การพัฒนากรรมวิธีการผลิตและการเก็บรักษาน้ำปลา
  • กลุ่มเป้าหมาย
    กลุ่มอาชีพสตรี ม.9 (กะปิ-น้ำปลา) เลขที่ 45 ม.9 ต.วังใหม่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี
    หัวหน้ากลุ่ม นางศิริลักษณ์ บุญรักษา

  • สภาพปัญหา
    1. การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากเป็นน้ำปลาแท้คุณภาพดีจึงมีราคาแพง และยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การผลิต
    2. ต้องการกรรมวิธีการผลิตน้ำปลาผสม เพื่อผลิตน้ำปลาคุณภาพรองเพื่อขายภายในท้องถิ่น
    3. พบคราบไขมันบริเวณคอขวดน้ำปลาหลังการบรรจุ
    4. ฉลากสินค้ายังไม่สวยงามและง่ายต่อการจดจำของลูกค้า
    5. โรงเรือนการผลิตน้ำปลา ห้องบรรจุ และเก็บน้ำปลา ยังไม่เป็นสัดส่วน

ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

              1. การผลิตน้ำปลาผสม
              วิธีที่ 1 ใช้หัวน้ำปลา (น้ำปลาที่ได้จากการหมักครั้งแรก) ผสมกับน้ำปลาที่หมักครั้งที่ 2 หรือ 3 เติมน้ำตาลทราย ปรับรสชาติตามต้องการ
             
วิธีที่ 2 ใช้หัวน้ำปลาผสมกับน้ำเกลือเติมน้ำตาลทรายใส่สารกันเสียที่อนุญาตให้ใช้ได้คือ กรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกในรูปของเกลือ ได้แก่ โซเดียมเบนโซเอต โดยใส่ได้ในปริมาณไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
              2. ปัญหาคราบน้ำมันบริเวณคอขวดน้ำปลา
ล้างขวดให้สะอาดและทำให้แห้ง กรองน้ำปลาด้วยผ้ากรองหลายๆ ชั้นก่อนการบรรจุ
              3. ปัญหาฉลากข้างขวดน้ำปลา
ปัจจุบันใช้เครื่องหมายของกลุ่มเกษตรกรเป็นตราสัญลักษณ์ในฉลาก ซึ่งทางคณะทำงานได้ออกแบบฉลากให้ทางกลุ่มพิจารณาไปบ้างแล้วแต่ยังไม่มีข้อสรุป
              4. ปัญหาโรงเรือนการผลิต ห้องบรรจุ และเก็บน้ำปลา
กลุ่มเกษตรกรได้งบประมาณ 380,000 บาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงสถานที่ผลิต ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2549

งานที่จะดำเนินการต่อไป

  1. ตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำปลาแท้ที่ผลิตคนละรุ่นกับที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว และตรวจคุณภาพน้ำปลาผสมตามที่เกษตรกรทดลองผลิตตามคำแนะนำ
  2. สำรวจและประเมินผลการปรับปรุงโรงเรือนผลิต ห้องบรรจุ และสถานที่เก็บตัวอย่างน้ำปลา

 

มัทนา แสงจินดาวงษ์ พงษ์เทพ วิไลพันธ์ และ ปราณิศา เชื้อโพธิ์หัก
ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มก.
โทรศัพท์/โทรสาร 02-942-8644-5, 02-942-8363