การพัฒนาคุณภาพการย้อมสีและการทอผ้าฝ้ายของเกษตรกร

         

• วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของสมาชิก ธกส. เข้าสู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก-ธกส 2549
ในเรื่องการย้อมสีและการทอผ้า

• กลุ่มเป้าหมาย
1. กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสน วัดจันเสน อ. ตาคลี นครสวรรค์
2. กลุ่มทอผ้ามัดย้อม ต. โนนงาม อ. เดชอุดม อุบลราชธานี
3. ศูนย์วิสาหกิจชุมชนบ้านคำพระ ต. คำพระ อ. หัวตะพาน อำนาจเจริญ
4. กลุ่มทอผ้าฝ้ายขิต ต. สร้างมิ่ง อ. เลิงนกทา ยโสธร
5. กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านโนนยาง (ผ้าขิต) อ. กุดชุม ยโสธร
6. กลุ่มทอผ้ากาบกล้วยบ้านโพธิ์ไทร อ. ป่าติ้ว ยโสธร

• วิธีการดำเนินการ
1. วางแผนการปฏิบัติงาน
2. การรวบรวม ปัญหา การย้อมสีและการทอผ้าในพื้นที่
3. การวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
3.1. กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสน อ. ตาคลี นครสวรรค์
ชนิดเส้นใย - เส้นใยประดิษฐ์ ทดสอบสีตก เส้นใยประดิษฐ์สีคงทนระดับ 5 ดีมาก
มีปัญหาย้อมสีฝ้ายไม่ติด โครงสร้างผ้า ต้องการเรียนรู้เรื่องการเขียนลายทอพื้นฐานเพื่อพัฒนาเป็นลายอื่นต่อไป
3.2. กลุ่มทอผ้ามัดย้อม ต. โนนงาม อ. เดชอุดม อุบลราชธานี
ชนิดเส้นใยฝ้าย 100 % ทดสอบสีตกสีเปลี่ยนแปลงหลังการซักระดับ 4-5 (ผ่าน) สีตก ระดับ 1 – 5 ( ไม่ผ่าน และผ่าน) สีมัดย้อมไม่ทนแดด/แขวนในเต็นท์สีซีดระหว่างการขาย ต้องการย้อมสีรีแอคทีฟ / กำจัดแป้ง / มัดย้อมให้สวย โครงสร้างผ้า – ผ้าขาด ริมผ้าไม่แข็งแรง
3.3. กลุ่มทอผ้าฝ้ายขิต ต. สร้างมิ่ง อ. เลิงนกทา ยโสธร
ชนิดเส้นใย ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ สีตกระดับ 2/3 – 3/4 (ไม่ผ่าน) โครงสร้างผ้า ทอข้าม
ริมผ้าไม่แข็งแรง ลายหมี่ไม่ตรงกัน
3.4. กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านโนนยาง (ผ้าขิต) อ. กุดชุม ยโสธร
ชนิดเส้นใย ฝ้าย สีตกระดับ 3 /4 - 4 /5 (ไม่ผ่าน-ผ่าน) การล้างสีธรรมชาติ หลังย้อมน้อย มีผงไม้ติดผ้ามาตรฐาน ผลค่าสีลดลง โครงสร้างผ้า ริมผ้าไม่ตรงสม่ำเสมอ จำนวนเส้นพุ่งทั้ง2 ข้างไม่เท่ากัน ทำให้รันเนอร์โค้ง แก้โดยใช้ผังค้ำผ้า
3.5. กลุ่มทอผ้ากาบกล้วยบ้านโพธิ์ไทร อ. ป่าติ้ว ยโสธร ชนิดเส้นใยฝ้าย , เส้นใยประดิษฐ์
สีตกระดับ 3 /4 - 4 (ไม่ผ่าน-ผ่าน) ลายมัดหมี่ไม่สวย
4. วิเคราะห์ความเป็นไปได้
5. สรุปผลข้อที่กลุ่มควรพัฒนาเพื่อได้มาตรฐาน
6. การคัดเลือกกลุ่ม
7. จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของผ้าฝ้ายทอมือ
การจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก- ธกส. 2549 เรื่อง ผ้าฝ้ายทอมือ โดยใช้
จุดบกพร่องของงานสำรวจเป็นฐานข้อมูล แนวทางการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ตามวิทยาการสิ่งทอ และ มอก. ว่าเป็นฝ้ายแท้ มีความประณีต หน้าผ้ากว้างเสมอ ความคงทนต่อการซัก เส้นยืน / พุ่งต่อนิ้วเสมอ
8. การเตรียมงานเพื่อการถ่ายทอดความรู้
9. การถ่ายทอดความรู้
10. ติดตามและประเมินผลหลังการถ่ายทอดความรู้
11. การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือที่ย้อมสี เพื่อรับมาตรฐาน มก. – ธ.ก.ส
12. พิจารณาเครื่องหมาย มก-ธกส.

• ปัญหาของกลุ่มและการช่วยเหลือ
1. กลุ่มจักสานหมู่บ้านทุ่งแฝก (24 ต.ค.49) หัวหน้ากลุ่ม คุณ ฉวี สอนง่าย (สมาชิก 25 คน)
ทำตะกร้าจากไผ่ และหวาย ดอกไม้จากเส้นใยใบจำปี งานยังไม่ประณีต ความร่วมมือในกลุ่มยังไม่ดี ไม่ต้องการความช่วยเหลือ
2. ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมหมู่บ้านลานทอง (25 ต.ค.49) หัวหน้ากลุ่ม คุณบายเย็น สอนดี (สมาชิก 47 คน ทำ 23 คน) อุปกรณ์ที่ใช้ หมวกคาวบอยจากใบลาน มี 18 ลาย กล่องเบอร์ 8 โคมไฟ บรรจุภัณฑ์สายรัดหมวก มีปัญหา ย้อมสีดำไม่ติด (สีเคมี)และยังขาดเงินทุน
3. กลุ่มจักสานทอผ้า (27 ต.ค. 49) หัวหน้ากลุ่ม คุณศิริพร ภู่บาง (สมาชิก 80 คน) อุปกรณ์ที่ใช้ กระติบข้าวจากคล้า บ้านจิ๋ว ต้องการเงินทุน วัตถุดิบไม่พอ ไม่มีเครื่องมือทุ่นแรง ยังขาดทักษะการย้อมสี การออกแบบผลิตภัณฑ์
4. กลุ่มจักสานผักตบชวา หัวหน้ากลุ่ม คุณปราณี จันทวร (สมาชิก 93 คน ทำ 30 คน) อุปกรณ์ที่ใช้ ตะกร้า, กระเป๋า, หมอน, กล่อง, แจกัน, โคมไฟ ต้องการเครื่องถัก 2 เกลียว ยังขาดทักษะการย้อมสีเคมี การออกแบบผลิตภัณฑ์ การป้องการเชื้อรา
5. ศูนย์กลางชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านยางทอง (23 พ.ย.49) หัวหน้ากลุ่ม คุณสุวิทย์ นิลเลิศ (มี 7 กลุ่ม สมาชิก 300 คน ฝีมือ 23 คน) อุปกรณ์ที่ใช้ กระเป๋าถือสุภาพสตรี, กระบุง, กระจาด, ตะกร้า, พัด ยังขาดทักษะการย้อมสีเคมี (แดง, น้ำเงิน) บรรจุภัณฑ์ใส่ผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มีปัญหาตลาดมีไม่ต่อเนื่อง วัตถุดิบไม่พอ
6. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านผักตบชวาไม้ตรา (1 ธ.ค.49) หัวหน้ากลุ่ม คุณดวงเดือน ดังท้วง
อุปกรณ์ที่ใช้ กรอบรูป, ดอกไม้, กล่อง, ของที่ระลึก, ตุ๊กตา มีเศษเหลือจากการใช้วัตถุดิบมาก ต้องการเครื่องขูดไส้ผักตบชวา ต้องการเงินทุน ต้องการกล่องใส่ผลิตภัณฑ์ 2 แบบ

 

สุชาดา อุชชิน และ วนิดา ผาสุกดี
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มก.
โทรศัพท์/โทรสาร 02-942-8600-3