย์จัดอยู่ในอาณาจักรรา (Kingdom Eumycota, Fungi) เดิมจัดราไว้ในอาณาจักรพืช
แต่เมื่อมีการศึกษาทางอณูชีววิทยา พบว่าราต่างจากพืช แต่มีราบางกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายสัตว์คือมีส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ที่ว่ายน้ำได้
จึงจัดจุลินทรีย์ที่คล้ายรานี้ไว้ในอาณาจักรโครมิสตา
ราที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร
ประโยชน์ของราดินทางโรคพืช
ในดินจะเป็นที่อยู่อาศัยของราหลายชนิด โดยเฉพาะราแอสเปอร์จิลลัส
เพนนิซิลเลียม และ sexual state ของรา Penicillium เช่นราทาร์ลาโรไมซีส
ฟลาวัส (Talaromyces flavus) สามารถนำมาใช้ยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด
ได้แก่ Verticllium dahliae สาเหตุโรคเหี่ยวของมะเขือ รา Sclerotium
rolfsii สาเหตุโรคโคนเน่าของถั่ว (Jun et al., 1999) และมีรายงานว่ารา
Talaromyces flavus สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพซึ่งยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคที่สำคัญของมนุษย์
(Suzuki et al., 2000; Dong et al., 2006) T. flavus สามารถยับยั้งการเจริญของรา
Rhizopus stolonifer ซึ่งเป็นสาเหตุโรคเน่าระดับดินของต้นกล้าข้าวบาร์เล่ย์
(Dethoup, 2007)
|
|
|
 |
Talaromyces flavus
KUFC 3334
|
Ascospores of T. flavus |
เมล็ดถั่วเขียวแช่ในน้ำ |
ascospores ของรา T. flavus
|
ในประเทศไทย
Dethoup et al. (2007) รายงานว่า T. flavus ยับยั้งการเจริญของรา
Phytophthora parasitica สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของส้ม Fusarium
oxysporum สาเหตุโรคเหี่ยวในพืชหลายชนิด F. semitectum สาเหตุโรคผลเน่าของแตงโม
Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริกและ C. gloeosporioides
สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของมะม่วง กล้วย มะละกอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของรามูลสัตว์ทางโรคพืช
ราซอร์ดาเรีย ฟิมิโคลา (Sordaria fimicola) พบในมูลกวางและมูลวัว
เป็นราที่ชอบแสงและดีดสปอร์ไปได้ไกล ดังนั้นโอกาสที่จะพบรานี้จะปนเปื้อนบนใบพืชจึงเป็นไปได้มาก
ราดังกล่าวสามารถนำมาใช้ควบคุมโรคพืชทางชีววิธี ในการยับยั้งการเจริญของรา
Pestalotiopsis gupinii ซึ่งเป็นสาเหตุโรคผลเน่าของผลไม้หลายชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ
ราที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดวัชพืช
ได้แก่ Exserohilum rostratum มีรายงานการนำรานี้มาใช้ควบคุมวัชพืชหลายชนิดได้ผลเช่น
การควบคุมวัชพืชตระกูลหญ้า 7 ชนิดได้แก่ หญ้าปากควาย (Dactyloctenium
aegyptium), เสือแกรก (Pacinum maximum), หญ้าพง (Sorghum halepense),
หญ้าขี้กรอก (Cenchrus echinatus), Texas panicum (Panicum texanum),
หญ้าตีนกา (Digitaria sanguinalis) และหญ้าหางหมาจิ้งจอก (Setaria
glauca) (Chandramohan and Charudattan, 2001) ในประเทศไทยโดย จิตรา
(2547) พบว่ารา Exserohilum rostratum ใช้ควบคุมวัชพืชได้แก่ หญ้าปากควายได้ผลดี
 |
 |
Exserohilum rostratum |
หญ้าปากควาย |
ราที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
Metarhizium anisopliae เป็นราอยู่ในดิน สร้างสปอร์สีเขียวเป็นจำนวนมาก
เส้นใยของราจะเจริญในลำตัวของตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของด้วงมะพร้าว
รา Beauveria bassiana ป้องกันกำจัดหนอนไหม และมีการผลิตเป็นการค้าในการกำจัดแมลงได้แก่
ด้วงปีกแข็ง และหนอนผีเสื้อ (Colorado beetle, Coleoptera และ Lepidoptera)
รา Aschersonia spp. เป็นปรสิตบนเพลี้ยแป้ง เป็นต้น รา Cordyceps
sinensis เป็นราที่มีสรรพคุณทางยา และเป็นอาหารเสริมสุขภาพ มีราคาสูงในต่างประเทศ
พบมากในประเทศจีน เนปาล ธิเบต และประเทศไทย มักพบในหนอนผีเสื้อกลางคืน
Hepialus armoricanus
บทบาทสำคัญของราทางการเกษตรได้แก่
การย่อยสลายเศษพืชและอินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
ราที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายซากพืช ได้แก่ Helicosporium, Volutella,
Wiesneriomyces และ Zygosporium และราที่มีรายงานว่าสร้างเอนไซม์เซลลูเลส
ได้แก่ Chaetomium cupreum, Gilmaniella humicola, Memmaria echinobotryoides,
Scytalidium lignicola, Trichoderma harmatum และ T. harzianum เป็นต้น
ราเหล่านี้น่าจะได้รับการพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพซึ่งเป็นประโยชน์ทางการเกษตรต่อไปในอนาคต
(เลขา และจินตนา, 2539)
ราที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์
ราหลายชนิดสร้างปฏิชีวนะสาร
กรดอินทรีย์ และเอนไซม์ต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น ปฏิชีวนะสารเพนนิซิลิน (penicillin) จากรา Penicillium
notatum ที่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวก สารไซโคลสปอริน (cyclosporin)
จากราดิน Tolypocladium inflatum ใช้ในทางการแพทย์โดยกดภูมิคุ้มกันในร่างกาย
(immunosuppresent) ในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เช่น ไต หัวใจ Taxol
เป็นสารที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง (anticancer) ที่สกัดได้จากพืช yew
plant แต่จากการศึกษาพบสารดังกล่าวในรา Pestalotiopsis microspora
(Strobel et al., 1996) นอกจากนี้ยังพบสารดังกล่าวในรา Coelomycetes
ขนิดอื่น ได้แก่ Botryodiplodia theobromae, Pestalotiopsis annonicola,
Bartalinia robillardoides, Chaetomella raphigera, Phoma citri,
Phoma oleandri และ Phomopsis pomorum เป็นต้น (Bhuvaneswari, 2005)
|
|
|
yew plant |
Pestalotiopsis microspora |
Taxol |
ราดิน
Myrothecium verrucaria สร้างสาร trichothecene มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อมาลาเรีย
(Isaka et al., 1999) รา Talaromyces luteus สร้างสาร luteusin C,
D และ E ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของราบางชนิด (Yoshida et
al., 1996) และ รา Talaromyces bacillisporus สร้างสาร bacillisporin
D, E ที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง (Dethoup et al., 2006) รามูลสัตว์เป็นราที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์
เป็นราที่ทนทานต่อน้ำย่อยในกระเพาะและสำไส้ของสัตว์ เมื่อสัตว์กินอาหารได้แก่ใบไม้
หรือวัสดุต่างๆที่มีราปนเปื้อน ราจะผ่านระบบทางเดินอาหาร กระเพาะ
ลำไส้ และมาอยู่ในมูลสัตว์
เห็ดราที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์และเห็ดราที่มีสรรพคุณทางยาและอาหารเสริม
เห็ดเป็นราชั้นสูงใน
Class Basidiomycetes เห็ดเป็นอาหารที่มีประโยชน์และเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค
ตัวอย่างเช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดฟาง ซึ่งเพาะเลี้ยงได้
เห็ดบางชนิดเพาะเลี้ยงไม่ได้เช่น เห็ดโคนจะต้องมีชีวิตร่วมกับปลวก
ชนิดของปลวกก็มีความสำคัญที่จะพบเห็ดดังกล่าว เห็ดโคนมีหลายชนิด
ที่พบในประเทศไทยจะพบที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครราชสีมาเป็นต้น
 |
|
|
เห็ดในสกุล
Cordyceps เป็นสมุนไพรที่คนจีนใช้เป็นเครื่องดื่มชูกำลังและบำรุงร่างกายหลังฟื้นไข้
รวมทั้งเสริมพลังนักกีฬา เห็ดไมตาเกะ (Maitaka, Grifola frondosa)
พบใน ญี่ปุ่น ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป มีราคาแพง มีสรรพคุณในการต่อต้านไวรัส
เสริมภูมิคุ้มกัน ลดความดัน และระดับน้ำตาลในเลือด และจากผลงานวิจัยพบว่าเห็ดไมตาเกะยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง
และ เนื้องอกหลายชนิดในหนูทดลอง กระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนป่วยโรคมะเร็งเต้านม
ปอด ตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและเอดส์ได้ผลดีมาก (ศิริวรรณ และไมตรี,
2545; Holliday, 2007) เห็ดหลินจือ (Reishi, Garnoderma lucidum) เป็นเห็ดที่พบว่ามีการใช้เป็นยารักษาโรคมากที่สุด
โดยใช้เสริมสร้างสุขภาพทั่วไป เป็นยาอายุวัฒนะ ยาชูกำลัง ใช้เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ
และต่อต้านความชรา พบสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกัน และรักษาโรคต่างๆ
เช่น โรคหัวใจ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคทางเดินปัสสาวะ ต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง
ไวรัส เป็นต้น Chang (2007) ได้รายงานว่าผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือ ทำให้ผู้ป่วย
HIV / AIDS ใน อาฟริกามีสุขภาพดีขึ้น โดยทำให้อยากรับประทานอาหาร มีการย่อยและการดูดซับสารอาหารดีขึ้น
ราที่เป็นโทษ ก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์ สัตว์ และพืช
ราที่ปนเปื้อนในอาหารได้แก่
Aspergillus flavus ในผลส้มโอ, A. fumigatus บนขนมปัง, A. niger บนขนมปัง,
A. ocharceus บนเมล็ดถั่ว, Eurotium chevalieri และ Eurotium amstelodami
บนขนมปัง ขนมหวาน และข้าวสุก ราที่ปนเปื้อนบนกระดาษได้แก่ Chaetomium
globosum, Cladosporium cladosporiodes, Memnoniella echinata และ
Stachybotrys atra และราที่ปนเปื้อนในอากาศเช่น Aspergillus fumigatus
ราดังกล่าวจะสร้างสารพิษที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่มีราปนเปื้อน
ตัวอย่างสารพิษ(mycotoxin) ที่ราสร้าง ได้แก่ aflatoxin, ochratoxin,
patulin, fumonisin B1, trichothecenes, T-2 toxin, deoxynivalenal
(DON), zearalenone, satratoxins, verrucarins, roridins นอกจากนี้ยังพบราที่มีความสำคัญทำให้เกิดโรคกับคนได้แก่
Pseudoallescheria boydii และ Aspergillus fumigatus ราที่ก่อให้เกิดโรคกับสัตว์ได้แก่
Pithomyces chartarum และ Stachybotrys chatarum และพบราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญได้แก่
Alternaria alternate จากผลสาลี่, Choanephora sp. จากผลแตงกวา, Colletotrichum
capsici จากผลพริกชี้ฟ้า, Colletotrichum gloeosporioides จากผลกล้วยและมะม่วง,
Curvularia lunata จากใบกล้วยไม้, Cylindrocladium gracile จากกลีบกุหลาบ,
Fusarium graminearum จากฝักมะขาม, F. oxysporum จากดอกเยอบีรา, F.
semitectum จากผลแตงโม, F. solani จากผลชมพู่, Lasiodiplodia theobromae
จากผลฝรั่ง, Pestalotiopsis guepinii จากผลชมพู่, Phomopsis sp. จากฝักมะขาม,
Phyllosticta sp.จากใบกล้วยไม้, Pythium aphanidermatum จากรากแตงกวา,
Sclerotium rolfsii จากหัวเผือก, Thielaviopsis basicola และ T. thielavioides
จากหัวแครอท เป็นต้น
|