บทบาทของวัดและชุมชนในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมไทย
Bin-tha-bat-rua : the roles of wat and chumchon in the constitutions
of a Thai cultural landscape

            ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า บิณฑบาตเรือในพื้นที่ศึกษากำลังถูกคุกคามอย่างยิ่ง และ อาจปรับตัวในการเปลี่ยนศูนย์กลางจากคลองอ้อมนนท์ไปสู่คลองบางใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรมนี้มีความสำคัญในแง่ของระบบวัฒนธรรมทำให้มีการสืบทอดและถ่ายทอดพิธีกรรมให้กับสังคมเป็นเวลายาวนาน เห็นได้ใน ๓ มิติ ได้แก่

            ๑. มิติของปัจเจกชนสัมพันธภาพบิณฑบาตเรือ เช่น ในส่วนของภิกษุการเจริญสติปัฏฐานในบิณฑบาตเรือ เป็นวัตรปฏิบัติของสุปฏิปณฺโณภิกษุ ในกรณีศึกษาที่วัดหลังบางซึ่งให้สัมภาษณ์ถึงตั้งสติในการรักษาความสมดุลในระหว่างพายเรือในการเจริญสติ ในส่วนของฆราวาสบิณฑบาตเรือเป็นการทำบุญในระดับที่มีความสัมพันธ์กันและกันอย่างสูงต่อพระภิกษุซึ่งเป็นรูปประจำ

            ๒ มิติของ.ความสัมพันธภาพระหว่างชุมชนวัดในบิณฑบาตเรือพบสัมพันธ์สภาพที่เหนียวแน่นได้โดยทั่วไป เช่น ชุมชนร่วมด้วยช่วยรักษาลำน้ำให้สะอาด,การพบเห็นกันเป็นประจำจากวัตรบิณฑบาตทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเครือญาติระหว่างสงฆ์กับครัวเรือนที่ใส่บาตเป็นประจำ และ เป็นการสืบทอดกิจในวิถีที่บรรพบุรุษเคยกระทำ อีกด้วย

            ๓. มิติทางด้านจริยธรรมสิ่งแวดล้อมและพิธีกรรมในบิณฑบาตเรือ พบพลวัต ที่พระและ ชุมชน ดูแล สิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการบิณฑบาตเรือ กล่าวคือ หากพระบิณฑบาตในคลองที่ไม่สะอาด ชาวบ้านจะรู้สึกอย่างลึกได้ผ่านการสังเกต ขณะตักบาตร หรือการเทศนาบอกเล่าของพระภิกษุในวันพระวันโกน หลังจากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาตอบรับ เช่น การจัดการขยะและผักตบชวาโดยสมาชิกในชุมชนเมื่อผักตบชวาเกิดมากจนปิดทางสัญจรและการบิณฑบาตเรือ หรือกรณีที่สถานีตำรวจประจำตำบลบางแม่นางที่ออกประกาศเอาผิดปรับ 500 บาท แก่เรือที่ขับโดยประมาททำคลื่นให้เรือพระล่ม ก็มีนัยยะว่าบิณฑบาตเรือไม่ใช่กิจของฆราวาสกับสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นวาทกรรมอันมีนัยสำคัญสำหรับประชาสังคมในพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์ประเพณีประจำปีเช่นการตักบาตรพระร้อยในหลายส่วนในพื้นที่อย่างสืบเนื่องยาวนาน

            การสำรวจเชิงปริมาณ ในสถานการณ์บิณฑบาตเรือให้ผลลัพธ์ถึงการดำรงอยู่อย่างสูง สรุปได้ถึงความสำคัญของพื้นที่ศึกษาและบริบท สามารถจำแนกผลวัดที่ศึกษาได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีการบิณฑบาตทางน้ำ กลุ่มที่เลิกการบิณฑบาตทางน้ำ และ กลุ่มที่มีการบิณฑบาตทางน้ำอยู่คู่กับการบิณฑบาตทางบก แต่ละกลุ่มจะถูกเลือกเพื่อศึกษาโดยพิจารณาประเด็นเพื่อเป็นกรณีศึกษาเชิงคุณภาพโดยขยายการศึกษาเพิ่มการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นนอกเหนือจากพระภิกษุในการวิจัยขั้นต่อไป

            การศึกษาบิณฑบาตเรือจึงเป็นการสร้างสรรค์ที่สำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่มีอำนาจในการอธิบายกลไกทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางจากอดีตสู่อนาคต จึงมีความสำคัญและเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโดยเฉพาะจากผลกระทบจากเมืองหลวงของประเทศ

 

ศรันย์ สมันตรัฐ และ คัทลียา นพรัตนราภรณ์
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
โทร. 0-2942-8960-3 ต่อ 314