กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลไม้สอยดาว 61/1 ม.10
ต.ทรายขาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
- กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนซึ้ง 22/4 ม.2 ต.ซึ้ง
อ.ขลุง จ.จันทรบุรี
วัตถุประสงค์
- เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน
- เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการหรือ
กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
- เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตรงตามความต้องการของตลาด
วิธีดำเนินการ
- วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดขอบเขตการวิจัย
- ศึกษาและวิเคราะห์กรรมวิธีการผลิตเดิม
- ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์เก่าและกรรมวิธีการผลิต
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์
- พัฒนาสูตรและทดสอบคุณภาพ
- พัฒนากรรมวิธีและขยายสเกลการผลิต
- ถ่ายทอดเทคโนโลยี
ขอบเขตการแก้ปัญหา
- ด้านกระบวนการผลิต
- ปรับปรุงกระบวนการแช่อิ่มให้ได้มาตรฐาน
- พัฒนากระบวนการปอกเปลือกมะขาม
- ลดเวลากระบวนการผลิตมะขามแช่อิ่ม
- ด้านการจัดการผลิต
- ปรับปรุงสุขลักษณะ
- จัดทำเอกสาร GMP และแนะนำด้านการจัดการ
- ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากกระวาน
- ด้านบรรจุภัณฑ์
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับมะขามแช่อิ่ม
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสำหรับกระวานแช่อิ่ม
ผลการดำเนินการ
- ด้านการจัดการ
- อาคารผลิตยังมีจุดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่นจุดรับวัตถุดิบยังมีการการปนเปื้อนจาก
สิ่งสกปรก, ไม่มีอ่างล้างมือ, พื้นโรงผลิตมีน้ำท่วมขัง
- การแต่งกายของคนงานบังไม่ถูกสุขลักษณะและมีการนำอาหารเข้าไปทานในโรงผลิต
- มีการนำวัตถุดิบมะขามไปเก็บวางนอกพื้นที่ผลิตโดยภาชนะไม่มีฝาปิดมิดชิดและ
บริเวณที่เก็บไม่มีหลังคา
- ด้านสุขลักษณะห้องผลิตยังไม่ดี ยังพบแมลงหวี่และแมลงวันในห้องผลิต
- การจัดการด้านบุคลากร คือขาดหัวหน้างานดูแล ทำให้คุณภาพและการผลิตไม่นิ่ง
ทำให้คุณภาพไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด
- มีปัญหาด้านขาดแคลนแรงงาน ปัจจุบันใช้แรงงานต่างด้าว
- ด้านการผลิต
- มีการใช้เวลาการผลิตนาน
- หม้อต้มไม่มีที่วัดอุณหภูมิ (เทอร์โมมิเตอร์)
- ไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือ salometer ใช้ในการวัดความเค็ม และเครื่อง
refractometer วัดปริมาณน้ำตาล
- ด้านบรรจุภัณฑ์ของมะขามและกระวานแช่อิ่ม
- บรรจุภัณฑ์แบบซองพลาสติก รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น
ไม่มีเอกลักษณ์
- วิธีบรรจุแบบสุญญากาศ ผลไม้แปรรูปมีลักษณะอ่อนตัวเมื่อใช้วิธีการบรรจุแบบสุญญากาศจะรัดผลิตภัณฑ์ทำให้ไม่น่ารับประทาน
- ชื่อตราสินค้ามะขามเงินล้านบ้านสอยดาว ชื่อยาวทำให้จดจำยาก และเจาะจงเมื่อมีการเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์
จะทำให้เกิดการสับสน
- กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ รายละเอียดและข้อมูล กราฟิกไม่สวยงาม ขาดรายละเอียดที่ถูกต้อง
ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ
|
|
|
|
|
|