การพัฒนาคุณภาพและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนม
Quality and packaging development for dessert

• กลุ่มเป้าหมาย

  1. กลุ่มแม่บ้านเค้กคลองวาฬ 129 ม.1 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ. ประจวบคีรีขันธ์

• วัตถุประสงค์

  1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน
  2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการหรือกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
  3. เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตรงตามความต้องการของตลาด

• ขอบเขตการแก้ปัญหา

  1. ด้านกระบวนการผลิต
    - ปรับปรุงสูตรเค้ก
    - ศึกษาอายุการเก็บรักษา
  2. ด้านการจัดการผลิต
    - ปรับปรุงสุขลักษณะการผลิตที่ดี
    - จัดทำเอกสาร GMP และแนะนำด้านการจัดการ
  3. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
    - พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่พายเค้กสัปปะรด
    - ทดสอบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
  4. ด้านบรรจุภัณฑ์
    - พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับเค้กคลองวาฬ
    - พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับพายเค้กสัปปะรด

• ผลการดำเนินการ

  1. ปัญหาด้านการจัดการ
    - ในห้องการผลิต ไม่มีการระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนการผลิต
    - ไม่มีการระบุตำแหน่งอุปกรณ์การผลิตที่ชัดเจน
    - ประตูห้องผลิตเค้ก การติดตั้งยังไม่สามารถป้องกันแมลงได้ดีพอ
    - การจัดการด้านบุคคล การแต่งกายพนักงานยังไม่ถูกตามสุขลักษณะเช่นไม่สวมหมวก คลุมผม ถุงมือ ฯลฯ
    - การควบคุม ดูแลพนักงานยังขาดความเข้มงวดเช่น มีการนำอาหารเข้า
    - ไปรับประทานในส่วนการผลิต
    - ห้องเก็บวัตถุดิบ อุปกรณ์และบรรจุภัณฑ์การวางไม่เป็นสัดส่วน และขาดคน
    - รับผิดชอบ
  2. ปัญหาด้านคุณภาพ
    - รสชาติผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอ
    - อายุในการเก็บรักษา
  3. ปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์
    - กล่องกระดาษขนาดใหญ่เกินไปตัวเค้กจะเคลื่อนที่ไปมาในกล่องได้ เนื้อเค้กอาจถูกแรงกระแทกเสียหายระหว่างการยกเคลื่อนย้ายหรือถ้ามีการขนส่งระยะไกล เช่น ขนส่งมายังกรุงเทพฯ
    - กราฟิกบนกล่องไม่สวยและดูมากเกินไป ข้อมูลที่สำคัญไม่โดดเด่น
    - ถุงพลาสติกมีขนาดใหญ่อากาศภายในถุงจะมีปริมาณมากทำให้สารดูดออกซิเจนต้องทำงานหนักและราคาของถุงสูง
    - ผิวหน้าของเค้กจะถูกกดทับเมื่อมีการวางกล่องซ้อนกันหน้าเค้กจะถลอกความสูงของเค้กถูกกดให้ยุบลงซองสารดูดออกซิเจนวางอยู่ข้างเค้กอย่างเปิดเผย และสัมผัสกับเนื้อเค้ก
    - ซองมีหมึกและสีพิมพ์อยู่ด้านข้างซึ่งอาจปนเปื้อนติดไปกับเนื้อเค้กซึ่งมีองค์ประกอบไขมันอยู่มาก สามารถทำละลายสีหรือหมึกพิมพ์ได้ดี หากซองเกิดการรั่ว สารดูดออกซิเจนจะปนเปื้อนอาหารได้

• ข้อเสนอแนะ

  1. การจัดการ
    - บริเวณพื้นที่ใช้อบ ควรระบุชี้ชัดตำแหน่งหรือจุดว่าเป็นอะไรให้ชัดเจน เช่น เตาอบหมายเลข 1 หรือหมายเลข 2 เป็นต้น นอกจากนี้ควรระบุชื่อ สารเคมี หรือ แป้ง หรืออุปกรณ์การผลิตให้ชัดเจน
    - ควรติดตั้งพัดลมดูอากาศเพื่อระบายความร้อนแต่จุดที่เป็นช่องระบายอากาศออกด้านนอกควรมีตาข่ายกันแมลงเข้า
    - พนักงานที่ทำการผลิตหรือบรรจุเค้กลงกล่องควรสวมถุงมือสะอาด และใส่หมวก คลุมผม
    - ควรมีการเขียนวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้พนักงานรับทราบถึงขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเพื่อป้องกันความผิดพลาด และเขียนคู่มือคุณภาพ (Quality Control Manual)
    - ถังเก็บขยะควรมีฝาปิดมิดชิด
    - ควรห้ามพนักงานนำอาหารมาบริโภคหรือเก็บไว้ในโรงผลิต
    - ควรปรับปรุงประตู (ทั้ง 2 ประตู) ควรเป็นประตูแบบเลื่อนเปิดปิด จะสามารถป้องกัน และควบคุมแมลง
    - ในส่วนของห้องเก็บปัจจัยการผลิตและบรรจุภัณฑ์
    - ควรระบุ ชี้ชัดว่าปัจจัยการผลิต เช่น แป้ง น้ำตาล หรือ อื่น รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ ควรวางให้เป็นสัดส่วน มีป้ายระบุ ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ใช่ปัจจัยการผลิตมาเก็บไว้ร่วมกัน
    - สิ่งของที่ใช้การผลิตเค้ก และร้านอาหารควรแยกให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสับสนและนำไปใช้ผิด
    - รอบโรงผลิต ควรจัดระเบียบวางอุปกรณ์ เครื่องใช้ ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันหนู แมลง และสัตว์อื่นมาอยู่อาศัย
    - ควรแบ่งพื้นที่ว่าบริเวณที่จะใช้สอยเช่น ตากผ้า ควรแยกให้ชัดเจน
  2. ด้านบรรจุภัณฑ์
    - ลดขนาดของกล่อง
    - ออกแบบกราฟิกและจัดให้สวยงาม
    - ทดลองออกแบบโลโก้ใหม่ เพื่อสร้างความโดดเด่นให้สินค้า
    - ลดขนาดของถุงลง
    - เพิ่มตัวช่วยรับแรงกดทับแนวดิ่ง เช่น ถาดพลาสติก
    - ควรจะวางซองสารดูดออกซิเจนไว้ใต้ก้อนเค้กไม่ให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน
   

 

 

กมลวรรณ แจ้งชัด อนุวัตร แจ้งชัด วุฒิจำนงค์ และ สุพัณณี วรกิตสิทธิสาธร
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ 02-562-5016 โทรสาร 02-561-3456