ต่อจากนั้นจึงมาลงเรือพายไปจอดตามหน้าร้านหรือหน้าบ้าน
ซึ่งพวกผู้หญิงหมอบๆก้มๆ พนมมือนิมนต์ แล้วตักข้าวสุกใส่บาตรให้ทัพพีใหญ่
พร้อมด้วยปลา ผักผลไม้และขนม เมื่อเวียนจนจบทางและบาตรเต็มแล้ว
ท่านก็กลับไปสู่วัด (สังฆราช ปาลเลกัวซ์ พ.ศ.๒๓๙๗)
ผลการศึกษา
๑.วัดและประชากรในวัด
พบว่ามีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ของ สามเณรและเด็กวัดอันเนื่องมาจากระบบการศึกษากระแสหลักในโรงเรียนได้รองรับเยาวชนไปหมด
การศึกษาในระบบวัดที่ยังอยู่เป็นการสอนพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์
หรือ สอนวิปัสสนา แม้จะได้ผลแต่ก็ทำใด้จำกัดในกลุ่มประชากรที่แคบลงไป
เพราะว่าเด็กวัดอยู่ไม่ได้ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีข้าวให้กินหรอกเป็นเพราะพ่อแม่เขาไม่เอามาฝากวัด
เพราะว่าเขาจะต้องส่งเสียเล่าเรียนกันไปไกลๆ เด็กวัดก็เลยจะหมดไป
แต่ก่อนนี้ไม่มีโรงเรียนอะไรเยอะแยะ มีแต่อาศัยวัด (พระ ชอบ ถาวโร
พระอธิการวัดไทยเจริญ)
๒.เรือพระ
ประเภท การใช้สอย และ การผลิตเรือ พบการใช้เรือพาย 3 ขนาด คือ พายเดี่ยว
พายคู่หัวท้าย และ พายคู่หัวท้ายกลางรับบาต มีการจัดระเบียบภัตตาหารและมีระบบการจัดอาหารตั้งแต่ก่อนการรับนิมนต์
การจัดวางในเรือ การขนย้ายอาหารคาวหวาน ตลอดจนการจัดระเบียบในการออกบิณฑบาต(พบบางวัด)
ตลอดจนพบ การถ่ายทอดทักษะในการพายเรือบิณฑบาตระหว่างพระดั้งเดิมกับพระใหม่
,พระท้องถิ่นกับพระต่างถิ่นแต่ก็พบว่ามีการเลิกกิจการของเอกชน ผู้ผลิตเรือพระในราวพ.ศ.
2538 ทั้งนี้มิได้หมายความว่ามีการลดเลิกการใช้เรือบิณฑบาตแต่อย่างเดียว
แต่เนื่องจากเรือ ที่อยู่ในระบบยังมีความคงทนในขณะที่จำนวนวัดเท่าเดิมแต่จำนวนพระลดลง
ทำให้ความต้องการต่อเรือใหม่ลดลง เป็นต้น
๓.ยังมีพื้นที่ส่วนอื่นที่ยังบิณฑบาตทางเรือทั้งในจังหวัดนนทบุรี
และ พื้นที่ลุ่มภาคกลาง การสำรวจและสร้างฐานข้อมูลที่มีการจำแนกทั่วถึงยิ่งขื้นยังเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้พยายามสร้างเครือข่ายการวิจัยและโอกาสทางการศึกษาทำให้ได้ผลสำรวจที่กว้างขวางขึ้น
๔.พบว่าสาเหตุสำคัญของการเสื่อมลงของปฏิบัติการทางวัฒนธรรม
มีสาเหตุมาจากการจัดการด้านเวลาแบบใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับเวลาในระบบวัฒนธรรมแต่เดิม
การเสื่อมลงของเยาวชนไทยต่อศาสนาพุทธมีส่วนขึ้นอยู่กับโอกาสที่สังคมเปิดให้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ
วันพระและวันโกนเป็นวันในจันทรคติไม่สัมพันธ์กับวันหยุดปกติของนักเรียนคือวันเสาร์
อาทิตย์ จึงไม่เอื้อให้เยาวชนใช้เวลาประจำสัปดาห์ส่วนนี้ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัด
๕.
ในแง่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม บิณฑบาตเรือประกอบสร้างด้วยความสัมพันธ์สามระดับได้แก่
๑.เครือข่ายในระบบของวัด ๒. ความสัมพันธ์เชิงสังคม ๓. ความสัมพันธ์ในวาทกรรมของอารยธรรม
ปรากฏอยู่ในสองระดับแรก ส่วนระดับสุดท้ายเป็นสิ่งที่งานวิจัยนี้อาจมีส่วนปลูกสร้างขึ้น
๖.บิณฑบาตเรือเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสำคัญมากจำเป็นต่อการตัดสินใจในระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของประเทศ
และเป็นส่วนสำคัญของการสร้างทฤษฎีพื้นฐาน (Grounded Theory) ทางด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมไทยในส่วนที่ผู้วิจัยเรียกว่าที่ว่างลำดับที่สามในสภาวะแวดล้อมสรรค์สร้าง
(ศรันย์, 2549)
๗.
ในการขับเคลื่อนงานวิจัยให้มีผลปฏิบัติ (Implementation) อย่างน้อยต้องขับเคลื่อนในสองระดับ
ระดับแรกคือระดับผู้มีอำนาจการตัดสินใจหากสร้างโอกาสเชิงพื้นที่สาธารณะที่มีผลการตัดสินใจจะสร้างความหมายได้มาก
ระดับที่สองคือระดับของการประชาสัมพันธ์แนวราบซึ่งสื่อเช่น ภาพยนตร์
มีอำนาจในการอธิบายสูงจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม
บทสรุป
บิณฑบาตเรือกำลังถูกคุกคามอย่างยิ่ง
และ อาจปรับตัวในการเปลี่ยนศูนย์กลางจากคลองอ้อมนนท์ไปสู่คลองบางใหญ่
แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรมนี้มีความสำคัญในแง่ของระบบวัฒนธรรมทำให้มีการสืบทอดและถ่ายทอดพิธีกรรมให้กับสังคมเป็นเวลายาวนาน
เห็นได้ใน ๓ มิติ ได้แก่
๑.มิติของปัจเจกชนสัมพันธภาพบิณฑบาตเรือ
เช่น ในส่วนของภิกษุการเจริญสติปัฏฐานในบิณฑบาตเรือ เป็นวัตรปฏิบัติของสุปฏิปณฺโณภิกษุ
ในกรณีศึกษาที่วัดหลังบางซึ่งให้สัมภาษณ์ถึงตั้งสติในการรักษาความสมดุลในระหว่างพายเรือในการเจริญสติ
ในส่วนของฆราวาสบิณฑบาตเรือเป็นการทำบุญในระดับที่มีความสัมพันธ์กันและกันอย่างสูงต่อพระภิกษุซึ่งเป็นรูปประจำ
๒มิติของ.ความสัมพันธภาพระหว่างชุมชนวัดในบิณฑบาตเรือ
พบสัมพันธสภาพที่แน่นแฟ้นได้ทั่วไป เช่น ชุมชนร่วมด้วยช่วยรักษาลำน้ำให้สะอาด,การพบเห็นกันเป็นประจำจากวัตรบิณฑบาตทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเครือญาติระหว่างสงฆ์กับครัวเรือนที่ใส่บาตเป็นประจำ
และ ก็เป็นการสืบทอดกิจในวิถีที่บรรพบุรุษเคยกระทำ อีกด้วย
๓.มิติทางด้านจริยธรรมสิ่งแวดล้อมในกิจวัตรบิณฑบาตเรือ
พบพลวัต ที่พระและ ชุมชน ดูแล สิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการบิณฑบาตเรือ
กล่าวคือ หากพระบิณฑบาตในคลองที่ไม่สะอาด ชาวบ้านจะรู้สึกอย่างลึกได้ผ่านการสังเกต
ขณะใส่บาต หรือการเทศนาบอกเล่าของพระภิกษุในวันพระวันโกน หลังจากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาตอบรับ
เช่น การจัดการขยะและผักตบชวาโดยสมาชิกในชุมชนเมื่อผักตบชวาเกิดมากจนปิดทางสัญจรและการบิณฑบาตเรือ
หรือกรณีที่สถานีตำรวจตำบลบางแม่นางที่ออกประกาศเอาผิดปรับสินไหมแก่เรือที่ขับโดยประมาททำเรือพระล่ม
มีนัยยะว่าบิณฑบาตเรือไม่ใช่กิจของฆราวาสกับสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นวาทกรรมอันมีนัยสำคัญสำหรับประชาสังคมไทย
การสำรวจเชิงปริมาณ
ในสถานการณ์บิณฑบาตเรือให้ผลลัพธ์ถึงการดำรงอยู่พบว่ายังมีถึง
๓๗ วัดในกลุ่มศึกษา ๔๒ วัด สรุปได้ถึงความสำคัญของพื้นที่ศึกษา
และ จำแนกได้เป็น กลุ่มที่มีการบิณฑบาตทางน้ำ กลุ่มที่เลิกการบิณฑบาตทางน้ำ
และ กลุ่มที่มีการบิณฑบาตทางน้ำอยู่คู่กับการบิณฑบาตทางบก โดย
แต่ละกลุ่มจะถูกเลือกเพื่อศึกษาอย่างละ ๑วัด เป็นกรณีศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งเพิ่มการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากพระภิกษุในกระบวนการวิจัยขั้นต่อไป
บิณฑบาตเรือ
บิณฑบาตทางน้ำ หรือ นาวาภิกขาจาร เป็นส่วนสำคัญของคนไทยภาคกลางตอนล่างที่ตั้งถิ่นฐานริมน้ำ
เป็นการสร้างสรรค์ระบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีความเฉพาะใน อัตลักษณ์ไทยซึ่งนอกจากเป็นชีวิตประจำวันของพุทธศาสนิกชนทั้งทางด้านกายภาพและจิตวิญญาณ
แล้วยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่าง วัด ชุมชน และระบบเครือข่ายคูคลอง
และเปรียบเสมือนจักรกลทางวัฒนธรรม-ภูมิทัศน์วัฒนธรรม-ที่มีหน้าที่คอยกำกับดุลยภาพของสภาวะแวดล้อม
และ สังคม ให้ยั่งยืนอย่างเป็นระบบมาแต่โบราณ
เมื่อพิจารณาเครือข่ายคูคลองแม่น้ำอ้อมเจ้าพระยาซึ่งมีพื้นที่อยู่ในบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี
และบางส่วนของกรุงเทพฯ นับเป็นเครือข่ายที่มีอายุการตั้งถิ่นฐานนานต่อเนื่องยาวนานกว่า
๔๕๐ ปี ที่มีความหนาแน่นของจำนวนวัดต่อพื้นที่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยหรืออีกนัยหนึ่งเป็นแผ่นดินที่มีการฝังรากวัฒนธรรมไทยหยั่งลึก
และกำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพัฒนาการความเป็นเมืองใหญ่ของเมืองโตเดี่ยวกรุงเทพมหานคร
ที่ขาดจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม สมควรเสนอให้เป็นพื้นที่มรดกโลกประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรม
สถานการณ์บิณฑบาตเรือของลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการกลายเป็นเมืองใหญ่และรักษาความยืดหยุ่นไว้ได้ในระดับที่น่าสังเกต
นอกเหนือจากเป็นองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่หนทางในการนำไปสร้างการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในพื้นที่เมืองชั้นในเพื่อเสนอกระบวนทัศน์อันยั่งยืน
ในการแก้ปัญหาคุณภาพสภาวะแวดล้อมสรรสร้างและสรรพชีวิตภายในวัฒนธรรมโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่อยู่ในสภาพอันเลวร้ายอย่างยิ่งและจะเป็นตัวอย่างของการส่งเสริมรักษา
คุณค่าความรู้สึกร่วมผูกพันต่อท้องถิ่นของประชากรเมืองสำหรับประเทศไทยซึ่งสมควรพัฒนาให้เป็นนโยบายทางกายภาพของพื้นที่ในบริบทเยี่ยงนี้ต่อไป
|
แผนที่7-1 แผนที่ข้อเสนอเชิงนโยบายมรดกโลกประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรมนนทบุรี
(ที่มา: การจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียวจังหวัดนนทบุรี)
|