การถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำกระดาษสา สับปะรด และกล้วยด้วยมือแบบไทย และผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม

• กลุ่มเป้าหมาย

  1. กลุ่มแม่บ้านกระดาษสาบ้านม่วงตาล 76 หมู่ 2 ต.คอรม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
  2. กระดาษใยใบสับปะรด-ต้นกล้วย-ฟางข้าว เลขที่ 79 หมู่ 1 ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร

• วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับกลุ่มเกษตรกรลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สามารถนำไปปรับปรุงในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  2. เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
  3. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด

• วิธีดำเนินการ

  1. นำผลงานวิจัยถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร
  2. สมาชิกของกลุ่มเข้ารับการถ่ายทอดจำนวน 10 คน จำนวน 2 วัน
  3. ดำเนินการถ่ายทอดที่สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มก. บางเขน

• ปัญหาที่พบ

  1. รูปแบบผลิตภัณฑ์มีน้อย
  2. เครื่องมือเกิดสนิม ทำให้กระดาษสกปรกจากสนิม
  3. การสม่ำเสมอของการย้อมสี
  4. การเพิ่มมูลค่าในการใส่ลวดลายลงกระดาษ

• แผนการปฏิบัติงานต่อไป

  1. จะจัดการถ่ายทอดและฝึกปฏิบัติการทำกระดาษให้กับกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าธ.ก.ส. จำนวน 2 กลุ่ม และอีก 1 กลุ่ม จากโครงการจักสาน รวมทั้งหมด 3 กลุ่ม จำนวนเกษตรประมาณ 10 คน เรียนทั้งหมด 3 วัน (วันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2550)


 

วารุณี ธนะแพสย์ วุฒินันท์ คงทัด ชัยพร สามพุ่มพวง นิลเนตร ลีลุเดช และ พิรุณ สีนวล
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ 02-942-8600-3 ต่อ 506 โทรสาร 02-562-0339