ที่มาของการประดิษฐ์
ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อการส่งออก
จากข้อมูลการส่งออกในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สามารถส่งทุเรียนสดออกจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศมีปริมาณสูงถึง
๑๒๐,๘๘๖ ตัน และมีมูลค่า ๑,๖๓๕ ล้านบาท ในการจำหน่ายทุเรียนจะมีมาตรฐานเป็นตัวกำหนด
เช่น รูปทรงผล
น้ำหนักต่อผล และรอยตำหนิผล ทำให้แต่ละปีมีผลผลิตทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นจำนวนมากจะถูกคัดออกและจำหน่ายภายในประเทศ
ในราคาที่ต่ำซึ่งจะมีผลกระทบ โดยตรงต่อผู้ผลิตคือเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
ทำให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้หาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเหล่านี้
โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ได้มีการนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนทอดกรอบ
ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภคทุเรียนทอดกรอบอย่างแพร่หลาย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีการแปรรูปดังกล่าวสามารถช่วยบรรเทาแก้ไขปัญหาผลผลิตของทุเรียนได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง
การแปรรูปทุเรียนทอดกรอบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหรือเกษตรกรจะใช้ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดิบที่อยู่ในระยะแก่จัดและเป็นทุเรียนนอกเกรด
ทำการผ่าแยกออกเป็นพูด้วยมีดขาวบางหรือมีดที่ทำขึ้นเป็น
พิเศษและปอกแยกเอาเนื้อทุเรียนออกแปรรูปต่อไป ในขั้นตอนการผ่าทุเรียนดิบแยกออกเป็นพู
ๆ นั้น จะต้องใช้แรงงานที่แข็งแรง มีความชำนาญและมีดผ่าที่ดีจึงจะสามารถผ่าทุเรียนดิบแยกออกเป็นพู
ๆ ได้ตามต้องการ เนื่องจากทุเรียนดิบที่ผ่ามีความเหนียวและหนามแหลม
ถ้าผู้ปฏิบัติไม่มีความชำนาญ และแข็งแรง
พอ อาจจะได้รับบาดเจ็บจากหนามแหลมของทุเรียนได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
จึงได้มีแนวคิดที่จะ ทำการศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิคเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและผ่อนแรงในการทำงานของกลุ่มเกษตรกร

ระยะเวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
๑
ปี(๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ ถึง ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔)
คุณสมบัติและลักษณะเด่น
เครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิคมีคุณสมบัติดังนี้คือ
ต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ๒๒๐โวล์ท ขนาด ๑ แรงม้า ความสามารถในการทำงาน
๔๓๕ กิโลกรัมต่อชั่วโมงความสูญเสียของเนื้อทุเรียนที่ติดไปกับพูอื่น
๓.๘๐ เปอร์เซนต์ ใช้กำลังไฟฟ้าในการทำงาน ๕๒๙ วัตต์-ชั่วโมง เครื่องมีน้ำหนัก
๙๕ กิโลกรัมและใช้ผู้ปฏิบัติงาน ๑ คน
เครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิคมีลักษณะเด่นดังนี้คือ
สามารถผ่าทุเรียนดิบและสุกได้ทุกขนาด (ซึ่งผลงานของผู้อื่นสามารถผ่าทุเรียนสุกได้เพียงอย่างเดียว)มีความคล่องตัวและสะดวกสบายในการทำงาน
สามารถลดต้นทุนค่าจ้างแรงงานผ่าทุเรียนดิบลงได้ถึง ๕๐ เปอร์เซนต์
หลักการ วิธีการและกรรมวิธี
งานวิจัยและพัฒนานี้เป็นการศึกษาเพื่อออกแบบและทดสอบ
โดยมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
- ศึกษาและออกแบบเครื่องผ่าทุเรียนดิบโดยใช้ระบบไฮดรอลิค
- ทดสอบความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องผ่าทุเรียนดิบ
เพื่อเก็บข้อมูล
- ปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องและวิเคราะห์ข้อมูล
- เผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศึกษาและออกแบบเครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิค
มีดังนี้
การออกแบบชุดใบมีดผ่าทุเรียนดิบ มีรายละเอียดคือ
- ลักษณะการผ่าทุเรียนดิบ การผ่าทุเรียนดิบที่ง่ายต่อการออกแบบกลไกชุดใบมีดผ่า
คือ
การผ่าบริเวณรอยต่อระหว่างพูของทุเรียนในลักษณะที่ทุเรียนถูกจับตั้งผลในแนวดิ่งและมีการผ่าจากกึ่งกลาง
ขั้วผลลงไปตามแนวดิ่งตลอดความสูงของผล
- การหาค่าแรงกดที่ผ่าทุเรียนดิบ ค่าแรงกดที่ใช้ในการผ่าทุเรียนดิบสูงสุดคือ
๖๕
กิโลกรัมแรง ข้อมูลนี้สามารถนำไปออกแบบลักษณะของระบบไฮดรอลิคที่จะนำมาใช้งานได้
- การคำนวณหาค่าอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบไฮดรอลิคโดยมีส่วนประกอบ
ดังนี้
3.1 กระบอก
3.2 ปั๊มน้ำมัน
3.3 ต้นกำลัง
3.4 ท่อทางน้ำมัน
3.5 ลิ้นควบคุมน้ำมัน
3.6 ถังน้ำมัน
โครงสร้างเครื่องผ่าทุเรียนดิบ มีรายละเอียดดังนี้
- โครงสร้างทำจากเหล็กฉากขนาด ๑ ๑/๒ x ๑ ๑/๒ x
๑/๘ นิ้ว ประกอบเป็นรูปทรง เพื่อใช้ติดตั้ง
ส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่อง
- ชุดผ่าผลทุเรียนดิบ มีส่วนประกอบ คือ
- ใบมีด ทำหน้าที่ผ่าผลทุเรียนดิบเพื่อแยกออกเป็นพู
โดยใช้ใบมีดสแตนเลสที่มีจำหน่ายใน
ท้องตลาดที่มีขนาด (กว้าง x ยาว x หนา) ๙ x ๑๘ x ๐.๓ เซนติเมตร
การติดตั้งใบมีดติดตั้งเข้ากับปลายของ
ก้านสูบกระบอกไฮดรอลิคโดยใช้สลักเกลียว
- อุปกรณ์บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของใบมีด
ทำหน้าที่บังคับให้ใบมีดมีทิศทางการ
เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง (ขึ้น ลง) ตามทิศทางที่ได้บังคับไว้
- กระบอกไฮดรอลิค กระบอกไฮดรอลิคที่ใช้เป็นแบบลูกสูบ
ทำงานชนิด ๒ ทาง ทำหน้าที่
ถ่ายทอดกำลังงาน (แรงกด) ลงสู่ใบมีด เพื่อให้ใบมีดผ่าผลทุเรียนดิบได้ตามความต้องการและมีค่าช่วงชัก
ของก้านกระบอกไฮดรอลิคได้ไม่ต่ำกว่า ๓๕.๐๐ เซนติเมตร ซึ่งค่าช่วงชักนี้กำหนดได้จากคุณสมบัติทาง
กายภาพ (ค่าความสูงของผลทุเรียนที่ได้จากการวัดและหาค่าเฉลี่ยความสูงของผลทุเรียนจะมีขนาดอยู่ใน
ช่วงความสูง ๒๗.๖๐ - ๓๐.๔๐ เซนติเมตร)
- ปั้มน้ำมันไฮดรอลิค เป็นแบบเกียร์ปั้ม ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันที่มีแรงดันไปยังอุปกรณ์ต่าง
ๆ
เพื่อใช้ในการทำงาน
- ต้นกำลังทำหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่ระบบ
(ปั้มน้ำมันไฮดรอลิค) โดยต้นกำลังที่ใช้เป็น
มอเตอร์ไฟฟ้า ๒๒๐ โวล์ท ขนาด ๑ แรงม้า (๗๔๖ วัตต์)
- ท่อน้ำมัน ทำหน้าที่ส่งกำลังงานที่ได้จากการทำงานของปั้มน้ำมันไฮดรอลิคไปยังอุปกรณ์
ต่าง ๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลิ้นควบคุมการทำงาน ทำหน้าที่บังคับควบคุมแรงดันน้ำมันไฮดรอลิค
ภายในกลุ่ม
อุปกรณ์ให้ไปยังทิศทางการทำงานที่ต้องการและได้ทำการดัดแปลงคันโยกให้สามารถบังคับการทำงาน
โดย
ใช้เท้าเหยียบได้โดยง่าย
ในการทำงานผู้ปฏิบัติงานจะตัดขั้วผลทุเรียนก่อน
แล้วจึงนำทุเรียนวางบนแท่นผ่าโดยตั้งผลขึ้นตามแนวดิ่งและให้รอยต่อระหว่างพูของผลอยู่กึ่งกลางแท่นผ่า
จับผลให้แน่นและใช้เท้าเหยียบแป้นบังคับลิ้นควบคุมการทำงานซึ่งจะทำให้ก้านกระบอกไฮดรอลิคและใบมีดเลื่อนลงมาผ่าตรงรอยต่อระหว่างพูตลอด
ความสูงของผลทุเรียนและเมื่อปล่อยเท้าเหยียบแป้นคันบังคับออกจะทำให้ก้านกระบอกไฮดรอลิคและใบมีดเลื่อนขึ้นมาจนสุด
หลังจากนั้นจะใช้มือหมุนผลทุเรียนให้รอยต่อระหว่างพูของผลทุเรียนต่อไปอยู่กึ่งกลางแท่นผ่าจับผลให้แน่นและปฏิบัติดังที่กล่าวมาจนกระทั่งผ่าทุเรียนได้หมดทุกพู
เครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิค
มีความสามารถในการทำงาน ๔๓๕ กิโลกรัมต่อชั่วโมง ความสูญเสียของเนื้อทุเรียนที่ติดไปกับพูอื่น
๓.๘๐ เปอร์เซ็นต์ ใช้ผู้ปฏิบัติ ๑ คน ค่ากำลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ๕๒๙
วัตต์ ชั่วโมง เครื่องผ่าทุเรียนดิบสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยจะมีความสามารถในการทำงาน
๓,๔๘๐ กิโลกรัมต่อวันสามารถผ่าทุเรียนดิบที่ผลมีความสูงมากกว่า ๓๕
เซนติเมตรและมีน้ำหนักมากกว่า ๑๓ กิโลกรัมได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูปโดยใช้ระบบไฮดรอลิค
คือ
- ความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะความสามารถในการมองหารอยต่อระหว่างพูของผลทุเรียนก่อนการผ่าพบว่าผู้ที่มีความชำนาญ
จะทำให้ความสามารถในการทำงานมีสูงและค่าความสูญเสียของเนื้อทุเรียนที่ติดไปกับพูอื่นขณะทำการผ่านั้นมีน้อยลง
- รูปทรงความบิดเบี้ยวของผลทุเรียนมีมากน้อยต่างกัน
ถ้าผลทุเรียนมีความบิดเบี้ยวของทรงผลน้อย จะทำให้การผ่าทุเรียนทำได้ง่าย
สะดวก และใช้เวลาในการผ่าน้อย ตลอดรวมถึงจะทำให้ค่าความสูญเสียของเนื้อทุเรียนที่ติดไปกับพูอื่นขณะทำการผ่านั้นมีน้อยลงไปด้วย
- ความแตกต่างของความสูงผลทุเรียน ถ้าผลทุเรียนมีความสูงของผลมากจะทำให้ต้องใช้เวลาในการผ่ามากกว่าผลทุเรียนที่มีความสูงของผลน้อยกว่า
เครื่องผ่าทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูป
โดยใช้ระบบไฮดรอลิค สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและผ่อนแรงในการทำงาน
มีโครงสร้างส่วนประกอบไม่ซับซ้อน การใช้งานและบำรุงรักษาง่ายมีความเหมาะสมใน
การใช้งานซึ่งสามารถที่จะพัฒนาเครื่องให้สามารถทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติได้ในโอกาสต่อไป
วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
- เหล็กรูปพรรณ ต้นกำลัง กระบอกไฮดรอลิค ใบมีด
เป็นส่วนประกอบที่ผลิตได้ภายในประเทศ
- ปั้มไฮดรอลิค ลิ้นควบคุมการทำงานและท่อน้ำมันไฮดรอลิค
เป็นส่วนประกอบที่ผลิตจาก
ต่างประเทศ แล้วนำมาจำหน่ายในประเทศ
งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
จำ
นวน ๑๒๐,๐๐๐บาทจากการสนับสนุนงบประมาณของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมช่วยอำนวยความสะดวกและผ่อนแรงในการผ่าทุเรียนดิบเพื่อทำทุเรียนทอด
และสามารถเพิ่มมูลค่าทุเรียนนอกเกรดที่ราคาต่ำให้มีราคาสูงขึ้นได้โดยนำมาทำการแปรรูป
ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
- ด้านสังคม ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตทุเรียนล้นตลาดได้ระดับหนึ่ง
โดยนำมาแปรรูปและทำให้เกิดการ
จ้างแรงงานภายในท้องถิ่นเข้ามาช่วยในขบวนการแปรรูปทุเรียนทอด
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
- เกษตรกรแปรรูปทุเรียนทอด
- บริษัท/ห้างร้าน จำหน่ายทุเรียนสดเพื่อการบ
- บริษัท ส่งออกผลิตภัณฑ์ทุเรียนสดแช่แข็ง
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขต
กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๔๐ หมายเลขโทรศัพท์ (๐๓๔) ๓๕๑๓๙๗ โทรสาร
(๐๓๔)
๓๕๑๙๔๖
|