 |
|
ไฮโดรเจน
:
พลังงานสะอาดจากแป้งและน้ำทิ้งโดยชีววิธี
Hydrogen : Bio-Production of the Clean Energy from Starch and
Waste)
|
|
สรุปผลงานวิจัย
พลังงาน
เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิต พาณิชย์ เศรษฐกิจ และสังคม
รวมถึงความมั่นคงของประเทศ ในปัจจุบัน การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นด้วย
จนถึงจุดวิกฤต โดยเฉพาะ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญของโลก
จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการหาพลังงานทดแทน ก๊าซไฮโดรเจน เป็นพลังงานสะอาด
เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะกระบวนการเผาไหม้เป็นการออกซิไดซ์ระหว่างก๊าซไฮโดรเจน กับ ก๊าซออกซิเจนและได้เพียงน้ำ
และพลังงานความร้อนเป็นผลิตภัณฑ์เท่านั้น หรือ เรียกกันว่า เชื้อเพลิงสะอาด
(clean fuel) ปัจจุบันนานาชาติให้ความสำคัญกับการศึกษา วิจัย และการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงสะอาดนี้
รวมทั้งการนำไปใช้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เช่น มีการผลิตเซลล์เชื้อเพลิง
รถยนต์ต้นแบบที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้นอย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนที่ใช้ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่
พบว่าได้มาจากปลายทางของกระบวนการกลั่นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนที่ใช้ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่
พบว่า ได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ สำหรับการใช้จุลินทรีย์เป็นผู้ผลิตก๊าซไฮโดรเจนจัดเป็นการผลิตด้วยชีววิธี
โดยอาศัยกลไกการเจริญของเซลล์ จุลินทรีย์บางกลุ่มเมื่อเจริญก็จะให้ก๊าซเกิดขึ้น
อาจเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และ/หรือไฮโดรเจน แบคทีเรียสังเคราะห์แสงเป็นจุลินทรีย์ที่คณะผู้วิจัยสนใจ
เพราะสามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ในอัตราส่วนที่สูงกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ
เช่น สาหร่าย หรือแบคทีเรีย Clostridium |
|
Biohydrogen : Research
in Thailand ปัจจุบันมีการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยพัฒนา
และแลก เปลี่ยนข้อมูลด้าน Global Perspective on Hydrogen
R&D เป็นกลุ่ม The International Energy Agency (IEA)
/ Hydrogen Implementing Agreement (HIA) ขึ้น สำหรับ ค.ศ.
2005-2008 ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาด้าน Biohydrogen
ในปี 2006 มีการประชุมที่ประเทศไทย หัวหน้าโครงการได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่อง
Biohydrogen : Research in Thailand ด้วยได้ทำการวิจัยพลังงานทดแทนในรูปก๊าซไฮโดรเจนที่ผลิตทางชีวภาพ
โดยใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสง มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 (Takahashi,
et al., 1979, 1980, 1983; Okuda, et al., 1980, 1981; Watanabe,
et al., 1980, 1981; Yoneyama, et al., 1981, 1982, 1983;
Buranakarl, et al., 1982, 1984, 1985a,b, 1986 a,b,c, 1987,
1988; Ngmjarearnwong, et al., 2003, 2004; Mahakhan, et al.,
2005) |
 |
ผลงานวิจัยปัจจุบัน
คณะผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการผลิตพลังงานสะอาด
ก๊าซไฮโดรเจน จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ในถังหมักขนาดใหญ่ 10
ลิตร และออกแบบถังให้เหมาะสมกับการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรประเภทแป้งเป็นสารตั้งต้น
ได้แก่ แป้งจากพืชชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งจากมันสำปะหลัง, ข้าวเจ้า,
ข้าวเหนียว, ข้าวโพด และถั่วเขียว เป็นต้น เป็นการผลิตพลังงานทางชีวภาพ
ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตที่แตกต่างจากต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบทางการเกษตรของไทย
งานวิจัยขั้นต่อมายังสามารถนำน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันมาใช้ในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแบคทีเรียที่คัดเลือกไว้ได้อีกด้วย
ตัวอย่างผลงานวิจัย เช่น สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ 7.5-18 ลิตร
จากการใช้แป้งสุกทั้ง 5 ชนิด เพาะเลี้ยงแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้
ในถังหมักขนาดความจุ 5.7 ลิตร และเมื่อใช้แป้งทั้ง 5 ชนิดในลักษณะเป็นแป้งดิบ
สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ 5- 16 ลิตร โดยแป้งถูกใช้ไปในการสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมากถึง
82-99% แม้ปริมาณก๊าซไฮโดรเจนที่ได้จากการใช้แป้งดิบจะน้อยกว่าเมื่อใช้แป้งสุกเล็กน้อย
แต่ข้อได้เปรียบของการใช้แป้งดิบ (ซึ่งเซลล์ใช้ได้ยากกว่าเพราะไม่ละลายน้ำ)
คือ สามารถลดการใช้พลังงานในกระบวนการและเวลาลงได้ ที่น่าพอใจ คือ
อัตราการผลิตก๊าซสูงสุดที่ได้ในผลงานวิจัยนี้มีอัตราสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานอื่นในต่างประเทศ
เมื่อขยายขนาดถังหมักเป็น 10 ลิตร ยังสามารถควบคุมแบคทีเรียให้ผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ในปริมาณมาก
เช่น
เมื่อใช้ แป้งถั่วเขียวเพาะเลี้ยงแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสายพันธุ์ที่คัดเลือก
สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้มากถึง 27 ลิตร
นอกจากนี้ ผลงานวิจัยเบื้องต้น
ยังแสดงถึงศักยภาพในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วยน้ำทิ้งจากกระบวนการ
ผลิตแป้งมัน กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นน้ำทิ้งที่เหมาะสม แบคทีเรียเจริญได้และผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้
38.30 มล. อัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนสูงสุด 14.17 มล.ไฮโดรเจน/ลิตร/ชม.
ประสิทธิภาพการใช้แป้ง 78% และสามารถลดค่าซีโอดีในน้ำทิ้งได้
33% |
|
 |
|
อนึ่ง
งานวิจัยนี้มีความร่วมมือกับนักวิจัยไทยที่ทำงานที่มหาวิทยาลัย
Stuttgart และกลุ่มนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.เทอดไท วัฒนธรรม และเอกชน
ขอขอบคุณ โรงงานแป้งมันสำปะหลังชลเจริญ
จ. ชลบุรี สำหรับตัวอย่างน้ำทิ้ง
|

|
|
คณะผู้วิจัย:
เลอลักษณ์ จิตรดอน*, มงคล งามเจริญวงษ์, วิลาวัลย์ ชาญณรงค์ และ น้ำทิพย์
เดชแพร
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
โทร. 02-5625444, 02-5625555 ต่อ 4014
|
|