โครงการฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพื้นที่หนองหารเพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน

           ผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พื้นที่ปกครองในภูมิภาคตามจังหวัดต่างๆได้จัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของตนเอง และมีแนวโน้มที่จะมุ่งสู่การพัฒนาโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เป็นทรัพยากรต้นทุนในแผนการพัฒนาของตน

            อย่างไรก็ตามแผนการพัฒนาท้องถิ่น มักก่อให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ด้วยการขาดความรอบรู้อย่างชัดเจน ขาดการดำเนินการที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งขนาดที่ไม่เหมาะสมของโครงการ ที่มักก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบในด้านการสูญเสียคุณค่าที่แท้จริงของท้องถิ่นและคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่า คุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ต้องเร่งพิจารณาทบทวนในแผนแม่บทเพื่อสร้างคำตอบที่นุ่มนวลเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตรวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และการอนุรักษ์คุณค่าของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์เพื่อเป็นมรดกของพื้นถิ่นเพื่อเยาวชนรุ่นต่อไป

           การศึกษาวิจัยโดยการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายสาขาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มุ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านคุณภาพชีวิต วิถีชีวิต และสถานภาพของระบบนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อสร้างแนวทางคำตอบด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยการใช้ทรัพยากรต้นทุนทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเหมาะสม โดยการใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเริ่มต้นจากการระดมสมอง สร้างกลุ่มทีมงานกระทั่งกระบวนการตัดสินใจสู่การแก้ปัญหา ในรูปแบบของการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สมบูรณ์แบบเพื่อความผาสุกของประชาชนในพื้นที่สืบต่อไป

            จากผลการศึกษาวิจัยในระยะ 6 เดือนแรกนั้น ผู้วิจัยได้สรุปความคิดเห็นจากการประชุมหารือกับชาวบ้าน ในประเด็นความต้องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่บ้านแป้นร่วมกับคณะผู้ทำการศึกษา จากการสำรวจพื้นที่ภาคสนามในเดือน พฤษภาคม และเดือนกรกฎาคม 2549 ดังนี้

 

                     แผนงานการศึกษาวิจัยในขั้นต่อไปนั้น ผู้วิจัยจะดำเนินการระดมแนวคิดขั้นสุดท้ายร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในประเด็นปัญหาที่จัดลำดับความสำคัญโดยประชาชน และมีการกำหนดพื้นที่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมตามข้อชี้นำด้านลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งมีคณะผู้ศึกษาวิจัยเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคและวิชาการ โดยประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ตลอนจนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาที่สามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป


 

เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน และคณะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สามัคคี บุณยะวัฒน์ และคณะ คณะวนศาสตร์
ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ และคณะ คณะประมง
.สุวพงษ์ สวัสดิ์พาณิชย์ และคณะ คณะเกษตร
พงษ์ศักดิ์ สุริยวนากุล และคณะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์