นวัตกรรมสื่อสารไร้สายเพื่อการใช้ชีวิตยุคดิจิตอล
Wireless Communication Innovations for the Digital Living

              คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการสื่อสารไร้สายได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนเกินกว่า 30 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน และยังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมิได้จำกัดอยู่เพียงการพูดคุยกันผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต่ยังได้มีการนำเครือข่ายสื่อสารไร้สายแบบอื่นๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันในอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้ชีวิตยุคดิจิตอลในปัจจุบัน

               ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจากกลุ่มวิจัยสื่อสารเพื่อการพัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์ (SCORPion Group) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้มุ่งมั่นในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมในด้านการสื่อสารไร้สายเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี เพื่อนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเพื่อให้มีศักยภาพในการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ โดยนวัตกรรมดังกล่าวประกอบด้วย ระบบให้บริการตนเองเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครือข่าย, ระบบเครือข่ายการประชุมแบบดิจิตอล (แบบมีสายและไร้สาย), ระบบไมโครโฟนไร้สายแบบดิจิตอลด้วยเทคนิค cdma, ระบบประมวลสัญญาณดิจิตอลสำหรับสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม, ระบบการจัดการและป้องกันการโจรกรรมยานยนต์ในบริเวณที่จอดรถ, ระบบแพร่กระจายสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ไฮเทคแบบไร้สาย, ซอฟต์แวร์ป้องกันการเรียกออกโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากการใช้โมเด็ม, เครื่องเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบออนไลน์ เป็นต้น

              ปัจจุบันกลุ่มวิจัยฯ ได้รับความไว้วางใจในการให้คำปรึกษา ออกแบบ วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้งานจริง ทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท รถไฟฟ้ามหานคร จำกัด (มหาชน), บริษัท 10 กันยา จำกัด, บริษัท JCDecaux จำกัด และอื่นๆ

รูปที่ 1 เครื่องเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบออนไลน์ (TopUp Magic®)

รูปที่ 2 ตู้ให้บริการตนเองอัตโนมัติและการใช้งานผ่านจอภาพ LCD ระบบสัมผัส

รูปที่ 3 ระบบการจัดการและป้องกันการโจรกรรมยานยนต์ในบริเวณที่จอดรถด้วยลายนิ้วมือ

รูปที่ 4 ระบบไมโครโฟนไร้สายแบบดิจิตอลด้วยเทคนิค cdma

รูปที่ 5 ระบบเครือข่ายการประชุมแบบดิจิตอล (แบบมีสาย)

รูปที่ 6 สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ไฮเทคแบบไร้สาย (Wireless Infomercial Media—WIM)

 

มงคล รักษาพัชรวงศ์ และคณะ
กลุ่มวิจัยสื่อสารเพื่อการพัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2942-8555 ต่อ 1531/1567, 08-1694-1188