การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคนิค DNA Comet Assay เพื่อใช้ในการตรวจสอบเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา
โดยเน้น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปริมาณตัวอย่าง และเวลาที่ใช้ย่อยเซลล์
โดยนำเมล็ดถั่วเขียวหนัก 300 และ 450 มิลลิกรัม มาฉายรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137
ให้ได้ปริมาณรังสีดูดกลืน 0, 0.5 และ 1 กิโลเกรย์ สกัดเซลล์ออกจากเมล็ดถั่วเขียวด้วยสารละลาย
phosphate buffered saline (PBS) ที่แช่เย็น ผสมเซลล์ที่ได้กับสารละลาย
0.8% low-melting agarose แล้วนำไปฝัง (embedded) บนแผ่นสไลด์ที่เคลือบด้วยสารละลาย
0.5% agarose ย่อยผนังเซลล์และนิวเคลียสด้วยสารละลาย 2.5% sodium dodecyl
sulphate ใน tris-borate EDTA (TBE) เป็นเวลา 25 และ 30 นาที ทำการแยกชิ้นส่วนดีเอ็นเอด้วยกระแสไฟฟ้าที่ความต่างศักย์
2 โวลต์ต่อเซนติเมตร เป็นเวลา 2 นาที โดยใช้สารละลาย TBE เป็นอิเลคโตรไลท์
แล้วย้อมสีสไลด์ด้วยเทคนิค silver staining ผลจากการตรวจสอบสไลด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด
transmission พบว่า ในสภาวะที่ใช้ตัวอย่างถั่วเขียวหนัก 450 มิลลิกรัม
เวลาย่อยนาน 30 นาที สำหรับเมล็ดถั่วเขียวฉายรังสี จะมองเห็นชิ้นส่วนของดีเอ็นเอเคลื่อนที่
ไปยังขั้วแอโนดมีลักษณะคล้ายดาวหาง (รูปที่ 1 และ 2) และความยาวของส่วนหางจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณรังสี
สำหรับตัวอย่างเมล็ดถั่วเขียวที่ไม่ได้ผ่านการฉายรังสี (control) พบว่า
เซลล์ส่วนใหญ่มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือมีเพียงหางสั้น ๆ (รูปที่ 3)
สรุปว่า สภาวะดังกล่าวเป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับใช้ตรวจสอบเมล็ดถั่วเขียวฉายรังสีด้วยเทคนิค
DNA comet assay
รูปที่ 1 ภาพถ่าย Comet ของเมล็ดถั่วเขียวที่ไม่ได้ฉายรังสีหนัก
300 mg (ซ้าย)
และ 450 mg (ขวา)
รูปที่ 2 ภาพถ่าย Comet ของเมล็ดถั่วเขียวฉายรังสีที่ปริมาณรังสี
0.5 kGy
และเวลาที่ใช้ย่อยผนังเซลล์นาน 25 นาที (ซ้าย) และ 30 นาที (ขวา)
รูปที่ 3 ภาพถ่าย Comet ของเมล็ดถั่วเขียวที่ไม่ได้ฉายรังสี
(ซ้าย) และ
ฉายรังสีที่ปริมาณรังสี 0.5 kGy (กลาง) และ 1 kGy (ขวา)
|