การพัฒนากระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

         

• ผลการดำเนินการ
          1. ผลิตภัณฑ์เซรามิคและของที่ระลึก โดย นางแสงเดือน จโนภาส 2/2 ม.8 ต.ท่าผา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ผลการปฎิบัติงาน สภาพทั่วไปของแหล่งผลิต เป็นโรงงานชั้นเดียว เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ มีคนงาน 27 คน ด้านการบรรจุภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์โดยใส่เข่ง
มีหนังสือพิมพ์ห่อ รองด้านล่างด้วยฟางข้าว หรือใช้กล่องลัง การดูแลผลิตภัณฑ์มีการตรวจสอบความเรียบร้อยแต่ละจุด ควบคุมอุณหภูมิในเตาเผา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีความสวยงามอยู่ในระดับปานกลาง ความทนทานทนทานอยู่ในระดับปานกลาง มีจุดเด่นด้วยการแกะลวดลาย
ปัญหาและอุปสรรค ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มีการแข่งขันด้านการตลาดสูง กระบวนการผลิตในบางส่วน การขยายงานด้านการตลาด
          2. จิตรกรรมเบญจรงค์ โดยบ้านเบญจรงค์ แกลลอรี่ 347 หมู่ 2 บ้านโคกพระ ต. โคกพระ อ. กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ผลการปฏิบัติงาน สภาพทั่วไปของแหล่งผลิต บ้านชั้นเดียวเป็นโรงเรือน เนื้อที่โดยประมาณ 45 ตารางเมตร คนงานช่วยเขียนลายและลงสี 4-5 คน โชว์รูมสำหรับโชว์สินค้าและจัดจำหน่ายไปพร้อมกัน วัตถุดิบที่ใช้ เกษตรกรจะสั่งวัตถุดิบทุกอย่างจากภายในประเทศและนอกประเทศ ใช้สีเคลือบ 10 สี วัตถุเคลือบขาว น้ำทอง สติก เกอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต มีพู่กันจีน แป้นหมุน เตาเผาขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร การดูแลผลิตภัณฑ์ควบคุมอุณหภูมิในเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ววางเป็นชั้นอย่างเป็นระเบียบ สวยงาม ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท การบรรจุภัณฑ์ สั่งบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงาน ส่วนใหญ่บรรจุภัณฑ์จะเป็นกล่องกระดาษและบางส่วน เป็น กล่องพลาสติก
ยังไม่มีการพิมพ์ข้อความที่แสดงแหล่งผลิตลงในบรรจุภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามอยู่ในระดับดีมาก มีความทนทานอยู่ในระดับดีมาก มีการใช้ศิลปะและการวาดภาพ มาช่วยในการออกแบบ ลวดลายผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่สวยงาม น่าสนใจ ปัญหาและอุปสรรค มีต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ต้องการขยายงานด้านการตลาดให้กว้างมากขึ้น
          3. ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพและออมทรัพย์เพื่อการผลิต 37 / 2 หมู่ 2 ต.คลองพระอุดม อ. ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ผลการปฏิบัติงาน ด้านสภาพทั่วไปของแหล่งผลิต เกษตรกรจะใช้ที่ตั้งกองทุน SML ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรบ้านปทุม ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าระดับจังหวัดปทุมธานี ได้มาตรฐาน OTOP
อุปกรณ์ในการผลิต ภาชนะดินเผา ผ้าไหม กาว ดิ้น กรรไกร สิ่งที่ต้องการพัฒนาต้องการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และความรวดเร็วในการผลิต ต้องการเครื่องรีดดินสูญญากาศ ต้องการเครื่องปักโลโก้ด้วยคอมพิวเตอร์
          4. กลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี โดยบ้านเลขที่ 32 หมู่ 1 ต.ดอนไก่ดี อ. กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ผลการปฏิบัติงาน สภาพทั่วไปของแหล่งผลิตเกษตรกรได้รวมกลุ่มโดยถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนใน ครอบครัว ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการโดยสำนักงาน พัฒนาชุมชนในการเข้ามาให้ความรู้ และช่วยเหลือ สิ่งที่กลุ่มต้องการพัฒนาลวดลายของ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม หลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น


ยุทธนา วงษ์ทันท์ และ วงษ์สถิต วัฒนเสรี
คณะศึกษาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
โทรศัพท์/โทรสาร 02-942-8086