การพัฒนากระบวนการผลิตกะปิ
Process Development of Shrimp Paste

กลุ่มเป้าหมาย

           1. กลุ่มทำกะปิบ้านอ่าวหม่อมวัง ต. ท้องเนียน อ. ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

ขั้นตอนการดำเนินงาน
           1. สำรวจปัญหา สภาพการผลิต ณ แหล่งผลิต
           2. สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ
           3. ดำเนินการเสนอแนะ แก้ไข ถ่ายทอดความรู้
           4. ติดตามผล สรุป

ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่ม
           1. ปริมาณกุ้งเคยมีไม่สม่ำเสมอ (เวลามีมากไปแปรรูปไม่ทัน หรือมีน้อยไปปริมาณการผลิตไม่พอจำหน่าย)
           2. ต้องใช้เฉพาะเคยที่จับในท้องถิ่น เพื่อรักษาคุณภาพ เนื่องจากเคยที่จับจากบริเวณอื่นมีสิ่งแปลกปลอม เช่น โคลน ทราย มากกว่า
           3. การตากเคย ใช้วิธีตากแดด ทำให้มีปัญหาแมลงวันชุกชุม ไม่ถูกสุขลักษณะ
           4. กระบวนการผลิตใช้วิธีการตำ ทำให้ต้องใช้เวลามาก และขาดแคลนแรงงาน

1. แนวทางแก้ไขปัญหาในการผลิต

           1. ปัญหาสุขลักษณะการผลิต
- แนะนำให้ทำโรงเรือนสำหรับตาก ซึ่งในปี 2548 คณะผู้วิจัยได้ออกแบบให้กลุ่มแม่บ้านชุมชนร่องแก้ว จ. ประจวบคีรีขันธ์ ผลิตปลาอบสมุนไพร นำไปใช้จริง และได้ผลดี แต่เนื่องจากกลุ่มกะปิมีโครงเหล็กรูปสามเหลี่ยมอยู่แล้ว ทางกลุ่มจึงต้องการใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วมาทำที่ตากโดยใช้มุ้งเขียวคลุมบนโครงเหล็กและครอบบนแผงตาก
           2. ปัญหาการขาดแรงงาน เสนอแนะให้ใช้เครื่องจักรในการผลิต
- เครื่องผสมเคยและเกลือ (ปกติใช้แรงงานคน ทำให้ต้องใช้เวลามาก)
- เครื่องบดเคย (ปกติใช้การตำด้วยครก)

2. ปัญหาและอุปสรรคของผู้วิจัย
           1. วัตถุดิบมีตามฤดูกาล กุ้งเคย เริ่มจับได้ประมาณปลายเดือน มค. – เมย.
           2. การไปสำรวจครั้งที่ 1 ไม่ได้เห็นกระบวนการผลิตจริง
           3. ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการ

3. ปัจจัยหลักในความสำเร็จของโครงการ
           1. ความพร้อมของกลุ่มเกษตรกร
           2. เงินทุน
           3. บุคลากร
           4. แนวคิดและความตั้งใจในการพัฒนา

 

 

นงนุช รักสกุลไทย มยุรี จัยวัฒน์ จุฑา มุกดาสนิท ์ และ ณัฐธร อินทวิวัฒน์
ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มก.
โทรศัพท์/โทรสาร 02-942-8644-5, 02-942-8363