เทคนิคการตอนต้นไม้ขนาดใหญ่( ใม้หอม ไม้ผล)

          ปัจจุบันการใช้พรรณไม้ชนิดต่างๆในการประดับและตกแต่งสถานที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากโดยเฉพาะพรรณไม้ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
การขุดล้อมหรือการบอนต้นไม้ขนาดดังกล่าวจึงเป็นนิยมในเชิงการค้าพรรณไม้ใช้ในกิจกรรมดังกล่าวมีทั้งที่เป็นพรรณไม้ที่ปลูกเพื่อจำหน่ายโดยตรงซึ่งไม่มีผลกระทบ
ต่อนิเวศวิทยาโดยรวมมากนักเนื่องจากพื้นที่ปลูกมีการดูแลจัดการที่ดีและมีการปลูกทดแทนแต่พรรณไม้บางชนิดที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้พรรณไม้ยังเป็นพรรณไม้ขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ หรือเป็นพรรณไม้ที่ปลูกตามหัวไร่ปลายนาของเกษตรกร พรรณไม้เหล่านี้เมื่อมีการขุดล้อมหรือการบอนส่วนใหญ่จะไม่มีการปลูกทดแทน การตอนต้นไม้ขนาดใหญ่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดจำนวนพรรณไม้โดยเฉพาะพรรณไม้ที่ปลูกตามหัวไร่ปลายนาหรือจากในป่าทางหนึ่ง

          วัตถุประสงค์
1.ทดแทนการขุดล้อมหรือการตอนต้นไม้ออกพื้นที่เพื่อรักษาสมดุลของนิเวศน์ของพรรณไม้
2.ลดระยะเวลาในการปลูกและดูแลรักษาให้น้อยลง 1-3 ปีเพื่อให้ได้ขนาดและรูปทรงที่ต้องการ
3.พรรณไม้หอมที่ได้จากการตอนจะมีระบบรากที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่าต้นไม้ที่ได้จากการบอนหรือขุดล้อม

          เทคนิคการตอนพรรณไม้ขนาดใหญ่(ไม้ดอกหอม ไม้ผล)
1. ฤดูกาลที่เหมาะสม ในช่วงฤดูฝน (เดือน พ.ค. – ส.ค.) พรรณไม้ส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตมากเท่าช่วงฤดูกาลอื่น
2. ควรเป็นพรรณไม้ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง 80-100% เมื่อตอนในขนาดปกติ พรรณไม้ที่มีขนาดใหญ่
จะออกรากยากกว่ากับพรรณไม้ที่มีขนาดเล็ก
3. พรรณไม้ที่มีเปลือกหนา จะมีโอกาสออกจากมากเท่ากับพันธุ์ไม้หอมที่มีเปลือกบาง
4. มีดที่ใช้ในการตอน ควรมีความคมและมีขนาดเหมาะสมกับกิ่งที่จะตอน เพื่อความสะดวก
5. การใช้ฮอร์โมนในการช่วยเร่งการออกราก มีความจำเป็นในปริมาณที่มากกว่าปกติ ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนแล้วแต่ความ
เหมาะสมของแต่ละชนิดพันธุ์ไม้หอม (ระดับฮอร์โมนโดยทั่วไปในท้องตลาด ความเข้มข้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.3% (3000 ppm) การ
ผสมโดยตรงระหว่างฮอร์โมนผงและฮอร์โมนที่เป็นของเหลวรวมแล้วไม่เกิน 6000 ppm ควรใช้ฮอร์โมนในช่วงเย็นหรือมีแสงน้อย
6. ขนาดของแผลที่ตอน ควรมีขนาดที่พอเหมาะ สะดวกในการปฏิบัติงาน
7. เนื้อเยื่อบริเวณที่จะให้ออกราก ควรระมัดระวังอย่าให้เนื้อเยื่อช้ำ และบาดแผลยังมีความสด จะช่วยให้ดูดซึมฮอร์โมนได้ดียิ่งขึ้น

จำปาเทศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 10 นิ้ว

เตรียมควั่นและลอกเปลือก
ขูดเนื้อเยื้อเจริญให้หมดและทาฮอร์โมน
หุ้มด้วยขุ๋ยมะพร้าวและมัดให้แน่น
หุ้มด้วยขุ๋ยมะพร้าวครั้งที่ 2 หลังออกรากเต็มตัดได้
ต้นจริงก่อนตัดสูงกว่า 8 เมตร
กำลังตัดมาโชว์งานเกษตร 2 เมตร
ดูรากกันชัดๆ
ตอนเสร็จติดผลเลย

2 เดือนออกราก


               ฐานข้อมูลทรัพยากรพืชพรรณของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ สถาบันวิจัยกำแพงแสน มก. กพส.
              ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ สถาบันวิจัยกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัย งานวิชาการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2523 บนพื้นที่ประมาณ 90 ไร่ ประกอบด้วยอาคารทำการ สวนไม้หอม แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ แปลงทดลองและอื่นๆ งานเรือนปลูกพืชทดลอง ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ ได้จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรพืชพรรณที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การปลูกและการดูแลรักษา การนำมาใช้ประโยชน์ มากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 5 หมวดหมู่ดังต่อไปนี้
1. สมุนไพร ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/herb/variety/html
2. ไม้หอม ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/fragant/variety/html
3. ไม้ผล ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/fruit/variety/html
4. ไม้ดอก-ไม้ประดับ ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/ornamemt/variety/html
5. วัชพืช ที่ http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/weed/variety/html

 
คณะผู้วิจัย:
นายนพพล เกตุประสาท นายบุญรอด ศรีบุญเรือง นางสาวสุดใจ วรเลข นายประสงค์ สระเพิ่มพูล
งานเรือนปลูกพืชทดลอง ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยกำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
ติดต่อ 0871665251