SUPERFORMWORKSHOP : ยอดเทคโนโลยีแม่แบบก่อสร้าง
Luke Yeung, Florian Gypser, Singh Intrachooto and Patchara Jampangen

          เทคโนโลยีแบบก่อสร้างนั้นสำคัญต่อการออกแบบมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องการวัสดุที่ต่อเนื่องหรือมีรูปทรงธรรมชาติ การค้นคว้านี้จึงมุ่งเน้นให้ศึกษา รูปทรง แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับแบบก่อสร้าง และการใช้วัสดุในการทำแบบและการก่อสร้าง ไม่เฉพาะแต่การพัฒนาทางด้านเทคนิคและการทดสอบผลเท่านั้น แต่รวมไปถึงการสรรค์สร้างนวัตกรรม ขั้นตอนในการศึกษาเริ่มจาก การศึกษารูปทรงผลไม้ (งานปฏิบัติการ SUPERFRUITFORM) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมุมมองใหม่ในการสร้างรูปทรงและวัตถุ เป็นการศึกษาประยุกต์ไปสู่พื้นฐานของการขึ้นรูปด้วยคอมพิวเตอร์โมเดลลิ่ง (Computer Modeling) การหาเทคนิคการประกอบรูปทรงผลไม้ซึ่งมีลักษณะเป็น Organic shapes จำเป็นต้องคิดค้นเครื่องมือสำหรับการวัดระยะใน 3 มิติเพื่อสร้างรูปลักษณ์เสมือน โดยแสดงออกถึงโครงสร้างและลักษณะรูปทรงทางธรรมชาติเฉพาะตัว

WASTE: โรงงานทำเครื่องจักรต่างๆ ทางการเกษตร พบว่า มีการใช้เครื่องเลเซอร์คัทเตอร์ตัดแผ่นเหล็กเพื่อนำไปประกอบ Computer modeling tools ได้ถูกนำมาใช้ ในการผลิต แม้จะทำให้ชิ้นงานมีความเที่ยงตรง แต่ก็ยังมีเศษเหลือจากกระบวนการเป็นจำนวนมาก การค้นหาระบบการนำ Waste เหล่านั้นมาสร้างแบบชิ้นงานใหม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นแนวทางในการ
สร้างสรรค์ System สำหรับ Recycle “WASTE” เป็น Products ใหม่ที่เพิ่มทางเลือก และมูลค่า


 

สิงห์ อินทรชูโต และคณะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์